ค้นหาบล็อกนี้

19/3/62

ความขัดแย้งกันระหว่างพระยาทรงสุรเดช กับ หลวงพิบูลสงคราม ที่นำไปสู่การเกิดกบฎเจ้าพระยาทรงสุรเดช




 หลังเกิดเหตุการณ์กบฏ ร.ศ.130 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทำให้นักศึกษาจากต่างประเทศอีกกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวกัน โดยที่เหล่านักศึกษาเหล่านั้นต่างก็มีความคิดเดียวกันนั่นก็คือ ความคิดเห็นที่ว่าหากสยามยังคงปกครองโดยระบอบสมบูรณยาสิทธิราชอยู่แล้วละก็ ไม่มีทางที่จะนำพาชาติไปสู่ความเจริญกว่าเดิมได้ และเห็นว่าประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะนำพาชาติไปสู่ความรุ่งเรืองและรุ่งโรจน์ได้ในอนาคต และนั่นก็ทำให้สิ่งที่เรียกว่า "คณะราษฎร" ถือกำเนิดขึ้น

 แต่คณะราษฎรเริ่มมาใช้เป็นขบวนการจริงหลังจากเมื่อนักศึกษาเหล่านั้นกลับมายังสยาม และเข้ารับราชการสำคัญต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยคณะราษฎรในตอนนั้นแทบจะไม่ได้มีบทบาทอะไรมาก แถมแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็แทบจะเลือนลาง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่เริ่มเข้ามามีบทบาทภายในขบวนการ สถานการณ์ก็พลิกกับมามีอำนาจและอิทธิพลในสยามได้ จนกระทั่งคณะราษฎรสามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ในวันที่ 24 มิถุนายน 1932 โดยบทบาทสำคัญก็ถูกยกให้กับสี่ทหารเสือของคณะราษฎร ที่เป็นนายทหารระดับผู้ใหญ่ของสยามที่เข้าร่วมในการปฏิวัติครั้งนั้น

สี่ทหารเสือแห่งคณะราษฎร (จากซ้าย)
พันเอกพระยาทรงสุรเดช , พันโทพระประศาสน์พิทยายุทธ ,พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา , พันเอกพระยาฤทธิอัคเนย์
 แม้การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณายาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการตั้งสภาและรัฐบาลพร้อมกับที่สยามมีรัฐธรรมนูณฉบับแรกแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆในคณะราษฎร์ก็แล้วร้าวฉานขึ้น โดยเฉพาะพันเอกพระยาทรงสุรเดชหนึ่งในสี่ทหารเสือ กับพันตรีหลวงพิบูลสงคราม หัวหน้าคณะราษฎรฝ่ายทหาร ก็แตกแยกกันจนแทบมองหน้ากันไม่ติด

 ซึ่งที่ความสัมพันธ์เป็นกันอย่างนี้ มันก็เริ่มต้นมาจากการที่ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ยื่นแนวเค้าโครงเศรฐกิจปกเหลืองให้กับพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ซึ่งมันก็เป็นเรื่องในทันที เพราะนักการเมืองบางส่วนเห็นว่ามันมีแนวคิดค่อนไปทางคอมมิวนิสต์ ซึ่งยังเป็นเรื่องที่สยามค่อนข้างกลัวอยู่ด้วย ซึ่งมันทำให้ในสภาถูกแบ่งเป็นสส.ที่มีความเห็นไปในทางเดียวกับนายปรีดี และนายกรัฐมนตรีและพวกที่ไม่เห็นด้วยกับนายปรีดี ซึ่งพระยาทรงสุรเดชอยู่ผ่ายเดียวกับพระยามโนปกรณ์นิติธาดาที่เป็นนายกรัฐมนตรี โดยเมื่อนายปรีดีถูกบีบบังคับให้ออกนอกประเทศโดยพระยามโนปกรณ์นิติธาดา มันก็สร้างความไม่พอใจให้กับนักการเมืองบางส่วนและหลวงพิบูลสงครามต่อพระยามโนฯและพระยาทรงสุรเดช

 อีกทั้งตอนที่ประชุมกันเรื่องกองทัพ พระยาทรงสุรเดชบอกว่าทหารควรจะมียศสูงสุดแค่เพียงพันเอกเท่านั้น ไม่ควรจะมีสูงกว่านี้อีก และควรกระจายทหารไปตามที่ต่างภายในประเทศ ถ้ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นค่อยเรียกกลับมาภายในกรุงเทพ แต่หลวงพิบูลสงครามกลับไม่ได้คิดอย่างนั้น เขาคิดว่าทหารควรมียศสูงสุดคือจอมพล และควรให้ทหารที่มียศสูงเข้ามาทำงานภายในกรุงเทพเพื่อรักษาเกีรยติยศ อำนาจ และอธิปไตยของประเทศเอาไว้ ซึ่งมีการเถียงกันอย่างรุนแรงมาก กว่าจะได้ข้อสรุปออกมา ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นความคิดของหลวงพิบูลสงคราม ที่ทหารส่วนมากยอมรับ

 และเมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนานาที่ตอนนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในคณะนั้นกำลังจะลงจากอำนาจ ซึ่งตอนนั้นมีคนที่พยายามชิงตำแหน่งนายกกันสองคนระหว่าง พระยาทรงสุรเดช กับหลวงพิบูลสงครามที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดในคณะนั้น การต่อสู้ระหว่างทั้งสองคนในการชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สส.ส่วนมากคิดที่จะเลือกพระยาทรงสุรเดชที่จะนั่งเก้าอี้นายกคนต่อไป แต่เมื่อว่าคืนก่อนที่จะมีการเลือกนายก หลวงพิบูลสงครามได้ทำการซ้อมรบในตอนกลางคืน เครื่องบินรบออกลาดตระเวน และตามด้วยเสียงกระสุนปืนดังก้องสนั่นหวั่นไหวออกมาจากเครื่องบินรบ ก่อนขะตามด้วยเสียงกระสุนจากปืนต่อต้านอากาศยาน ซึ่งนี่ทำให้ประชาชนตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามต่างกลัวจนเข้ากระดูก ทำให้ในวันรุ่งขึ้น สส.ต่างเทเสียงเลือกหลวงพิบูลสงคราม ทำให้หลวงพิบูลสงครามได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

 เมื่อหลวงพิบูลสงครามขึ้นสู่อำนาจแล้ว ได้มีการกวาดล้างนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและผู้เห็นต่างครั้งใหญ่ แต่ว่าพระยาทรงสุรเดชนั้นถูกยกเว้นไม่ได้กำจัดให้พ้นทางแบบนักการเมืองคนอื่น เพราะยังมีฐานะและยังเคยเป็นถึงสี่ทหารเสือที่ร่วมกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีเหตุการณ์ลอบสังหารตัวหลวงพิบูลสงครามถึงสามครั้ง หลวงพิบูลสงครามจึงบีบบังคับให้พระยาทรงสุรเดชไปต่างประเทศ โดยไม่มีเบี้ยหวัดหรือบำนาญใดๆให้ อีกทั้งยังให้ หลวงอดุลเดชจรัส ทำการเฝ้าสังเกตุลูกน้องและคนสนิทของพระยาทรงสุรเดช ก่อนที่จะให้จับกุมเหล่าคนที่คิดว่าเป็นกบฏและต่อต้านรัฐบาลซึ่งสามารถจับกุมได้ 51 คน การจับกุมนี้ถูกเรียกว่า "กบฏพระยาทรงสุรเดช" หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "กบฏ 18 ศพ" เพราะมีการเอาเหล่านักโทษที่จับกุมได้มาสังหารทุกวัน วันละ 4 คน


 ชะตากรรมของพระยาทรงสุรเดชที่เหลือนั้น หลังจากถูกคุมตัวแล้วส่งไปที่เขมรแล้วนั้น เขากับภรรยาก็ต้องเร่รอนไปเรื่อย ทั้งไปถึงไซง่อนเพราะเขมรไม่ยอมรับท่านให้อาศัยอยู่ในเขมร ก่อนทางเขมรเปลี่ยบใจและรับท่านมาพำนักอยุ่ในพนมเปญ สตางค์ที่ติดตัวของเขาไม่เหลือเลย ต้องออกมาโม้แป้งทำขนมกล้วยด้วยตัวเอง หาเช้ากินค่ำ บางวันก็ไม่ได้กินข้าว ชีวิตของท่านนั้นอาภัพสุดๆ มีงานอะไรก็ตามก็ต้องทำเพื่อเงินในการประทังชีวิต ก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตอย่างกระทันหันในปี 1944 โดยแพทย์ให้สาเหตุว่าท่านเสียชีวิตด้วยอาการโลหิตเป็นพิษ แต่ว่าก่อนที่จะตายท่านมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทำให้มีคนเชื่อกันว่าทานถุกลอบวางยาพิษ

 อีกด้านหนึ่งหลวงพิบูลสงครามที่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจเรื่อยมาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงการรัฐประหารปี 2500 จอมพล ป. จึงหมดอำนาจเป็นการถาวรแล้วเป็นฝ่ายที่ระหกระเหินไปที่ต่างๆก่อนสิ้นสุดที่ญี่ปุ่น และเป็นที่ท่านเสียชีวิตด้วยการลอบวางยาพิษเช่นกัน

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ



ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ



สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)


อ้างอิง
ย้อนรอย ‘สี่ทหารเสือ’ มิตรภาพ อำนาจ ชะตากรรม ตำนานการเมืองไทย พ.ศ. 2475(2017).จากhttps://thestandard.co
ย้อนรอยชีวิต"คู่ปรับ"จอมพล.ป. กบฏ ลี้ภัย และขนมกล้วย!(2018).จากhttp://www.komchadluek.net
พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)(2019).จากhttps://th.wikipedia.org
ลีลาชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของชายที่ไม่ไร้พิษ! ชาวประชาตื่นตาตื่นใจ แต่คู่แข่งหนาวสะท้าน!!(2019).จากhttps://mgronline.com
กบฏพระยาทรงสุรเดช เหตุการณ์กบฏอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย พ.ศ. 2475 (2018).จากhttps://www.wataryat.com
กระทู้ PANTIP กบฏ 18 ศพ…. จอมพล ป พิบูลสงคราม… กับการใช้อำนาจในการตัดสินประหารชีวิต ผิดจริงหรือเกมส์การเมือง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น