ค้นหาบล็อกนี้

1/1/62

การจลาจลในทิเบตปี 1959 จุดจบการปกครองของดาไลลามะ

 นับตั้งแต่ที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ปกครองจีนตั้งแต่ปี 1950 คณะชนชั้นสูงและดาไลลามะยังคงเป็นประมุขในทิเบตได้ จากการทำสนธิสัญญา 17 ข้อ แต่ตลอด 9 ปีที่ดาไลลามะยอมอยู่ใต้อาณัติของรัฐบาลจีน มีการเรียกร้องและประท้วงมากมาย จนกระทั้งมาถึงการจลาจลที่สำคัญครั้งนึงที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ของทิเบตไปตลอดกาล ถ้าอยากทราบเรื่องราวต่อไป เชิญอ่านบทความข้างล่างได้เลยครับ


   หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนของเหมามีชัยเหนือสงครามกลางเมืองจีน และขึ้นมาปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 1950 ได้ไม่นาน กองทัพจีนนำทัพคอมมิวนิสต์เข้าไปยังดินแดนทิเบตเพื่อทำการปฏิรูปที่ดินและเลิกทาส ใช่ครับเลิกทาสในตอนนั้นทิเบตยังคงยึดติดตามคติชนชั้นอยู่ องค์ดาไลลามะเป็นประมุขสูงสุดของทั้งการเมืองและศาสนา และทาสก็ยังคงมีอยู่ทั้่วไปในทิเบต ส่วนทำไมถึงเข้ารุกรานทิเบตง่ายจัง ก็ต้องบอกว่าในตอนนั้นทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของจีนที่ยังมีสิทธิ์ในการปกครองตัวเองอยู่ คล้ายๆกับประเทศราชของจีนนั้นแหละ และทิเบตก็เป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงยังปกครองประเทศอยู่เลย

ทาสทิเบตที่ถูกตัดขา
     หลังการรุกรานทิเบตของจีนเกิดขึ้นได้ไม่นาน องค์ดาไลลามะและลามะชั้นสูงผู้ปกครองประเทศก็เตรียมที่จะหลบหนี เพราะรู้ว่าสู้ทหารจีนไม่ไหว แต่ทางการจีนได้ยื่นสนธิสัญญา 17 ข้อให้องค์ดาไลลามะพิจารณาดู ทางผู้นำระดับสูงเมื่ออ่านข้อตกลงในสนธิสัญญา 17 ข้อก็เห็นว่าไม่มีข้อไหนที่เสียเปรียบนัก แล้วเห็นว่าWinWinกันทั้งคู่ ทั้งดาไลลามะและลามะชั้นสูงเลยเดินทางกลับกรุงลาซา และเจรจากับทางผู้นำทหารจีน ก่อนจะลงนามยังเป็นทางการที่กรุงปักกิ่งในปี 1951

การลงนามในสนธิสัญญา 17 ข้อ ระหว่างทิเบตกับจีน
   โดยหลังการร่วมลงนามในสนธิสัญญานี้ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองทิเบตกับทางการจีนถือว่าดีตลอดมา แต่ในทางกลับกันชนชั้นล่างของทิเบตก็มักมีเรื่องกระทบกระทั่งกับทางการจีนนิดหน่อย โดยตลอดช่วงปี 1950-1959 มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลจีนมากมายโดยประชาชนและลามะบางส่วนจากการกดขี่ผู้คนชาวทิเบต และการเสียผลประโยชน์ของลามะชั้นสูงบางส่วน

ดาไลลามะองค์ที่ 14 (ขวาสุด) เข้าพบกับเหมา เจ๋อตุง
    จากกลุ่มประท้วงเล็กๆ ที่เกิดขึ้นยืดเยื้อมานนหลายปีในทิเบต ก็เริ่มเป็นกลุ่มกบฎใต้ดินที่แอบซ่อนตัวตามที่ต่างๆ ในขณะเดียวกันในตอนนั้นจีนก็ยังไม่ได้แทรกแทรงอิทธิพลของตนมากเกินไปซึ่งเป็นไปตามสนธิสัญญา 17 ข้อที่ทำไว้กับทิเบต เพียงแค่ทำการปฏิรูปเมืองชายขอบต่างๆ และเร่งรัดในการปลดปล่อยทาสที่ทิเบต แต่ในปี 1959 การประท้วงของประชาชนและลามะชั้นสูงเริ่มรุนแรงมากขึ้น จนเมื่อกองทัพจีนเชิญให้องค์ดาไลลามะเข้าร่วมชมงานแสดง และนิทรรศการที่กองทัพจีนจัดขึ้น โดยทั้งที่ดาไลลามะกับทางรัฐบาลจีนเคยไปมาหาสู่กันหลายต่อหลายครั้ง แต่ในปีนี้ผู้คนมากมายรวมทั้งกองกำลังติดอาวุธของชาวทิเบตได้ทำการปิดล้อมพระราชวังโนร์บูกลิงกา และพยายามต่อต้ายไม่ให้องค์ดาไลลามะเข้าร่วมงานที่กองทัพจีนจัดขึ้นเพราะเกรงว่า องค์ดาไลลามะจะถูกจับเป็นตัวประกัน ซึ่งจากสถานการณ์นี้ทำให้องค์ดาไลลามะโทรเลขหากองทัพจีนว่าขอเลื่อนกำหนดการ และจะพยายามควบคุมสถานการณ์ในทิเบตก่อน

