ค้นหาบล็อกนี้

2/7/62

รัฐประหารปี 1921 จุดเริ่มต้นสู่การขึ้นสู่อำนาจของราชวงศ์ปาห์ราวี

    อาณาจักรเปอร์เซียในยุคที่ยังถูกปกครองโดยราชวงศ์กอญัรกำลังเริ่มเสื่อมอย่างรวดเร็ว จากอิทธิพลของการล่าอาณานิคมของฝ่ายชาติตะวันตก และปัญหาภายในที่คนในชาติต้องการที่จะมีสภาไม่ใช่ให้ฝ่ายกษัตริย์ปกครองอยู่อย่างเดียว ซึ่งจากทั้งปัญหาภายในและภายนอกเหล่านี้ส่งผลอย่างยิ่งต่อเอกราชและรูปแบบการปกครองของอิหร่านในอนาคต





   จากปัญหาทั้งภายในและภายนอกที่เปอร์เซียภายใต้การปกครองของราชวงศ์กอญัรต้องเผชิญ ทำให้สภาพสังคมและเศรฐกิจภายในเปอร์เซียเน่าเฟะเป็นอย่างมาก และด้วยความวุ่นวายอย่างมากจากปัญหาภายในของเปอร์เซียทำให้อังกฤษได้ใช้ความวุ่นวายนี้เป็นตัวดึงตัวเองให้มามีผลประโยชน์ในเปอร์เซีย เพราะดินแดนเปอร์เซียนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ อังกฤษจึงเริ่มมาทำสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในดินแดนเปอร์เซีย และเริ่มวางรากฐานอิทธิพลของอังกฤษในเปอร์เซียมากขึ้นและเริ่มแสดงถึงความอ่อนแอของทางราชวงศ์กอญัร

พระเจ้าชาห์โมฮัมหมัด อาลี ชาห์ กอญัร ชาห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์กอญัร
      อังกฤษพยายามสนุบสนุนการผลักดันอำนาจของชาห์ที่มีแนวคิดล้มรัฐธรรมนูญและสภา ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้การเจรจาแบ่งสัมปทานน้ำมันระหว่างอังกฤษ-เปอร์เซียค่อนข้างที่จะลำบาก และทางฝ่ายกษัตริย์เองก็ไม่ยอมที่จะสละอำนาจไปแน่ๆ และด้วยการที่อังกฤษสนับสนุนก็ยิ่งมีโอกาสมากที่จะล้มรัฐบาลได้ แต่ในขณะเดียวกันระบบสภาและประชาธิปไตยก็เป็นที่นิยมในคนหมู่มาก ทำให้การล้มสภาไม่สามารถที่จะทำอะไรกันได้ง่ายๆ

     หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 อุบัติขึ้น อังกฤษได้เริ่มเพ่งเลงและพยายามคุมอิทธิพลของตัวเองในเปอร์เซีย แม้ตัวเปอร์เซียเองจะเป็นกลางทางสงครามก็ตาม ซึ่งอังกฤษได้นำเอากองราชนาวีหลวงมาปิดอ่าวเปอร์เซียและพยายามคุมผลประโยชน์ของตัวเองจากทั้งในเปอร์เซียและออตโตมันที่กำลังอ่อนแอและเพลี้ยพล่ำต่อการสู้รบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จนในที่สุดเมื่อปี 1917 หลังการปฏิวัติรัสเซียโดยพรรคบอลเชวิคและการล้มลงของจักรวรรดิออตโตมัน ทำให้อังกฤษฮุบเอาผลประโยชน์ทางน้ำมันจากดินแดนเกือบทั้งหมดของฝ่ายอาหรับ และบีบบังคับให้เปอร์เซียต้องทำสนธิสัญญาด้านผลประโยชน์ทางสัมปทานน้ำมันในปี 1919 ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ผูกขาดน้ำมันส่วนมากกับอังกฤษและยังรวมไปถึงอังกฤษจะมีผลประโยชน์ทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เรียกได้ว่าสถานะของเปอร์เซียในตอนนั้นแทบจะกลายเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษเลยทีเดียว



      ในระหว่างที่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายกษัตริย์และรัฐบาลดำเนินอยู่ไปเรื่อยๆ ก็มีอีกฝ่ายหนึ่งได้ถือกำเนิดขึ้นมาเหมือนกับม้ามืดระหว่างทั้งสองฝั่งนั่นก็คือฝ่ายของกลุ่มกองกำลังทหารม้าคอซแซ็คที่นำโดย เรซา ข่าน ที่กำลังเป็นจุดเปลี่ยนของการสนับสนุนของอังกฤษจากที่นิยมฝ่ายกษัตริย์ก็กำลังย้ายรากฐานการสนับสนุนมาอยู่ที่เรซา ข่าน ที่เป็นกองทหารหลักของเปอร์เซียในตอนนั้น และยังเป็นกองทหารที่พยายามที่จะต่อต้านทั้งรัฐบาลและตัวกษัตริย์เองด้วย

