ค้นหาบล็อกนี้

23/5/62

ความเป็นมาของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ไทยแต่ละชิ้น

   เครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือเครื่องหมายแสดงความเป็นราชาของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งในประเทศไทยเราก็มีเครื่องราชกกุธภัณฑ์เหมือนกัน ในสมัยรัตนโกสินทร์เครื่องราชกกุธภัณฑ์หลักๆที่สำคัญมีอยู่ห้าชิ้นทำให้มีการเรียกเครื่องราชกกุธภัณฑ์เหล่านี้ว่า "เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์" ซึ่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยยาวมาถึงอยุธยา ซึ่งจำนวนเครื่องกกุธภัณฑ์ของแต่ละยุคก็มีไม่เหมือนกัน แล้วค่อยเปลี่ยนปรับปรุงจนปัจจุบันเครื่องกกุธภัณฑ์ของไทยมีทั้งหมด 5 ชิ้น ในวันนี้ทางเพจเราจะมานำเสนอความเป็นมาของเครื่องเบญจกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 ชิ้นกัน



 ในปัจจุบันไทย เครื่องราชกกุธภัณฑ์ของไทยในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 ชิ้น โดยชิ้นแรกคือชิ้นที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือ

พระมหาพิชัยมงกุฏิ

  

 พระมหาพิชัยมงกุฎิคือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดในหมู่เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งหมด ซึ่งเป็นเครื่องหมายสำหรับการขึ้นครองเป็นพระมหากษัตริย์ไทย โดยพระมหาพิชัยมงกุฏฺนี้ได้สร้างในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ฺรัชกาลที่ 1 ของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ ซึ่งตัวมงกุฎินั้นทำด้วยทองคำลงยาราชาวดีทั้งองค์ พร้อมกับประดับด้วยเพชรและอัญมณีอีกทีหนึ่งด้วย ส่วนด้านยอดแหลมของมงกุฏินั้นในสมัยตอนต้นยุครัตนโกสินทร์นั้น เป็นยอดแหลมธรรมดา แต่พอมาถึงสมัยของรัชกาลที่ 4 พระองค์มีรับสั่งให้ไปหาซื้อเพชรเม็ดงามมา ซึ้งทางราชสำนักได้ไปหาซื้อเพชรเม็ดงามที่เมืองกัลกัลตา ประเทศอินเดียมา ซึ่งเพชรที่ซื้อมานั้นมีขนาดใหญ่ถึง 40 กะรัต และเมื่อนำพชรกลับมายังสยามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงได้ตั้งชื้อให้เพชรเม็ดนั้นว่า พระมหาวิเชียรมณี และให้เอาเพชรเม็ดนั้นมาประดับบนยอดแหลมของพระมหาพิชัยมงกุฏินับแต่นั้นมา

พระมหาวิเชียรมณี
  พระมหาพิชัยมงกุฏินั้นมีความสูงถึง 66 เซนติเมตร และมีน้ำหนักสูงถึง 7.3 กิโลกรัม ซึ่งมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก ก็เพราะแสดงถึง ภาระอันหนักอึ้งที่พระมหากษัตริย์ต้องแบกรับในการปกครองประเทศ และความทุกข์สุขของพสกนิกรภายในประเทศ และด้วยความหนักถึง 7.3 กิโลกรัมนั่นเอง ทำให้ตั้งสมัย ร.1-ร.3 ทั้งสามพระองค์เพียงแต่รับพระมหาพิชัยมงกุฏิมาจากพระมหาราชครูพราหมณ์เท่านั้น แต่มิได้ทรงสวมไว้บนศรีษะ ซึ่งทำเนียมการสวมพระมหาพิชัยมงกุฏินั้นเริ่มต้นขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงยุคจักรวรรดินิยมและการล่าเมืองขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเริ่มนำทำเนียมของทางตะวันตกเข้ามาภายในราชสำนัก รวมถึงคติการสวมพระมหาพิชัยมงกุฏิไว้บนศรีษะซึ่งนำมาจากคติชาวตะวันตกที่ว่า พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระอำนาจสูงสุดก็ต่อเมื่อสวมมงกุฏิแล้วเท่านั้น และกลายมาเป็นทำเนียมสืบต่อมาในปัจจุบันนั่นเอง

พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 4 - รัชกาลที่ 7 ในพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในวันราชาภิเษก


พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในวันราชาภิเษก
พระแสงขรรค์ชัยศรี


 พระแสงขรรค์ชัยศรี คืออีกหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 ชิ้นของไทย โดยพระแสงขรรค์ชัยศรีเล่มนี้ มีประวัติว่า ชาวประมงคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเสียมราฐ ได้ทอดแหหาปลาภายในโตนเลสาบ แต่ชาวประมงผู้นี้กลับทอดแหไปเจอดาบเก่าๆเล่มหนึ่งที่ยังคงสภาพดีอยู่ ชาวประมงคนนั้นจึงทูลเกล้าถวายดาบเก่าๆเล่มนั้นให้กับเจ้าพระยาอภัยภูเบศร(แบน) ก่อนที่ท่านเจ้าพระยาจะทูลเกล้าถวายดาบเก่าๆเล่มนั้นให้กับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ในปี พ.ศ.2327 ซึ่งก่อนที่พระขรรค์เล่มนี้จะเข้ามาภายในพระบรมหาราชวังนั้น มีเรื่องเล่าว่า ได้เกิดพายุฝนโหมกระหน่ำพระบรมหาราชวังอย่างหนัก แล้วก็มีอัศนีตกลงมาตามหลายครั้ง โดยเฉพาะตัวพระบรมหาราชวังและทางที่เชิญพระขรรค์เข้าสู่พระบรมหาราชวัง หลังพายุสงบลงพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงได้ตั้งชื่อพระขรรค์เก่าๆเล่มนี้ว่า "พระแสงขรรค์ชัยศรี" และสั่งให้ช่างหลวงในราชสำนักไปทำดาบให้ดูเหมือนใหม่ให้เหมาะสมกับอาวุธคู่กายพระมหากษัตริย์

 ซึ่งเมื่อช่างหลวงทำเสร็จแล้ว ตัวพระขรรค์ที่ผุเก่าและมีสนิมขึ้น ก็กลายเป็นพระขรรค์ที่ดูเหมือนใหม่ ตัวด้ามดาบทำด้วยทองคำลงยาลายเทพนมและประดับด้วยอัญมณี มีความยาวรวมกว่า 101 เซนติเมตร และมีน้ำหนักรวมกว่า 2 กิโลกรัม และด้วยความที่เป็นดาบนี่เอง ทำให้เครื่องราชกกุธภัณฑ์ชิ้นนี้มีความหมายที่หมายถึงความเที่ยงธรรมและการป้องกันบ้านเมืองของพระมหากษัตริย์นั่นเอง

ธารพระกรชัยพฤกษ์

 
    ธารพระกรชัยพฤกษ์ หรือไม้เท้าสำหรับพระมหากษัตริย์นั้น คืออีกหนึ่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่สำคัญของไทย สร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ธารพระกรนี้ มีชื่อว่า "ธารพระกรชัยพฤกษ์" นอกจากที่ตัวธาร พระกรจะทำจากไม้ชัยพฤกษ์อย่างเดียวแล้ว ตัวองค์ยังลงรักปิดทองทั้งองค์ ส่วนหัวกลึงเป็นรูปหัวเม็ดและส่วนปลายส้นก็ทำเป็นสามแฉกคล้ายส้อม

   ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยพระองค์โปรดให้สร้างธารพระกรใหม่โดยให้มีส่วนหัวเป็นรูปเทวดา ทำให้ธารพระกรองค์นั้นมีชื่อว่า "ธารพระกรเทวรูป" และใช้ยาวเรื่อยมาทั้งงานพระราชพิธีราชาภิเษกรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์มีรับสั่งให้นำเอาธารพระกรชัยพฤกษ์กลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งธารพระกรองค์นี้ก็ได้ใช่ต่อยาวเรื่อยมาจนถึงงานพระราชพิธีของรัชกาลที่ 10 นั่นเอง

 สำหรับธารพระกรชัยพฤกษ์นั้น มีความหมายถึงการมีพระชนมพรรษายิ่งยืนนานของพระมหากษัตริย์นั่นเอง


