ค้นหาบล็อกนี้

2/4/62

การปฏิรูปการเมืองการปกครองของพม่า ในสมัยของพระเจ้ามินดง



 หลังความพ่ายแพ้ของพม่าในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 2 พม่าสูญเสียย่อยยับไปในสงคราม พม่าตอนล่างต้องสูญเสียไปให้กับอังกฤษ และด้วยผลนี้ทำให้อาณาเขตติดทะเลของพม่าต้องหายไป ส่งผลอย่างมากต่อระบบเศรฐกิจและการค้าของพม่า เศรฐกิจพม่าถดถอยลงอย่างมากส่งผลต่อคนทุกระดับชั้นของพม่า นอกจากนี้ด้วยความพ่ายแพ้ของพม่า ยังส่งผลต่อราชบัลลังก์ของพระเจ้าพุกามแมงผู้เป็นกษัตริย์ในขณะนั้น เพราะหลังจากเกิดสงครามและความพ่ายแพ้ของพม่า เจ้าชายมินดงจึงได้เข้ายึดอำนาจของพระเจ้าพุกามแมง และขึ้นครองราชย์ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศพม่า

พระเจ้ามินดง
 การขึ้นครองราชย์ของพระองค์ นับเป็นความหวังสำคัญของชาวพม่า เพราะพระองค์เป็นกษัตริย์นักปฏิรูปไม่กี่คนในราชวงศ์คองบอง ซึ่งส่วนมากกษัตริย์องค์อิ่นๆของพม่า เป็นกษัตริย์นักรบที่มีการศึกเป็นส่วนใหญ่ แถมด้วยความขัดแย้ง การชิงราชสมบัติภายในราชสำนักด้วย นอกจากนี้พระองค์ยังมีแนวคิดนิยมตะวันตก ที่ขุนนางพม่าส่วนมากไม่ค่อยมีและเป็นผลทำให้พม่าต้องรบกับอังกฤษถึงสองครั้งเพราะความคิดที่ว่าพม่ามีความสามารถที่จะเอาชนะเหล่าชาติตะวันตกได้  พระองค์มีแนวคิดที่จะนำความทันสมัยมาสู่พม่า เพื่อให้พม่าก้าวทันโลก และต่อต้านอิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตกอยางอังกฤษและฝรั่งเศสที่กำลังรุกรานพม่ามาทุกที

  นโยบายแรกหลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์นั่นเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงเมืองหลวง จากกรุงอมรปุระ ย้ายขึ้นมาทางตอนเหนือบริเวณที่ราบสูงมัณฑะเลย์ พระองค์สั่งให้ตั้งเมืองหลวงบริเวณนั้นและใช้ชื่อเมืองหลวงใหม่ว่า "มัณฑะเลย์" โดยจัดให้เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของพม่าที่เหลืออยู่ มีการสร้างพระราชวังมัณฑะเลย์เพื่อเป็นที่ประทับของกษัตริย์ โดยพระราชวังมัณฑะเลย์เป็นพระราชวังที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย ก่อนที่จะถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

พระราชวังมัณฑะเลย์หลังจากได้รับการบูรณะ
  หลังเปลี่ยนเมืองหลวงใหม่ พระเจ้ามินดงก็เริ่มปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยโดยได้รับความช่วยเหลือจากขุนนางและเชื้อพระวงศ์คนสำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็น เจ้าชายกะนอง กินหวุ่นมินจี และแตงดาหวุ่นจี ที่เป็นอัคนเสนาบดีคอยช่วยพระเจ้ามินดงปฏิรูปตลอดรัชสมัยของพระองค์ โดยการปฏิรูปของพระองค์อย่างแรกเลยคือการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางอีกครั้ง ลดอำนาจของขุนนางท้องถิ่น ส่งคนของรัฐบาลไปยังท้องถิ่นต่างๆเพื่อปกครองตามเขตต่างๆภายในอาณาจักร เพื่อที่พระองค์จะสามารถเข้าปกครองพื้นที่ต่างๆได้อย่างทั่วถึงกัน

