ค้นหาบล็อกนี้

25/6/61

โทกูงาวะ โยชิโนบุ โชกุนคนสุดท้ายแห่งดินแดนอาทิตย์อุทัย

      รัฐบาลบาคุฟุ หรือรัฐบาลของโชกุนของญี่ปุ่นนั้น มาอำนาจมากมายมาหลายร้อยปี โดยเริ่มต้นจากยุคเฮฮังมาจนถึงยุคเอโดะ แม้รัฐบาลยาคุฟุจะผ่านทั้งร้อนทั้งหนาวมายาวนานกว่า 300 ปี แต่ก็ต้องพบกลับจุดจบจากกระแสของโลก หลังจากที่ญ่ปุ่นถูกบังคับเปิดประเทศ รัฐบาลเอโดะบาคุฟุต้องเจอกลับวิกฤติอย่างหนัก และมีความพยายามฟื้นฟูอำนาจขององค์จักรพรรดิให้กลับคืนมา โทกูงาวะ โยชิโนะบุ โชกุนองค์ที่ 15 แห่งรัฐบาลเอโดะบาคุฟุ จึงพยายามทุกวิถีทางทั้งปฏิรูปและสงครามเพื่อให้การปกครองแบบโชกุนอยู่สืบไป แต่ว่ากระแสของโลกนั้นไม่ได้เข้าข้างโยชิโนบุ โยชิโนบุล้มเหลวในการฟื้นฟูสถานะของโชกุน และรัฐบาลโชกุนก็ล่มสลายไปด้วยเช่นกัน โทกูงาวะ โยชิโนบุ จึงกลายเป็นโชกุนองค์สุดท้ายของรัฐบาลเอโดะบาคุฟุและประเทศญี่ปุ่น และโยชิโนบุก็ไม่ได้หวนกลับมามีอำนาจอีกเลย



    โทกูงาวะ โยชิโนะบุ เกิดที่แคว้นมิโตะ เป็นโอรสของโทกุงาวะ นาริอากิ ไดเมียวแห่งแคว้นมิโตะ ซึ่งแคว้นนี้นับเป็น 1 ใน 3 สายตระกูลสำคัญของตระกูลโทกุงาวะ ที่มีมีสิทธิ์ที่จะได้รับเลือกให้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งโชกุนแห่งเอโดะบาคุฟุ โดยเข้ไม่ได้มีชื่อ โยชิโนะบุมาตั้งแต่เกิด โดยชื่อเดิมของเขาคือ  มัตซึไดระ ชิจิโรมะ ตั้งแต่เกิดมาชิจิโรมะได้รับการอบรมเลี้ยงดูให้นิยมการทหารอย่างเข้มงวด และเรียนวิชาอักษรศาสตร์และศิลปะการป้องกันตัว ตลอดจนถึงการศึกษาหลักวิชารัฐศาสตร์และการปกครองตามธรรมเนียมดั้งเดิม และได้เข้าเป็นบุตรบุญธรรมแห่งตระกูลฮิโตะสึบาชิ เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้ขึ้นเป็นโชกุนของเขา เพราะสายตระกูลฮิโตะสึบาชินั้นก็เป็นสายตระกูลที่สำคัยสายหนึ่งของโทกูงาวะ ที่มีสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นโชกุน ซึ่งโยชิโนะบุในวัยหนุ่มนั้นมีโอกาสที่จะได้เป็นโชกุนสูงมาก ทั้งฐานะและคุณสมบัติ
และการศึกษาที่ได้เรียนรู้สั่งสมมา พร้อมกระทั่งสุขภาพที่แข็งแรงผิดกับโชกุนในตระกูลโทกูงาวะคนอื่นๆ ในสมัยนั้นอย่าง โทกูงาวะ อิเอซะดะ ที่มีสุขภาพย่ำแย่และไร้โอรส ทำให้เขามีสิทธิ์ที่จะได้บัลลังก์โชกุนไว้ในครอบครอง

