ค้นหาบล็อกนี้

30/1/62

การปฏิวัติคิวบา โค่นล้มระบอบเผด็จการที่บ่อนทำลายประเทศ

      จากการที่สหรัฐเข้าครอบงำเศรฐกิจหลักของคิวบา ตั้งแต่คิวบาประกาศเอกราชมาใหม่ๆ ทำให้สหรัฐเข้ามามีบทบาทอย่างมาก บริษัทห้างร้านหรือกิจการสาธารณูปโภคหลักของคิวบาตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสหรัฐ อีกทั้งรัฐบาลที่ไร้ประสิทธิภาพและคอรัปชั่นอย่างหนัก ทำให้ฟิเดล คัสโตรและเช เกวารา ได้ทำการปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการที่มีสหรัฐหนุนอยู่ของ ฟูลเคนซิโอ บาดิสตา


       ในช่วงสงครามเย็น ซึ่งเป็นการแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจนระหว่างฝ่ายโลกเสรีกับโลกคอมมี่ ซึ่งเป็นการแบ่งฝ่ายระหว่างสองมหาอำนาจใหญ่ของโลกในยุคนั้นคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต โดยนโยบายของสหรัฐในช่วงนั้นคือต่อต้านตอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน มีการส่งทุนไปยังประเทศต่่างๆทั่วโลก เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์โดยไม่สนว่ารัฐบาลนั้นจะเป็นรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตยหรือเผด็จการทหาร คิวบาก็เช่นกัน สหรัฐได้ส่งมอบเงินทุนเป็นจำนวนมากแก่รัฐบาลเผด็การทหารของฟูลเคนซิโอ บาดิสตาที่ทำการรัฐประหารรัฐบาล คาโรส โซคาร์รา ในปี 1952

ปธน.ฟูลเคนซิโอ บาดิสตา
        อย่างที่เราที่ทราบกันว่าสหรัฐส่งเงินสนับสนุนให้คิวบาเป็นจำนวนมากเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่ว่ารัฐบาลของบาดิสตานั้นได้ทำการคอรัปชั่นอย่างหนัก เงินที่ได้แทนที่จะพัฒนาประเทศกลับตกอยุ่กับนักการเมืองและผู้นำของคิวบาเป็นจำนวนมาก และการผูกขาดทางด้านเศรฐกิจและการควบคุมในเกือบทุกๆด้านในคิวบาของอเมริกา ทำให้ประชาชนคิวบาส่วนมากยากจน และมีความเกลียดชังในตัวรัฐบาลบาดิสตาเป็นจำนวนหนึ่ง


     จากความไม่พอใจในเรื่องที่กล่าวมาข้างต้น ประชาชนในคิวบาเริ่มลุกขึ้นมาประท้วงต่อต้านรัฐบาล แต่ประธานาธิบดีฟูลเคนซิโอ บาดิสตา ไม่ได้เปิดโอกาสให้กับกลุ่มผู้ประท้วงได้แสดงความคิดเห็นของตน และใช้ทหารในการปราบการชุมนุม ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการรวมตัวกันของผู้คนที่จะโค่นล่มรัฐบาลโดยการใช้อาวุธขึ้น นำโดยฟิเดล คัสโตรและน้องชายของเขาราอุล คัสโตร ก่อนจะเริ่มแผนการแรกนั่นคือ การโจมตีค่ายทหารมองกาดาในซานติอาโก เด กูบา ในวันที่ 26 กรกฎาคม 1953 ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวแรกและเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิวัติคิวบา

การโจมตีค่ายมองกาดา
  ฟิเดล คัสโตร นำกลุ่มกบฏที่มีจำนวนไม่ถึง 400 คน เข้าโจมตีต่ายมองกาดาในรุ่งเช้าของวันที่ 26 กรกฎาคม 1953 แต่ขึ้นชื่อว่าค่ายทหาร คิดเหรอว่าจะแตกง่ายๆกับกลุ้มกบฎที่โจมตีแบบกองโจรเพียงแค่ 300 กว่าคน โดยไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น กลุ่มกบฎภายใต้การนำของฟิเดล คัสโตรก็ถูกปราบปรามอย่างรวดเร็ว มีผู้เสียชีวิตประมาณ 60 คน ส่วนที่เหลือถูกจับกุมตัวโดยรัฐบาลซึ่งรวมถึงคัสโตรด้วยเช่นกัน โดยคัสโตรถูกตัดสินจำคุก 15 ปีในเรือนจำเปรซีดีโอโมเดโล ตั้งอยู่บนเกาะสน ขณะที่ราอุลถูกตัดสินจำคุก 13 ปี