 หลังจากการกระชับอำนาจแล้ว พระองค์สั่งให้เร่งปฏิรูปเมืองต่างๆในประเทศให้ทันสมัย รวมถึงจัดตั้งข้าราชการเงินเดือนขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้คนทำงาน เพราะเมื่อก่อนเชื้อพระวงศ์หรือขุนนางจะเป็นคนจ่ายเงินเดือนให้กับข้าราชการซึ่งแต่ละครั้งก็ไม่เท่ากัน บางทีก็ไม่ให้อีก ทำให้ประชาชนไม่ค่อยอยากที่จะทำงานให้รัฐบาล นอกจากนี้ยังริเริ่มให้พิมพ์ธนบัตรและเงินเหรียญขึ้นมาจำนวนมากเพื่อริเริ่มการติดต่อค้าขายกับอังกฤษ แม้ชาวตะวันตกที่จะมาค้าขายกับพม่าจะค้าขายได้กับรัฐบาลเท่านั้น ไม่ได้ค้ากับประชาชนได้หรือพูดง่ายๆเลยคือ ระบบการค้าของพม่ายังคงเป็นระบบผูกขาดอยู่ ยังไม่ได้เปิดเป็นเสรีเต็มรูปแบบ แต่ด้วยระบบภาษีที่ค่อนข้างต่ำของพม่าทำให้ทางอังกฤษค่อนข้างที่ค้าขายกับพม่าได้อย่างราบรื่น รวมทั้งพระเจ้ามินดงยังเปิดสัมปทานป่าไม้ ทรัพยากรธรรชาติ ถ่านหินและเหมืองแร่ในพม่าให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุน เพื่อกระตุ้นให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนและค้าขายกับพม่ามากขึ้น เพื่อที่จะเอาเงินทุนและกำไรจากการทำการค้าขายกับชาติตะวันตกมาเป้นทุนทรัพย์ในการปฏิรูปประเทศต่อ

 หลังจากมีทุนทรัพย์มากขึ้น พระเจ้ามินดงก็ได้ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทสิ่งทอ เครื่องแก้ว เครื่องปั้นดินเผา รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีก รวมทั้งพัฒนาการอุตสาหกรรม มีการตั้งโรงงานน้ำตาล รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆในบริเวณกรุงมัณฑะเลย์อีกด้วย

 นอกจากนี้แล้วพระองค์ยังริเริ่มให้มีการพัฒนาระบบคมนาคม ทั้งทางบกและทางเรือ มีการพัฒนาถนนหนทางต่างๆทั่วอาณาจักร มีการซื้อเรือปั่นไฟจากอังกฤษเข้ามาภายในอาณาจักรเพื่อความสะดวกสบายของชาวพม่า รวมถึงให้มีการจัดตั้งระบบโทรเลขของพม่า เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่างพม่าบน(ราชอาณาจักรพม่า)กับพม่าล่าง(พม่าภายใต้การปกครองของอังกฤษ)มีความสะดวกรวดเร็วและทันสมัยมากขึ้น


 นอกจากการปฏิรูปด้านการปกครองและคมนาคมแล้ว พระพุทธศาสนาก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในพม่าเช่นเดียวกัน พระเจ้ามินดงที่มีความศรัธธาในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าและไม่ลืมที่จะส่งเสริมพระพุทธศาสนาไม่ให้หายไปจากชาวพม่า โดยเริ่มจากให้มีการสอบนักธรรมเป็นภาษาบาลีเป็นประจำในทุกๆปี นิมนต์พระสงฆ์จากลังกาและสยามมาส่งเสริมพระพุทธศาสนาในพม่า จัดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรกในพม่า โดยการสังคายนาครั้งนี้ได้มีการบันทึกพระไตรปิฏกลงบนแผ่นหินถึง 429 แผ่น โดยปัจจุบันแผ่นหินเหล่านั้นถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในวัดกุโสดอ

 แต่ใช้ว่าการปฏิรูปในประเทศอย่างเดียวจะทำให้บ้านเมืองเจริญได้ เพราะอิทธิพลจากอังกฤษที่มีมากและลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตกก็ยังคุกคามพม่าอยู่ พระเจ้ามินดงจึงมีดำริในการที่จะเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศโดยเฉพาะฝรั่งเศสโดยหวังว่าจะเอาฝรั่งเศสเข้ามาคานอำนาจของอังกฤษ โดยเริ่มแรกพระเจ้ามินดงได้ส่งพระราชโอรสของพระองค์ไปศึกษาต่อยังประเทศแถบยุโรป ต่อด้วยการส่งขุนนางเข้าไปดูงานในต่างประเทศ คือส่งทูตเข้าไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร โดยพระเจ้ามินดงได้เขียนสาสน์ถึงพระราชินีนาถวิคตอเรียด้วยพระองค์เอง

คณะทูตพม่าเข้าเผ้าพร้อมพระราชสาสน์แก่สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย
  แต่ว่าสาสน์ที่พระเจ้ามินดงเขียนถึงสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียนั้น กลับไม่ได้เพิ่มความสัมพันธ์พม่ากับอังกฤษ แต่กลับทำให้ความสัมพันธ์ถดถอยลง เพราะสาสน์ที่ส่งไปหาราชินีวิคตอเรีย พระเจ้ามินดงได้ใช้สรรพนามแทนท่านว่าเป็นน้องสาว ตามธรรมเนียมของภูมิภาคนี้ แต่สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียไมได้เห็นด้วย สงสาสน์กลับไปว่าเป็นเพียงสหายเท่านั้น และเมื่อคณะทูตชาวพม่ากลับไป สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียมีรับสั่งกับขุนนางและข้าราชบริพาลของอังกฤาว่ษไม่ให้ทูตจากพม่ามาเข้าเฝ้าถึงอังกฤษอีกแล้ว มีอะไรให้ไปติต่อกับทางอุปราชที่อินเดียเท่านั้น

