หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 มาฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐมาชั่วระยะหนึ่ง
ในฐานะลูกรักของสหรัฐตั้งแต่ช่วงก่อนสงคราม
แต่ถึงกระนั้นระบอบการเมืองของฟิลิปปินส์ไม่ได้แข็งเหมือนความสัมพันธ์ที่มีต่อสหรัฐอเมริกา
เพราะตั้งแต่ประธานาธิบดีคนแรกหลังสงครามอย่าง มานูเอล โรฮัส ไปจนถึงสมัย
ดิออสดาโด มากาปากัล ไม่มีใครที่สามารถต่ออายุไปจนถึงสมัยที่สองได้
และจบลงในวาระแรกไม่ก็ต้องจบการปกครองไปก่อนที่จะหมดวาระอีก
ในขณะเดียวกันแม้ฟิลิปปินส์ในตอนนั้นจะมีสภาพเศรษฐกิจดีเป็นอันดับต้นๆของเอเชียก็ตาม
แต่สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด
ระบบโครงสร้างพื้นฐานตามเมืองหลวงยังไม่พัฒนา ก็คงไม่ต้องพูดถึงชนบท
ที่บางทีไฟฟ้าหรือน้ำประปายังเข้าไม่ถึง ซึ่งปัญหาเรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐานในตอนนั้นเป็นประเด็นปัญหาที่ควรแก้ไขเป็นอย่างยิ่งในตอนนั้น
แต่ไม่มีประธานาธิบดีคนไหนจะเข้ามาแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง
และนั่นก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คะแนนนิยมของแต่ละคนไม่พอที่จะสามารถส่งตัวเองเข้าสู่วาระที่สองได้
แต่ในขณะเดียวกันชื่อของ
เฟอร์ดินันท์ มาร์กอส
ก็เริ่มแพร่กระจายเข้าสู่หูของคนหลายคนมากขึ้นในชั่วเวลาอันสั้น
ทำไมมาร์กอสถึงเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น
เดิมทีมาร์กอสก็เป็นเพียงแค่นักการเมืองธรรมดาๆเท่านั้น
แต่เขาเป็นคนที่ค่อนข้างที่จะมีความทะเยอทะยาน
ในตอนแรกนั้นเขาได้สังกัดอยู่ในพรรคเสรีนิยมฟิลิปปินส์ (Liberal
Party) ในตอนที่ความนิยมในตัวของดิออสดาโด มากาปากัล
กำลังตกต่ำอยู่นั้น
เขาได้ขอกับทางพรรคให้เสนอชื่อของเขาเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีคนต่อไป
แต่ว่าทางผู้นำระดับสูงของพรรคยังเชื่อใจในตัวมากาปากัลอยู่
และนั่นทำให้ชื่อของเขาไม่ได้ถูกเสนอชื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในนามของพรรคเสรีนิยม
แต่นั่นก็ไม่ได้หยุดความทะเยอทะยานของเขา
เขายังคงอยากที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
ทำให้เขานั้นได้ลาออกจากพรรคเสรีนิยมและหันหน้าเข้าสู่ขั้วตรงข้ามของพรรคเสรีนิยมนั่นก็คือ พรรคนาซิโอนาลิสตา (Nacionalista Party) ซึ่งในที่นั่นเขาก็สามารถไขว่่คว้าตำแหน่งแคนดิเดตประธานาธิบดีได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
แน่นอนว่าแม้จะเป็นผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคได้แล้ว
แต่ถ้าประชาชนไม่เลือกมันก็เปล่าประโยชน์ แลละนั่นก็ทำให้เขาได้เริ่มออกหาเสียง
และปราศรัยตามที่ต่างๆ โดยชูนโยบายที่ค่อนข้างเป็นนโยบายประชานิยมอย่างมาก
และที่สำคัญนอกจากนโยบายประชานิยมก็คือนโยบายการพัฒนะระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ถูกปล่อยทิ้งมาอย่างยาวนานแล้วตามพื้นที่ชนบท
แต่ว่านอกจากนโยบายที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ฐานเสียงของเขามากขึ้นตามไปด้วยก็คือ
หญิงที่มีชื่อว่า อิเมลดา มาร์กอส ภรรยาคนเดียวของเฟอร์ดินันท์ มาร์กอสนั่นเอง
เฟอร์ดินันท์ มาร์กอส ถ่ายคู่กับ อีเมลดา มาร์กอสในงานแต่งงานของพวกเขา |
เดิมนั้นอีเมลดา
เป็นเพียงนางงามที่ไม่ค่อยมีชื่อชั้นอะไรมากนัก