การจับกุมตัวฟิเดล คัสโตร และกลุ่มกบฎ
    ฟิเดลและราอุลถูกขังอยู่ในคุกได้ไม่กี่ปี รัฐบาลก็ต้องปล่อยตัวพวกเขารวมทั้งนักโทษทางการเมืองทั้งหมด จากการถูกกดดันทางการเมืองในปี 1955 โดยหลังจากได้รับการปล่อยตัวพวกเขาก็ได้อพยพไปยังประเทศเม็กซิโก และที่นั่นเขาได้พบกับนักปฏิวัติชาวอาร์เจนติน่าที่มีอุดมการณ์อันแรงกล้านามว่า เอร์เนสโต เกบารา หรือที่พวกเรารู้จักกันในนาม "เช เกวารา"

เช เกวารา
"ขบวนการ 26 กรกฎาคม" ได้ถือกำเนิดขึ้นซึ่งตั้งชื่อตามชื่อวันที่โจมตีค่ายมองกานาในปี 1953 โดยฟิเดล คัสโตรและเช เกบารา ได้หาพรรคพวกร่วมมือกันในการเตรียมที่จะทำการปฏิวัติในคิวบาอีกครั้ง โดยเป้าหมายในครั้งนี้คือต้องโค่นล้มรัฐบาลทหารของบาดิสตาให้ได้ และต้องไม่ล้มเหลวแบบครั้งก่อนด้วย

ธงของขบวนการ 26 กรกฎาคม
     วันที่ 2 ธันวาคม 1956 ฟิเดล คัสโตรและผู้คนในขบวนการ 26 กรกฎาคม ได้เดินทางทางเรือจากเม็กซิโกเข้าสู่คิวบา แต่เมื่อพวกเขาลงจากเรือและแตะแผ่นดินคิวบาไม่นาน พวกเขาก็ต้องปะทะกับกลุ่มทหารที่กำลังรอพวกเข้าอยู่ การปะทะกันในครั้งนี้เต็มไปด้วยความโกลาหล ฟิเดล คัสโตร และพรรคพวกต้องหนีเอาชีวิตรอดเพราะไม่มีอาวุธหรือแผนการบุก โดยคนกว่า 80 คนในกลุ่มขบวนการเหลือแค่เพียง 22 คนที่สามารถหนีรอดไปได้ โดยทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวคือในทิวเขาเซียร์รามาเอสตราให้ได้ ซึ่งคนที่เหลืออยู่ก็กระจายกันไปและไม่ได้ข่าวถึงเพื่อนร่วมขบวนการนานหลายวัน แต่ในที่สุดพวกเขาก็สามารถกลับมารวมตัวกันได้สำเร็จ

ราอุล คาสโตร และเช เกบารา ในฐานที่มั่นบนหุบเขา
ตลอดช่วงปี 1957 กองกำลังกบฎของฟิเดล คาสโตรนั่นซ่องสุมกำลังพล และเป็นฝ่ายตั้งรับการโจมตีของรัฐบาลบาดิสตาทั้งหมด เพราะตอนนั้นฟิเดล และพรรคพวกมีกำลังพลยังไม่ถึง 200 คน ซึ่งยังไม่อาจเปิดปะทะกับทหารคิวบาที่มีเป็นหมื่นเป็นแสนคนได้ตรงๆ ต้องใช้วิธีการรบแบบยุทธวิธีกองโจรในการตั้งรับไปเรื่อยๆ พร้อมกันนั้นก็ได้โฆษณาชวนเชื่อไปเรื่อยๆ ทั้งการแจกใบปลิวรวมถึงการตั้งสถานีวิทยุเถื่อน ที่มีชื่อเรียกว่า "วิทยุกบฏ "ขึ้น เพื่อกระจายเสียงและข้อความโจมตีรัฐบาล รวมถึงบั่นทอนความนิยมของบาดิสตาในหมู่ประชาชนด้วย ใขณะเดียวกันภายในรัฐบาลของบาดิสตาก็เริ่มระส่ำระส่าย สหรัฐเริ่มถอนตัวจากการสนับสนุนคิวบา กองกำลังทหารไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ เพราะแทบไม่มีงบและสหรัฐก็ไม่ให้คิวบาส่งเสริมกองทัพมากนัก อีกทั้งประชาชนส่วนมากก็ไม่ได้นิยมในตัวบาดิสตาจากการกดขี่ประชาชนของชนชั้นปกครอง