โยชิโนะบุในวัยเด็ก
      หลังจากที่อิเอซาดะเสียชีวิตโดยไร้ทายาท ทำให้ทางรัฐบาลบาคุฟุหาตัวคนที่จะขึ้นเป็นโชกุนคนต่อไป โดยการหาตัวในครั้งนี้มีผู้เหมาะสมกันอยู่ 2 คน นั่นก็คือ โยชิโนะบุและอิเอโมจิ ทำให้เกิดการแย่งชิงฐานะโชกุนขึ้น ซึ่งการแย่งชิงบัลลังก์โชกุนในครั้งนี้เป็นอะไรที่สำคัญมาก เพราะในขณะนั้นญี่ปุ่นกำลังโดนกองทัพเรือดำน้ำของสหรัฐปิดล้อมและบังคับให้เปิดประเทศ อีกทั้งการทำสนธิสัญญาการค้ากับตะวันตกโดยรัฐบาลบาคุฟุนั้นก็โดนต่อต้านจากผู้คนจำนวนมากที่รู้สึกว่า โทกูงาวะกำลังจะนำญี่ปุ่นไปเป็นลูกไล่ให้ตะวันตก จึงเกิดกระแสที่จะขอคืนอำนาจให้องค์จักรพรรดิ แล้วขับไล่ชาวตะวันตกออกไปจากญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าถ้าไม่รีบจัดการเรื่องนี้ญี่ปุ่นอาจจะล่มสลายก็เป็นได้

โทกูงาวะ อิเอโมจิ โชกุนคนที่ 14 แห่งรัฐบาลเอโดะบาคุฟุ
     การแก่งแย่งตำแหน่งโชกุนของทั้งสองคนจบลง โดยที่อิเอโมจิได้รับตำแหน่งเป็นโชกุนคนต่อไป จากการช่วยเหลือของ อีอิ นะโอะสุเกะ ที่ผลักดันทุกวิถีทางจนทำให้อิเอโมจิเป็นโชกุนคนต่อไป ส่วนโยชิโนะบุก็กลายมาเป็นผู้นำตระกูลโทกูงาวะคนต่อไป และมีบทบาทสำคัญในรัฐบาลรวมถึงแม่ทัพคนสำคัญของญี่ปุ่นอีกด้วย

 อีอิ นาโอสุเกะ ขุนนางคนสำคัญในสมัยอิเอโมจิ
         เนื่องด้วยอิเอโมจิได้รับตำแหน่งเป็นโชกุนตอนมีอายุเพียงแค่ 12 พรรษา ทำให้อำนาจของโชกุนตกไปอยุ่กับผู้สำเร็จราชการอย่าง อีอิ นาโอสุเกะ ผู้ผลักดันให้อิเอโมจิเป็นโชกุน โดยเขาได้เริ่มใช้นโยบายเปิดประเทศเพื่อลดความขัดแย้งกับชาติตะวันตก ซึ่งภายในชาติก็เห็นชอบด้วยเพราะถ้าไม่ชอบก็จะโดนรับบาลกำจัดเพราะ อีอิ นาโอสุเกะ เป็นขุนนางหัวรุนแรง การกวาดล้างผู้คนที่ไม่เห็นด้วยในครั้งนี้้เรียกว่า "การกวาดล้างปีอันเซ" ซึ่งผลจากการกวาดล้างในครั้งโยชิโนบุต้องถูกถอดฐานะทั้งหมดและถูกักตัวไว้ในบ้านของเขาตลอดการปกครองของ นาโอสุเกะ นอกจากนี้ด้วยผลจากการกวาดล้างปีอันเซ ทำให้ข้าราชการและเหล่าไดเมียวถูกปลดออกไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งในบรรดาผู้ถูกปลดออกจากตำแหน่ง  มีเจ้าแคว้นทางใต้รวมอยู่ด้วย เช่น แคว้นโทสะ แคว้นซะสึมะ แคว้นโชชู  บรรดาแคว้นเหล่านี้เคยเป็นศัตรูเก่าของรัฐบาลบะกุฟุอยู่ก่อนแล้ว  จึงรวมตัวต่อต้านรัฐบาลบะกุฟุและประกาศเจตนารมณ์ฟื้นฟูอำนาจจักรพรรดิ  รัฐบาลบาคุฟุจึงเริ่มทำการปราบปรามอย่างเด็ดขาด  โดยการจัดตั้งกองกำลังพิเศษ “ชินเซ็งกุมิ” แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก  ตรงกันข้ามกลับทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านมากขึ้นอีก จนกระทั้งทำให้เขาโดนลอบสังหารในปี ค.ศ.1860 หลังจากนั้นก็เกิดความว่นวายมากขึ้นจากการปะทะกันระหว่างรัฐบาลเอโดะบาคุฟุ ไดเมียวแห่งแคว้นต่างๆ และชาติตะวันตก ซึ่งเหตุการณ์ต่างๆในญี่ปุ่นได้เลวร้ายลงตั้งแต่ปี ค.ศ.1863 เป็นต้นมา รัฐบาลบาคุฟุต้องรับศึก 2 ด้าน เผชิญกับแรงกดดันจากการคืนอำนาจให้กับจักรพรรดิ และโชกุนที่มีสุขภาพที่ย่ำแย่และไร้ศักยภาพในการปกครอง โยชิโนบุพยายามเข้าสู่อำนาจอีกครั้งหลังจากที่ได้รับฐานะและการเป็นผู้นำตระกูลคืน ซึ่งมันไปประจวบเหมาะกับการที่อิเอโมจิสวรรคตอย่างกระทันหันในปี ค.ศ.1866 โยชิโนบุจึงได้รับตำแหน่งโชกุนแห่งเอโดะบาคุฟุคนที่ 15 ต่อในขณะที่แผ่นดินญี่ปุ่นได้ลุกเป็นไฟจากภัยสงคราม

