ค้นหาบล็อกนี้

17/3/62

การจลาจลในย่างกุ้งปี 1930 เมื่อชาวพม่าไม่พอใจชาวอินเดีย





 หลังจากที่พม่าต้องตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ จากความพ่ายแพ้ต่ออังกฤษในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 3 ระบบกษัตริย์ของพม่าถูกยกเลิกและแทนที่ด้วยรัฐบาลอาณานิคมจากบริติชราช อังกฤษเข้าปกครองพม่าต่อจากการปกครองของราชวงศ์คองบองในปี 1885

 โดยเมื่ออังกฤษมีบทบาทในการปกครองของพม่าแล้ว ชาวอินเดียก็เริ่มเข้ามาทำงานในพม่ามากขึ้น การอพยพโดยชาวอินเดียนี้ เป็นทั้งมาด้วยตัวเองและรัฐบาลอาณานิคมส่งมา การเข้ามาของชาวอินเดียส่วนมากจะทำการประมงหรือไม่ก็เป็นแรงงานของอังกฤษ ซึ่งส่วนมากจะเข้ามาทำงานในพม่าตอนล่างบริเวณเมืองย่างกุ้งซะส่วนใหญ่ และมักจะมีเรื่องกระทบกระทั่งกับชาวพม่าที่อาศัยอยู่แต่เดิมบ่อยๆ

ท่าเรือในเมืองย่างกุ้ง
 ความขัดแย้งระหว่างชาวพม่ากับชาวอินเดียไม่ค่อยเกิดขึ้นมากนัก เพราะต่างฝ่ายก็ต่างอาศัยอยู่กัน ไม่ค่อยที่จะเข้ามายุ่งเกี่ยวกัน เพราะไม่อยากให้เกิดการทะเลาะวิวาท แต่อย่างไรก็ตามหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง และเกิดภาวะเศรฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ มันส่งผลมายังอาณานิคมเหล่านี้ด้วย ประชาชนในอาณานิคมได้รับค่าแรงน้อยทั้งที่ต้องทำงานหนักขึ้น ชาวอินเดียจำนวนากจึงนัดหยุดงานประท้วงเพื่อขอเพิ่มค่าแรงของชาวอินเดีย มีการนัดหยุดประท้วงกันเป็นจำนวนมาก เมื่อชาวพม่าเห็นอย่างนั้น ชาวพม่าเองก็ได้รับค่าจ้างที่ต่ำแต่ต้องทำงานที่หนักหนาสาหัสประจำ จึงหยุดงานประท้วงเช่นเดียวกัน การประท้วงครั้งใหญ่นี้ทำให้อังกฤษต้องเพิ่มค่าแรงให้กับชาวอินเดียเพื่อไม่ให้เรื่องบานปลาย แต่กลับไม่เพิ่มค่าแรงให้กับชาวพม่า แถมยังมีการจับกุมตัวชาวพม่าบางส่วนอีก ซึ่งนั่นสร้างความโกรธแค้นอย่างมากต่อชาวพม่า ซึ่งเรื่องน่าจะจบลงแค่นั้น ถ้าชาวอินเดียไม่แสดงอาการดูถูก เยาะเย้ยต่อชาวพม่า เมื่อความโกรธต่อชาวอังกฤษและชาวอินเดียมารวมตัวกัน ชาวพม่าจึงบุกเข้าไปในย่านที่อยู่อาศัยของชาวอินเดีย ทำร้ายร่างกาย และสังหารชาวอินเดียไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวอินเดียบางส่วนไม่กล้าแม้แต่ที่จะออกจากบ้าน

 แม่แต่ภายในคุกเอง ด้วยผู้คุมส่วนมากเป็นชาวอินเดีย และนักโทษส่วนมากก็เป็นชาวพม่า การดูถูกชาวพม่าในคุกโดยผู้คุมก็ทำให้การทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นในคุก ผู้คุมและนักโทษหลายคนต้องตายจากการปะทะกัน นั่นทำให้ความรุนแรงจากสองเชื้อชาติรุนแรงเกินที่จะสามารถเยียวยาได้

 ด้วยความรุนแรงจากการจลาจลของชาวพม่าในครั้งนี้ ส่งผลให้อังกฤษต้องเข้ามาควบคุมการจลาจลไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ จึงส่ง Queen's Own Cameron Highlanders ซึ่งเป็นกองพันทหารของอังกฤษในการสลายการจลาจล โดยสามารถหยุดการทำร้ายร่างกายชาวอินเดียของชาวพม่าได้ในวันที่ 24 มิถุนายน 1930 โดยมีการตรวจสอบยอดผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์พบว่ามีผู้เสียชีวิตกว่า 200 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 2000 คน นับเป็นอีกหนึ่งโศกนาฏกรรมของพม่า ที่สร้างความร้าวฉานให้กับสองเชื้อชาตินี้อย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายปีเลยทีเดียว

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ



ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ




สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)


อ้างอิง
1930 Rangoon riots(2562). จากhttps://en.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น