แต่มีรูปร่างผอมสูงและค่อนข้างที่จะสวยมากในสมัยนั้น
ส่วนในแวดวงนางงามนั้นแม้จะไม่เคยได้แชมป์อะไร
แต่เธอก็มีฉายาเป็นของตัวเองนั่นก็คือ ‘The Muse of
Manila’ (‘สาวคิดมากแห่งมะนิลา’) ซึ่งมาจากการที่เธอเคยโต้แย้งและต่อว่าคณะกรรมการการตัดสินการประกวดนางงามเมื่อปี
1954 แล้วมันก็ติดตัวเธอมาตั้งแต่ตอนนั้น
ทุกครั้งที่มาร์กอสออกปราศรัยหาเสียง
เขามักจะพาอีเมลดาไปด้วย
ซึ่งส่วนมากผู้คนที่ไปฟังปราศรัยหาเสียงของมาร์กอสมักจะไปแค่ดูหรือฟังอีเมลดาเท่านั้น
แน่นอนว่าเพราะอีเมลดาอีกเหมือนกันที่ทำให้มาร์กอสผู้เป็นสามีค่อนข้างมีปฏิสันถารกับผู้นำชุมชนต่างๆ
เพราะอีเมลดามักจะหาข้อมูลช่วยเหลือสามีอยู่เสมอ
เฟอร์ดินันท์ มาร์กอส(ซ้าย) กับ ดิออสดาโด มากาปากัล (ขวา) |
การเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ที่จัดขึ้นในปี
1965 ส่งให้เฟอร์ดินันท์
มาร์กอสขึ้นเป็นประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์แทนที่ ดิออสดาโด
มากาปากัล ประธานาธิบดีเดิมของฟิลิปปินส์ ด้วยคะแนนร้อยละ 51 ต่อ ร้อยละ 48 หลังจากการขึ้นสู่อำนาจของมาร์กอส
แต่ก่อนที่จะเอาอำนาจอันหอมหวานมาอย่างจริงจัง
มาร์กอสต้องทำในสิ่งที่เคยสัญญาไว้กับประชาชนชาวฟิลิปปินส์ก่อน
การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศจึงเริ่มขึ้นเมื่อทางรัฐบาลฟิลิปินส์ได้ขอกู้ยืมเงินเพื่อเอาไปปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังแย่อยู่ในตอนนี้
การกู้ยืมในครั้งนี้ยืมมาเป็นจำนวนเงินหลายพันล้าน
เพื่อเอาไปปรับปรุงทุกสิ่งทึุกอย่างในประเทสทั้งถนน
รวมทั้งยังส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม
และความเป็นอยู่ของประเทศจากเงินเหล่านี้ด้วย
โดยจำนวนเงินเหล่านี้ประเทศฟิลิปปินส์ยังใช้หนี้ไม่หมด และต้องจ่ายหนี้เหล่านี้ไปจนถึงปี
2025
ความนิยมในตัวของท่านผู้นำฟิลิปปินส์คนนี้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากภายในเวลาไม่กี่ปี
การเปิดประเทศให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยผ่านการใช้นโยบาย
"เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ"
ส่งผลทำให้ชาวต่างชาติหันมาลงทุนในฟิลิปปินส์มากขึ้น และการกู้เงินเพื่อเอามาพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นถนน
ไฟฟ้า น้ำประปา หรือระบบขนส่งมวลชน การศึกษา การรักษาพยาบาล
ทุกอย่างดีขึ้นจากหลังเท้าเป็นหน้ามือ
แต่ทว่ามันก็เป็นเหมือนดาบสองคมเพราะภายใต้ความนิยมอย่างล่นหลาม
ประธานาธิบดีมาร์กอสกำลังถูกจับตามองในประเด็นการทุจริตจากเงินกู้ที่ยืมมา
และเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ที่ภายนอกจะดูคึกคักแต่มันกำลังฉุดฟิลิปปินส์ลงในแบบที่ไม่สามารถจะกลับไปจุดเดิมได้อีก
เผด็จการใต้กฏอัยการศึก
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่
2 ที่จัดขึ้นในปี 1969 นั้น
เฟอร์ดินันท์ มาร์กอสได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่ฟิลิปปินส์โดยการเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่สามารถก้าวเข้าสู่สมัยที่
2 ได้เป็นคนแรกในประวัติสาสตร์ฟิลิปปินส์
แต่ไม่ใช่แบบธรรมดานะ เป็นการก้าวสู่สมัยที่ 2 แบบถล่มทลายการเลือกตั้งในปี
1969 ประชาชนพร้อมใจกันเลือกมาร์กอสอย่างล้นหลาม