โชกุนโทกูงาวะ โยชิโนบุ
     หลังจากที่โยชิโนบุ ขึ้นมาเป็นโชกุนแล้ว เขาได้ปฏิรูปรัฐบาลบาคุฟุ และปรับโครงสร้างของกองทัพโดยได้รับความช่วยเหลือจาก จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 และพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อหวังให้ประชาชนรู้สึกว่ารัฐบาลบาคุฟุเสริมสร้างความแข็งแกร่งและมั่นคงต่อประเทศ แต่ทว่าโยชิโนบุนั่นคิดผิด เพราะผลที่ได้จากจะดีกลับทำให้เรื่องมันเลวร้ายลง เพราะฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ยิ่งมองว่ารัฐบาลบาคุฟุว่ายอมจำนนต่อมหาอำนาจตะวันตกโดยสิ้นเชิง ในขณะที่ฝ่ายปฏิรูปนำโดยสองแคว้นใหญ่คือซัตสึมะและโจชู ก็มุ่งเชิดชูแนวคิด “ซนโนโจอิ”  คืนอำนาจให้องค์จักรพรรดิและขับไล่ชาวต่างชาติ ก็ได้ตกลงร่วมมือกันอย่างลับๆ เพื่อคืนอำนาจให้จักรพรรดิและล้มล้างระบอบโชกุน