วาลวิชนี 



 เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ชิ้นนี้ แม้จะเรียกว่าวาลวิชนี แต่ก็ไม่ได้มีแค่วาลวิชนีอย่างเดียว แต่ประกอบไปด้วยวาลวิชนีและพระแส้ขนหางจามรี ทังสองสิ่งนี้รวมกันจึงเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์หนึ่งชิ้นนั่นเอง

โดยวาลวิชนีนั้นสร้างขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โดยสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในงานพระราชพิธีปราบดาภิเษกของพระองค์เอง ใบพัดของวาลวิชนีทำด้วยใบตาลแล้วปิดทอง ส่วนปลายงอเล็กน้อยคล้ายกับฝักมะขาม ส่วนด้ามและเครื่องประกอบทำด้วยทองคำลงยา

ในส่วนของพระแส้ขนหางจามรีนั้น ได้ถูกสร้างหลังวาลวิชนีหลายสิบปี โดยสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เนื่องด้วยพระองค์มีพระดำริว่า คำว่า "วาล" นั้น แปลว่า ขนของจามรี การใช้พัดอย่างเดียวเรียกว่าวาลนั้นจึงไม่ถูกต้อง พระองค์เลยสร้างพระแส้ขนหางจามรีขึ้นมาเพื่อให้ชื่อถูกต้องตามความหมาย โดยพระแส้ขนหางจามรีนั้นตัวด้ามทำด้วยแก้วเจียระไร และเอาทองคำลงยา ส่วนตรงด้านแส้ใช้ขนหางของช้างเผือกในการทำ

 โดยวาลวิชนีนี้มีลักษณะเป็นพัด ทำให้มีความหมายว่า พระมหากษัตริย์จะเป็นคนปัดเป่าความทุกข์ยากของราษฎรให้หายไปนั่นเอง

ฉลองพระบาทเชิงงอน


 ฉลองพระบาทเชิงงอน คืออีกหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่ใช้กันมานานแสนนาน ฉลองพระบาทอันนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โดยองค์ฉลองพระบาทนั้นทำด้วยทองคำลงยาทั้งองค์ ส่วนภายในบุด้วยกำมะหยี่ และปลายของฉลองพระบาทนั้นก็ทำปลายงอนเป็นตุ่มแหลมคล้ายดอกลำดวน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "ฉลองพระบาทเชิงงอน"นั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามฉลองพระบาทเชิงงินนั้น ไม่ได้เป็นฉลองพระบาทแบบไทยแท้ แต่เอาแบบมาจากราชสำนักเปอร์เซียและอินเดียมาประยุกต์ และมีหลักฐานที่ว่ามีการทำฉลองพระบาทประยุกต์นี้มาใช้ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว

 ด้วยฉลองพระบาทเชิงงอนเป็นรองเท้า ทำให้ฉลองพระบาทนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งอานุภาพและบารมีของพระมหากษัตริย์ ในทุกหนแห่งที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไป

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ



ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ



สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
 อ้างอิง 
ความหมายของธรรมเนียม "การสวม" พระมหาพิชัยมงกุฏิ ซึ่งเริ่มสมัยรัชกาลที่ 4. จากhttps://www.silpa-mag.com.
พระมหาพิชัยมงกุฏิ สุดยอดศิราภรณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี. จากhttps://infocenter.git.or.th
ตำนานเหตุอัศจรรย์เมื่ออัญเชิญ "พระแสงขรรค์ชัยศรี" มาสู่ชื่อพระราชทานจาก ร.1. จาก https://www.silpa-mag.com
พระแสงขรรค์ชัยศรี เครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่เก่าแกที่สุดในสยาม.จาก https://www.ayutthayageopolitics.com
เครื่องราชกกุธภัณฑ์ “เครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชา” จากhttps://www.thairath.co.th
เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ (ตอนแรก) : รู้ไปโม้ดโดยน้าชาติ ประชาชื่น. จากhttps://www.khaosod.co.th
เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ (ตอนจบ) : รู้ไปโม้ดโดยน้าชาติ ประชาชื่น. จากhttps://www.khaosod.co.th
เครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก.จากhttp://www.nsbest.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น