และนั่นทำให้มาร์กอสรู้สึกถึงความหอมหวานของอำนาจ และเริ่มออกลายถึงนักการเมืองทุจริตชนิดที่ว่าจากหน้ามือเป็นหลังตีนเลยทีเดียว
การประท้วงประธานาธิบดีมาร์กอสช่วงปี 1970 |
การทุจริตที่เกิดขึ้นในสมัยแรก
และข่าวลืมการทุจริตการเลือกตั้งที่มีอย่างหนาหูในช่วงนั้น ส่งผลทำให้ในปี 1970
คลื่นนักศึกษาและประชาชนขนานใหญ่ได้ร่วมกันออกมาเดินขบวนต่อต้านการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีมาร์กอส
ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่มีการประท้วงเกิดขึ้น การประท้วงนี้นั้นเป็นไปอย่างสันติ
แต่เมื่อสันติทำอะไรไม่ได้
ความรุนแรงจึงเริ่มขึ้นกลุ่มผู้ประท้วงเริ่มใช้ความรุนแรงแก่เจ้าหน้าที่ที่ปราบการชุมนุม
พรอมใช้กำลังหมายจะยึดทำเนียบประธานาธิบดีให้ได้ หนักสุดก็คือ
กลุ่มนักศึกษาที่มาประท้วงได้ขับรถบรรทุกแก๊สพุ่งชนรั้วของทำเนียบประธานาธิบดี
การประท้วงที่ทวีความรุนแรงขึ้น
และการใช้กำลังเพื่อหมายปองชีวิต
และทำลายทรัพย์สินของประธานาธิบดีทำให้เฟอร์ดินันท์ มาร์กอส
ชายผู้รับคะแนนนิยมของประชาชนอย่างท้วมท้น
หันหน้าเข้าสู่การเป็นเผด็จการและคว้ำโอกาสที่จะได้ใช้อำนาจอย่างไม่มีขีดจำกัด
หลังเขาประกาศกฏอัยการศึกทั่วประเทศในเดือนกันยายนปี 1972
ในม่านของกฏอัยการศึกนั้น
มาร์กอสได้เถลิงอำนาจอย่างเต็มที่ เขากับภรรยาของเขาอีเมลดา
กลายเป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุดของฟิลิปปินส์
สร้างสถานะที่ใครจะละเมิดมิได้แบบที่ผู้นำเผด็จการเขาทำการ
บวกกับการที่สหรัฐในตอนนั้นหนุนหลังฟิลิปปินส์ในฐานะลูกรักอย่างเต็มที่
โดยโนสนโนแคร์กับสิ่งที่คุณและคุณนายมาร์กอสทำกับประเทศ
แน่นอนว่าภายใต้กฏอัยการศึกนี้ใครก็ตามที่ยืนอยู่คนละข้ากับมาร์กอสไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามหรือแม้แต่ประชาชนที่ประท้วงหาประชาธิปไตยย่อมถูกโยนเข้าซังเต
ในข้อหาเป็นปฏิปักตร์กับผู้นำเผด็จการนั่นเอง
ภายใต้กฏอัยการศึก
การทุจริตจากการใช้อำนาจในทางที่ผิดของทั้งมาร์กอสและอีเมลดาส่งผลมากขึ้น
และทำให้ระบบเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ค่อนข้างที่จะบอกได้เลยว่า"แย่มาก"แต่ก็อย่างที่บอกทั้งสองโนสนโนแคร์และยังปกครองฟิลิปปินส์ในฐาานะเผด็จการที่ยังคงได้รับความนิยมจากประชาชน(บางส่วน)อยู่
ถึงกระนั้นระบบเผด็จการภายใต้กฏอัยการศึกก็ไม่สามารถที่จะประกาศใช้ได้ตลอดไป
กำหนดการมาเยือนฟิลิปปินส์ของพระสันตปะปาจอห์น พอลที่ 2 ทำให้การประกาศกฏอัยการศึกสะเทือน
จากการมาเยือนของสันตปะปาในครั้งนี้ทำให้กฏอัยการศึกที่ฟิลิปปินส์ประกาศใช้มา 9
ปีต้องสิ้นสุดลง
การยกเลิกการใช้กฏอัยการศึก
และรัฐธรรมนูญบางส่วนก็ถูกแก้ไขเพิ่มเติม นำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหญ่ในรอบ 10
ปี ที่จัดขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน 1981
โดยมาร์กอสต้องลงแข่งกับอเลโจ้
ซานโตสตัวแทนจากพรรคเก่าของมาร์กอสอย่างพรรคนาซิโอนาลิสตา
ส่วนพรรคเก่าอย่างพรรคเสรีนิยมบอยคอตการเลือกตั้งในครั้งนี้
เพราะเห็นว่ามันไม่ชอบธรรม
การเลือกตั้งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งที่มาร์กอสได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลาย
มีคะแนนเสียงจากทั่วประเทศที่สนับสนุนมาร์กอสถึงกว่า 88 เปอร์เซ็น
และนั่นก็ทำให้เขายังคงอ้างถึงเสียงและคะแนนนิยมของประชาชนตลอดเวลา