คณะฑูตจากฝรั่งเศสที่โยชิโนบุ เชิญมาเพื่อปฏิรูป
       ปี ค.ศ.1866 โยชิโนบุตัดสินใจยกทัพบุกปราบแคว้นโจชูให้ได้โดยเด็ดขาด เป้าหมายสำคัญคือต้องการประกาศแสนยานุภาพทางทหารว่า รัฐบาลบากุฝุยังมีความเข้มแข็งสมควรเป็นผู้ปกครองประเทศอยู่เช่นเดิม สิ่งที่ทำให้โยชิโนบุมั่นใจว่าจะชนะศึกก็คือ ความช่วยเหลือทางทหารจากอเมริกาและฝรั่งเศส และยังสั่งให้คนจากซัตสึมะเข้าร่วมปราบโจชูด้วย แต่เวลานั้นซัตสึมะไปเข้ากับโจชูแล้ว จึงไม่ได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับรัฐบาล ในที่สุดกองทัพที่รัฐบาลบากุฝุภาคภูมิใจก็พบความปราชัยอย่างยับเยิน บรรดาทหารและขุนพลพ่ายศึกของรัฐบาลต้องเดินทางล่าถอยกลับเอโดะด้วยความอัปยศ ประชาชนแทบทุกระดับได้พบเห็นสภาพเช่นนั้น ตลอดสองข้างทาง เหตุการณ์นี้เป็นเสมือนฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้รัฐบาลบากุฝุต้องสูญเสียความชอบธรรมและข้ออ้างสุดท้ายในฐานะผู้เหมาะสมจะปกครองประเทศญี่ปุ่นไปโดยปริยาย ที่สำคัญคือผู้คนทั่วประเทศได้รับรู้กันถ้วยหน้า โยชิโนบุจึงตกอยู่ในสภาพหลังพิงฝาไปแล้ว ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ทำให้รัฐบาลบาคุฟุต้องทำตามข้อเสนอคืนอำนาจให้กับองค์จักรพรรดิ ซึ่งถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของระบอบโชกุนที่ปกครองประเทศมายาวนาน แต่เท่ากับยังพอช่วยรักษาสถานะของโทคุงาวะไว้ได้บ้าง ไม่ต้องตกไปอยู่ในสถานภาพผู้พ่ายแพ้สงครามหรือกลายเป็นอาชญากรแผ่นดินจนเกินไป

 
       หลังจากที่โยชิโนบุออกจากตำแหน่งโชกุนแล้ว แต่ฝ่ายกองทัพซัตสึมะและโจชูต่างก็ระแวงว่า ฝ่ายโยชิโนบุอาจจะเตรียมวางแผนการลับเพื่อหาทางช่วงชิงอำนาจกลับคืนมาก็เป็นได้ พวกเขาไม่เชื่อใจโยชิโนบุ และคิดว่าประกาศคืนอำนาจเป็นเพียงแผนการถ่วงเวลา อีกทั้งฝ่ายซัตสึมะโจชูก็มีความพร้อมที่จะทำสงครามเต็มที่อยู่แล้ว การไม่ได้เข้าทำศึกทั้งๆ ที่พวกเขามีศักยภาพมากพอที่จะชนะได้นั้น พวกเขาจึงได้ปลอมแปลงเอกสารลับขึ้นมา ว่าองค์จักรพรรดิสั่งให้ใช้ความรุนแรงในการกวาดล้างตระกูลโทกูงาวะ ในที่สุดฝ่ายโจชูก็ประกาศสงครามกับฝ่ายโทกูงาวะ โดยสงครามครั้งนี้ได้ถูกเรียกว่า สงครามโบะชิง

กองทัพของรัฐบาลโชกุนในปี ค.ศ. 1866
กองทัพสมัยใหม่ของรัฐบาลโชกุนในเวลานั้นปรากฏชัดว่ายังเป็นรองกองทัพของแคว้นโชชู
      เมื่อกองทัพโทกูงาวะมาถึงนอกเมืองเคียวโตะเพื่อจัดการทัพของแคว้นโจชู ขบวนทัพทั้งหมดได้ถูกยับยั้งไม่ให้เข้ามาในเขตพระนครหลวงและถูกโจมตีโดยทัพของซะสึมะและโจชู ทั้งสองเปิดฉากการปะทะกันครั้งแรกของสงครามโบะชิงในยุทธการโทะบะ-ฟุชิมิ แม้กำลังของฝ่ายโทกูงาวะจะเหนือกว่า แต่โยชิโนบุได้ละทิ้งกองทัพของตนท่ามกลางการต่อสู้เมื่อตระหนักว่าฝ่ายซะสึมะและโจชูต่อสู้ภายใต้ราชธวัชของพระจักรพรรดิ และหลบหนีไปยังนครเอะโดะ ซึ่งการกระทำในครั้งนี้ของโยชิโนบุได้ทำให้เขาสูญเสียความเชื่อถือไปมากและยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ฝ่ายตระกูลโทกูงาวะพ่ายแพ้อีกด้วย