    ช่วงต้นปี 1958 รัฐบาลบาดิสตาเริ่มเปิดฉากโจมตีกลุ่มกบฎที่ซ่อนตัวอยู่บนหุบเขาอย่างเต็มรูปแบบ การต่อสู้ระหว่ารัฐบาลและกลุ่มกบฏจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และด้วยความต่างของจำนวนทหารทำให้กลุ่มกบฏของฟิเดล คัสโตรต้องป้องกันด้วยยุทธวิธีกองโจรเต็มรูปแบบ โดยในยุทธการที่ลัสเมร์เซเดส กองกำลังของกลุ่มกบฏเกือบที่จะพ่ายแพ้ยกกองจากจำนวนที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็สามารถเอาตัวรอดออกมาได้ ห่อนที่จะเริ่มโต้กลับจนทำให้ทางทหารต้องล่าถอยออกมากจากแถบภูเขาที่คัสโตรคุมอยู่


หลังสามารถตีโต้ และป้องกันฐานที่มั่นในหุบเขาของตัวเองได้ ในช่วงกลางปี 1958 กองกำลังของฟิเดล และเชได้ออกมาจากที่ซ่อนตัวตามหุบเขา เข้าสู่ตัวเมืองและเริ่มเป็นฝ่ายบุกโจมตีจนเข้าสู่ตัวเมืองได้ ก่อนจะเข้าปราศรัยในตัวเมืองและจากการปราศรัยนั้นทำให้มีผู้คนร่วมมือกับกลุ่มกบฎในการโค่นล้มรัฐบาลบาดิสตามากขึ้น จากการที่ผู้คนเหล่านั้นไม่ชอบการกดขี่จากรัฐบาลบาดิสตาส่วนหนึ่ง และวาทะศิลป์ที่คมคายของตัวฟิเดล คัสโตรด้วยเช่นกันที่สามารถปลุกขวัญและสร้างกำลังใจในการต่อต้านรัฐบาลของประชาชน ให้ทำการร่วมมือกันโค่นอำนาจรัฐบาลที่กดขี่และรีดทรัพยากรออกไปจากคิวบา


  ฟิเดล คัสโตรและกลุ่มกบฎเริ่มมีชัยในการต่อสู้กับกองทหาร และลุกคืบต่อไปจนถึงกรุงฮาวานาเมืองหลวงของคิวบา ได้ภายในระยะเวลาไม่นาน จนในที่สุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 1958 กองกำลังกบฎของฟิเดล คัสโตรเข้าโจมตีกองกำลังทหารของรัฐบาลในยุทธการซันตากลารา ซึ่งจากยุทธการนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของการปฏิวัติ เมื่อฝ่ายกบฎได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด และนำไปสู่การหลบหนีของบาดิสตาที่หลบหนีไปอยู่ยังสาธารณรัฐโดมินิกัน


      8 วันหลังยุทธการที่ซันตากลารา ฟิเดล คัสโตร และกลุ่มกบฏสำคัญเดินทางมายังกรุงฮาวานา และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่เริ่มมีแนวคิดเป็นคอมมิวนิสต์ขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบากับสหรัฐเริ่มแย่ลงจนเกิดการคว่ำบาตรคิวบาในที่สุด ซึ่งคิวบาก็เริ่มไปจับมือกับสหภาพโซเวียตหลังการปิดความสัมพันธ์ของอเมริกา ซึ่งด้วยความที่คิวบาเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่อยู่ใกล้กับอเมริกา และมีความสัมพันธ์กับโซเวียต ทำให้สหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคเนดี สั่งรุกรานคิวบาในการรุกรานอ่าวหมูในปี 1961 แต่ก็ล้มเหลว และต่อมาก็เกิดความตึงเครียดระหว่างโซเวียต-สหรัฐจากการเกิดวิกฤติการ์ณขีปนาวุธคิวบาในปี 1962 ด้วยนั่นเอง

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ





ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ





สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)

อ้างอิง
Batista forced out by Castro-led revolution(2018). จากhttps://www.history.com
The Cuban Crisis. จากhttps://www.bbc.com
การปฏิวัติคิวบา(2018). จากhttps://th.wikipedia.org
เพจFacebook : ประวัติศาสตร์สงครามเย็น สงครามตัวแทน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น