เรซา ข่าน ผู้นำของกองทหารม้าคอสแซ็ค

ทหารเปอร์เซียในกองทหารม้าคอซแซ็คในปี 1920


       เนื่องด้วยอังกฤษได้เข้ามาแทรกแทรงบทบาททางการเมือง เศรษฐกิจและสภาพสังคมของชาวเปอร์เซียจากสัมปทานน้ำมันที่ทำเป็นสนธิสัญญาในปี 1908 และ 1919 จากทั้งการเจรจาอย่างสันติไปจนถึงการขู่บังคับทำสงคราม และการผูกขาดน้ำมันของอังกฤษในเปอร์เซีย หรือแม้แต่ความเจริญด้านการขุุดน้ำมันที่มีมากกว่าชาวเปอร์เซียเดิม ทำให้ประชาชนชาวเปอร์เซียไม่ค่อยพอใจพวกอังกฤษเป็นอย่างมาก พร้อมกับที่สภาก็เริ่มทบทวนสิทธิของพวกอังกฤษจากสัญญาในปี 1919 จนเกิดเป็นปัญหาลุกลามเป็นวงกว้างและนั่นเองที่ฝ่ายอังกฤษได้สนับสนุนให้เรซา ข่านก่อกบฎ เพราะอำนาจของกษัตริย์ที่อังกฤษเคยสนับสนุนมาก่อนนั้น ไม่ได้มีอำนาจต่อรองในรัฐบาลมากนักและอาจไม่สามารถคงอิทธิพลและสัมปทานน้ำมันของตัวเองให้อยู่ต่อไปได้

       ในที่สุดในช่วงเช้าของวันที่ 21 กุมภาพันธ์ของปี 1921 กองทหารม้าคอสแซ็คภายใต้การนำของเรซา ข่าน และแรงสนับสนุนของอังกฤษได้ยาตราทัพเข้ามายังกรุงเตหะรานเมืองหลวงของเปอร์เซีย ก่อนจะเข้าคุมตัวบุคคลสำคัญและนายกของเปอร์เซียในขณะนั้นคือ แฟตโทราร์ ข่าน อัคบาร์ ก่อนที่เรซา ข่าน จะประกาศกฏอัยการศึกและคุมประเทศนี้ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน ซึ่งผลของการรัฐประหารในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเอารัฐบาลที่เกร็งและพยายามยับยั้งอังกฤษออกไปจากอำนาจ เห็นได้ชัดจากก่อนการรัฐประหารการทำสัมปทานน้ำมันและสนธิสัญญาปี 1919 เป็นประเด็นที่ต่อรองกับอังกฤษจนเกิดเป็นความขัดแย้ง แต่หลังจากนั้นแทบจะไม่มีประเด็นใหญ่ๆกับอังกฤษอีกเลยยาวนานมาจนปี 1953 ส่วนฝ่ายกษัตริย์นั้นก็ไม่ดีมีบทบาทดีขึ้น เนื่องจากการเจรจากับรัฐบาลที่ค่อนไปทางอังกฤษค่อนข้างเป็นไปได้ด้วยดี รวมทั้งสถาบันกษัตริย์ก็ไม่ได้มีอำนาจมากอะไรอยุ่แล้ว ส่งผลทำให้กลุ่มอำนาจเก่าเกือบทั้งหมดสิ้นอำนาจไปอย่างรวดเร็ว

      ต่อมาในปี 1923 พระเจ้าชาห์โมฮัมหมัด อาลี ชาห์ กอญัร และครอบครัวเสด็จไปรักษาตัวยังประเทศแถบยุโรป แต่ก็มิได้กลับมาเป็นเวลานานหลายปี เรซา ข่าน ที่กำลังมีบทบาทอย่างมากขึ้นในช่วงนั้นเห็นว่าพระเจ้าชาห์แห่งกอญัรไม่สามารถที่จะคุมและเป็นแกนนำของประเทศได้ และยังหนีปัญหาออกนอกประเทศไป เรซา ข่านจึงล้มล้างการปกครองของราชวงศ์กอญัร และขึ้นเป็นประมุขในราชวงศ์ปาห์ลาวีแทน ภายใต้แรงสนับสนุนของอังกฤษ ที่ยื่นมือประกาศยอมรับในตัวเรซา ข่านเป็นชาติแรกๆ และนี้ก็คือจุดเริ่มต้นของราชวงศืปาห์ราวีที่จะปกครองประเทศอิหร่านต่อไปอีกกว่า 50 ปี

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ



ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ



สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)

อ้างอิง
การปฏิวัติอิสลามนำมาซึ่งการสิ้นสุดของราชวงศ์ปาห์ลาวี แห่งประเทศอิหร่าน(2556). จากhttp://jittiponghistoryedu.blogspot.com
Iran and Britain: The Politics of Oil and Coup D’état before the Fall of Reza Shah(2553). จากhttps://www.e-ir.info
Reza Khan, The British and 1921 Coup(2559). จากhttp://www.iranreview.org
จรัญ มะลูลีม : เรซา ชาฮ์ ปาห์ลาวี “ทหารสู่กษัตริย์ราชวงศ์สุดท้ายแห่งอิหร่าน” จากwww.matichonweekly.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น