แม้ว่าสิงที่เขาทำในตอนประกาศกฏอัยการศึกนั้นจะเป็นเรื่องผิดต่อหลักการประชาธิปไตยก็ตาม
อเลโจ้ ซานโตส (ซ้าย) กับ เฟอร์ดินันท์ มาร์กอส (ขวา) |
เบนิกโน อากีโนผู้เขย่าบัลลังก์ของมาร์กอส
ความจริงก็ไม่เชิงที่จะใช้คำว่าผู้เขย่าบัลลังก์นักหรอก
เพราะเขาก็ไม่ได้ทำอะไรหรือเรียกร้องต่อมาร์กอส
หรือเป็นหัวหน้าม็อบเป่านกหวีดไล่ประธานาธิบดีหน้าทำเนียบ แต่เบนิกโน
อากีโนเป็นผู้เขย่าอำนาจจากการโดนกระทำจากรัฐบาล เบนิกโน อากีโน
เป็นนักการเมืองฝ่ายค้านที่โดนจับก่อนถูกปล่อยตัวออกมาในปี 1980 ซึ่งเขาได้หลบหนีไปอยู่สหรัฐเป็นเวลา 3 ปี
ก่อนกลับมายังฟิลิปินส์อีกครั้ง แต่การกลับมาในครั้งนี้
ก็เป็นการกลับมาครั้งสุดท้ายเพราะหลังจากเขาลงเครื่องไม่นาน
เขาก็ถูกลอบยิงจากชายผู้แต่งเครื่องแบบทหารในทันที การลอบสังหารผู้นำฝ่ายค้านชื่อดังนี้นำไปสู่ประเด็นทางการเมืองมากมาย
และนำไปสู่การเปิดโปงถึงการรับสินบน ทุจริต
คอรัปชั่นมากมายจากปากนนัการเมืองในรัฐสภาอีกมากมาย
เรียกได้ว่าเพียงชีวิตเดียวที่ถูกสังหารนำไปสู่จุดจบของผู้นำเผด็จการได้
โคราซอล อากีโน
ภรรยาม้ายของเบนิกโน อากีโน
ได้เริ่มออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรณีการเสียชีวิตของสามี การทุจริต คอรัปชั่น
และการปกครองแบบเผด็จการ
แน่นอนว่าการประท้วงในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอย่างมากมายภายในเวลาอันสั้น
เพียงไม่นานก็มีผู้เข้าร่วมการชุมนุมอย่างสันติเกือบจะหนึ่งล้านคน
ซึ่งกลุ่มผู้ประท้วงเรียกการประท้วงและกลุ่มคนของตัวเองว่า "พลังประชาชน(People
Power)"
แม้ภายใต้การประท้วงขนานใหญ่ที่เกิดขึ้นกลางกรุงมะนิลา
เพื่อเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย
และการถอดถอนประธานาธิบดีผู้ทุจริตคอรัปชั่นเป็นเวลากว่า 20 ปีนี้ออกจากตำแหน่ง
แต่มาร์กอสก็ยังคงอางถึงคะแนนนิยมและเสียงของประชาชนที่เขาเลือกมาหนุนหลังอยู่
แต่เสียงของเขาไม่สามารถกลบความแค้นของประชาชนที่ออกมาต่อต้านเขาได้
ในที่สุดคะแนนนิยมของเขาก็ไม่สมารถช่วยอะไรได้ เฟอร์ดินันท์ มาร์กอสและอีเมลด้า
มาร์กอสได้หนีออกนอกประเทศในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 1986
พร้อมเงินสดอีกหลายล้านดอลล่าร์ไปยังฮาวาย
แน่นอนไม่ต่างกับผู้นำคนอื่นๆ
หลังการสิ้นสุดอำนาจมาร์กอสและภรรยาถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก
พร้อมกับโดนอาญัติทรัพย์สินที่ทุจริตมาจนหมดเกลี้ยง
กลุ่มผู้ประท้วงในนาม "พลังประชาชน" จัดการประท้วงครั้งใหญ่ในปี 1986 |
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303231 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
อ้างอิง
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303231 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
อ้างอิง
‘อิเมลดา มาร์กอส’ สตรีที่โลกเพิ่งนึกได้ว่าเธอยังมีชีวิตอยู่(2561). จากhttps://thematter.co
First term of the presidency of Ferdinand Marcos(2562) จากhttps://en.wikipedia.org
Biography of Ferdinand Marcos, Dictator of the Philippines(2562). จากhttps://www.thoughtco.com
ความไม่รู้ประวัติศาสตร์สร้างเผด็จการ-บทเรียนจากฟิลิปปินส์และทายาทเผด็จการมาร์กอส(2558). จากhttps://prachatai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น