 โทกูงาวะ โยชิโนบุ ได้ตัดสินใจละทิ้งปราสาทโอซะกะและหลบหนีกลับมายังนครเอะโดในยุทธการโทะบะ-ฟุชิมิ 
     หลังจากที่โยชิโนบุกลับมาที่นครเอโะแล้ว ก็ได้ส่งหนังสือยอมสวามิภักดิ์ถวายแก่พระจักรพรรดิ ข้อตกลงสันติภาพได้ถูกส่งมายังโยชิโนะบุผ่านทางทะยะสึ คะเมะโนะสุเกะ ประมุขผู้เยาว์แห่งสาขาหนึ่งของตระกูลโทกูงาวะ ผู้ซึ่งโยชิโนบุได้รับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมและแต่งตั้งให้เป็นประมุขของตระกูลโทกูงาวะ และในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1868 ปราสาทเอะโดะได้ถูกส่งมอบแก่กองทัพในสมเด็จพระจักรพรรดิ และเมืองเอะโดะทั้งเมืองได้ถูกเว้นจากการทำลายด้วยสงคราม ทำให้บทบาทของโยชิโนะบุในสงครามโบะชิงได้สิ้นสุดลง โดยหลังจากนั้นโยชิโนบุก็ได้กลับมาอยู่เอโดะตลอด โดยไม่ได้หวนคืนสู่อำนาจอีกเลย

ในช่วงชีวิตสุดท้าย โยชิโนบุมีความหวาดระแวงว่าตนจะโดนลอบสังหารมาตลอด เพราะยังมีผู้คนหลายฝ่ายที่ต้องการให้เขาตาย สุดท้ายแล้วในปี ค.ศ.1902 คัตสึ ไคชู ซึ่งได้ใช้ความพยายามอยู่หลายสิบปีช่วยวิ่งเต้นเจรจากับรัฐบาลใหม่ของคณะปฏิรูปก็สามารถทำให้องค์จักรพรรดิได้ยอมมีพระราชโองการอภัยโทษให้โยชิโนบุได้สำเร็จ สุดท้ายคนของตระกูลโตคุงาวะและผู้เกี่ยวข้องได้ฟื้นฟูสถานะกลับมาอีกครั้ง ตระกูลสาขาของโตคุงาวะก็ยังได้เข้าไปมีบทบาทในราชสำนัก โดยต้องปาวารนาตนว่าจะถวายชีวิตรับใช้บ้านเมืองและองค์จักรพรรดิ ทำให้โยชิโนบุได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ และทำงานอดิเรกเช่น เดินป่า ปั่นจักยานหรือถ่ายรูปได้อย่างอิสระ ก่อนที่จะจบชีวิตลงในปี 8 ปีต่อมา ในวันที่  24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 ในรัชสมัยของจักรพรรดิไทโช ขณะมีอายุได้  76 ปี โดยร่างของเขาได้รับการฝังไว้ที่สุสานยะนะคะ กรุงโตเกียว โดยท่านเป็นโชกุนคนสุดท้ายแห่งประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ปกครองประเทศอมายาวนานกว่า 300 ปี


ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ


ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ


สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0962566742 (ขอขอบพระคุณมากครับ)

อ้างอิง
โทกูงาวะ โยชิโนบุ(2561). จาก https://th.wikipedia.org
โชกุนคนสุดท้าย หนังหน้าไฟของโตคุงาวะ? โตคุงาวะ โยชิโนบุ(2560). จาก http://www.gypzyworld.com

โทกุงาวะ โยชิโนบุ โชกุนคนสุดท้ายแห่งยุคเอโดะ(2557). จาก http://www.soccersuck.com
100 ปีสุดท้ายของยุคเอโดะ และการล่มสลายของรัฐบาล"บะกุฟุ" กระทู้ Facebook ของคุณPasadon Wittaya-udom
Tokugawa Yoshinobu จากhttps://www.britannica.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น