พระราชวังโนร์บูกลิงกา
      การลุกฮือของประชาชนในลาซาเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มกบฎยังคงสนับสนุนดาไลลามะ และพยายามประท้วงต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน ว่ากันว่าในตอนนั้นผู้คนที่ทำการประท้วงในกรุงลาซามีไม่ต่ำกว่า 10,000 คน โดยเมื่อเหตุการณ์ยังคงยืดเยื้อวันที่ 17 มีนาคม ทางกองทัพจีนจึงจัดเตรียมกำลังพลเพื่อปราบผู้ประท้วง แถมยังเล็งปืนใหญ่หันหน้ามาทางพระราชวังอีกด้วย ซึ่งจากการกระทำนี้ทำให้ลามะชั้นสูงและที่ปรึกษาของดาไลลามะเสนอว่าควรหนีออกจากทิเบตก่อนที่จะเกิดเหตุกการณ์ที่เลวร้ายไปกว่านี้ แต่ในตอนนั้นองค์ดาไลลามะยังลังเลอยู่ แต่เมื่อกองทัพจีนเปิดฉากยิงสลายผู้ประท้วงหน้าพระราชวังโนร์บูกลิงกา ทำให้องค์ดาไลลามะตัดสินใจในทันทีว่าจะต้องอพยพออกจากทิเบต


     ในคืนของวันเดียวกัน องค์ดาไลลามะได้แอบเสด็จหนีออกมาจากพระราชวังโนร์บูกลิงกา พร้อมข้าราชบริพาลส่วนหนึ่งโดยการปลอมตัว โดยมีเป้าหมายไปที่อินเดีย โดยข่าวการหนีขององค์ดาไลลามะนี้ถูกปิดเป็นความลับนานถึง 2 วัน กว่าที่ทหารจีนจะรู้ว่าดาไลลามะจะเสด็จหนี ท่านก็อยู้ที่แนวชายแดนจีน-อินเดียซะแล้ว โดยอินเดียวางตัวเป็นกลางในเรื่องเกี่ยวกับทิเบต แต่ก็รับผู้อพยพและองค์ดาไลลามะที่ลี้ภัยจากทิเบตมาอยู่ที่อินเดีย โดยองค์ดาไลลามะก็ได้เข้าพบนายกอินเดีย ชวาหะร์ลาล เนห์รู เพื่อขอจัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นในอินเดีย และบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทิเบตในตอนนี้ แต่ก็มีเรื่องแปลกอยู่อย่างหนึ่งเหมือนกันว่าทำไมองค์ดาไลลามะต้องหนีมาด้วย ทั้งที่เหตุการณ์ชุมนุมเป็นเพราะผู้ประท้วงและประชาชนกับการปราบปรามทหารของชาวจีน และในบันทึกของจีนก็ไม่มีหลักฐานที่สามารถมัดตัวและโยงไปหาตัวดาไลลามะได้เลย แปลกใช่มั้ยละ

ชวาหะร์ลาล เนห์รู และ ดาไลลามะ องค์ที่ 14
      ในขณะเดียวกันในกรุงลาซา เขตการปกครองพิเศษทิเบต ทหารจีนเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงทั้งผู้ชาย ผู้หญิงและพระทิเบต มีผู้คนมากมายเสียชีวิตจากการปราบปรามของทหารจีนในครั้งนี้ โดยคาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตจากการกราดยิงและหยุดผู้ประท้วงในครั้งนี้ราว 85,000 - 87,000 คน และยังมีการจับกุมตัวแกนนำที่เป็นพระหลายคน เช่น ซาลอง ดาซาง ดรัมดง (Tsarong Dazang Dramdul) รวมถึงชนชั้นสูงและพระต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการจลาจลครั้งนี้อีกด้วย

ซาลอง ดาซาง ดรัมดง และคณะพระทิเบตถูควบคุมตัวโดยกองทัพจีน

     หลังเหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนในทิเบตหลักหลายอย่างเช่น
- ทิเบตไม่มีดาไลลามะ และลามะชั้นสูงในการปกครองอีกแล้ว
- การเลิกทาสอย่างถาวร รัฐบาลจีนปลดปล่อยทาสทิเบต
- การปฏิรูปที่ดินทั่วทิเบต 

 และหลังจากนั้นไม่นานกระแสการปฏิวัติวัฒนธรรมก็เริ่มแพร่เข้ามาในทิเบต มีการควบคุมศาสนาอย่างเข้มงวด รวมถึงวัฒนธรรมและเอกลักษณ์จำนวนมากก็ถูกสั่งห้าม นอกจากนี้วัดหลายแห่งก็ถูกทำลายไปด้วย ในขณะเดียวกันองค์ดาไลลามะ ที่ 14 ที่ลี้ภัยไปอยู่ที่อินเดียก็ตั้งรัฐบาลผลัดถิ่นขึ้น โดยใช้หลักอหิงสาแบบ คานธี เรียกร้องเอกราชให้กับทิเบตตั้งแต่ตอนนั้นมา

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ




ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ




สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)

อ้างอิง
ทิเบตภายใต้การปกครองของจีน. https://th.wikipedia.org
1959 Tibetan uprising. https://en.wikipedia.org
จีนประกาศ “วันเลิกทาสทิเบต”. https://mgronline.com
1959 Rebellion in Tibet. https://www.history.com
The 1959 Tibetan Uprising: Rebels with a Cause. http://www.phayul.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น