  เมื่อทูตกลับออกมาจากพระราชวังวินด์เซอร์ของอังกฤษแบบไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ทูตเหล่านั้นก็เดินทางไปเข้าพบประธานีอดอลฟ์ ตีแยร์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ต่อ ณ พระราชวังแวร์ซาย การที่ทูตแห่งพม่าเข้าพบกับประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ก็เพื่อหวังที่จะเอาฝรั่งเศสมาคานอำนาจของอังกฤษในพม่า

คณะทูตพม่าเข้าพบประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศสที่พระราชวังแวร์ซาย

  โดยในขณะเข้าพบ ทูตจากพม่าได้มอบพระไตรปิฎกเป็นของกำนัลให้กับ ทางประธานาธิบดีฝรั่งเศส พอประธานาธบดีได้รับ ก็สั่งให้ให้เอาพระไตรปิฏกไปจัดแสดงยังกระทรวงต่างประเทศ นอกจากนี้ทูตพม่ายังพยายามเจรจาเปิดสัมปทานป่าไม้ให้ฝรั่งเศสเข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยหวังที่จะเอาฝรั่งเศสเข้ามาช่วนคานกับอำนาจของอังกฤษ ซึ่งดูเหมือนการทูตระหว่างพม่ากับฝรั่งเศสจะไปได้ราบลื่นกว่าการเจริญสัมพันธไมตรีกับอังกฤษ

 ฝรั่งเศสเห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในพม่าจึงยอมรับข้อเสนอของพม่า แต่การขนไม้ออกจากพม่านั้น ต้องขนลงผ่านแม่น้ำอิรวดีลงไปทางพม่าตอนใต้ที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษที่เรียกเก็บภาษีแพงหูฉี่ ทางฝรั่งเศสจึงส่งวิศวกรและช่างๆต่างลงพื้นที่พม่าในปีถัดมา เพื่อสร้างทางรถไฟไปต่อยังแม่น้ำโขงที่เป็นพื้นที่ภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส แต่ประเด็บมันอยู่ที่ว่า พม่าตรงบริเวรรัฐฉานนั้นถึงแม้จะมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านป่าไม้ แต่มันมีแต่ความกันดาร หุบเขาแลซึ่งมันได้สร้างความลำบากอย่างมากต่อฝรั่งเศสที่จะสร้างทางรถไฟ อีกทั้งบางส่วนอังกฤษก็ถือสัมปทานไว้อยู่แถมพื้รที่ที่อังกฤาถืออยู่ก็ไม่ได้มีน้อยเสียด้วย ฝรั่งเศสจึงล้มเลิกความตั้งใจ และการคานอำนาจของอังกฤษในพม่าก็เริ่มยากขึ้นทุกที

 การปฏิรูปยังคงดำเนินไปตลอดทั้งรัชสมัยของพระเจ้ามินดง แม้จะมีสดุดไปบ้างในบางที แต่อย่างไรก็ตามพม่าก็ยังคงพัฒนาต่อไปด้วย จะมีก็แค่ความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่ค่อยไม่ราบลื่นเท่าไหร่ ก็ยังคงทำให้อังกฤษยังคงมีอิทธิพลอย่างมากต่อพม่า การปฏิรูปดูเหมือนจะเป็นไปด้วยดีแต่อย่างไรก็ตามหลังจากพระเจ้ามินดงสวรรคต และบัลลังก์ตกไปอยู่กับพระเจ้าธีบอ การปฏิรูปของพม่าที่ทำมาทั้งหมดต้องสูญเปล่า เจ้าชายหลายคนที่เป็นนักปฏิรูปต้องเสียชีวิต จากการแย่งชิงราชบัลลงก์ การปฏิรูปช้าลงกว่าที่ควรจะเป็น และพม่าก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในที่สุด

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ




ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ




สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)

อ้างอิง
Diplomacy and Reform under King Mindon, 1853-78 จากhttps://www.globalsecurity.org
การปฏิรูปการเมือง-การปกครองพม่าสมัยพระเจ้ามินดง (ค.ศ.1853-1878) จากhttps://madlab.cpe.ku.ac.th
"กษัตริย์มินดง"ผู้ปกครองนักปฏิรูปเพื่อพุทธศาสนา . จากhttp://buddhistnations.blogspot.com
ประวัติความเจริญทางพระพุทธศาสนาของพม่า ตอนที่ 3 [มัณฑะเลย์].จากhttps://www.dhammahome.com
กระทู้ Pantip กษัตริย์ราชวงศ์คองบองพระองค์ใดที่ดีที่สุด (ในด้านการปกครอง)
 “พม่ารบฝรั่ง” บทสุดท้ายของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”.จากhttp://www.reurnthai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น