ค้นหาบล็อกนี้

7/7/61

การปฏิวัติอิรัก โศกนาฏกรรมนองเลือดแห่งราชวงศ์ฮัชไมต์

       หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงไปนั้น ลัทธิชาตินิยมได้แผ่ขยายไปทั่วโลก พร้อมกันนั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ได้เริ่มรู้จักด้วยเช่นกัน ซึ่งจากผลของทั้งสองข้อนี้ ทำให้ประเทศหลายประเทศที่เคยมีกษัตริย์ปกครองอยู่เกิดการปฏิวัติ หรือสงครามกลางเมืองไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งประเทศอิรักก็เช่นกัน ราชวงศ์ฮัชไมต์ของอิรักก็ต้องพบเจอกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อิรัก ที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถปกครองอาณาจักรได้อีกต่อไป





   ในช่วงทศวรรศที่ 1950 สภาวะเศรฐกิจโลกตกต่ำอย่างมากซึ่งเป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศอิรักก็ได้รับผลจากสภาวะเศรฐกิจนี้เช่นกัน นอกจากเรื่องเศรฐกิจแล้ว เหล่านักชาตินิยมชาวแพน-อาหรับก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ โดยสภาวะเศรฐกิจที่ตกต่ำ นายกรัฐมนตรี นูรี อัล-ซะอีด พยายามแก้ปัญหาโดยการโน้มน้าวเหล่าบริษัทขายน้ำมันของเอกชนให้จ่ายส่วนแบ่งแก่รัฐบาลอิรัก ซึ่งการส่งออกน้ำมันของอิรักในตอนนั้น คิดเป็นร้อยละ 70 ของรายได้ส่งออกสินค้าของอิรักทั้งหมด นอกจากนี้ท่านนายกยังพยายามปฏิรูประบบโครงสร้างพื้นฐานและเศรฐกิจอย่างรัดกุมและรวดเร็ว แต่การปฏิรูปนี้ได้ถูกคัดค้านโดยมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ เพราะว่ามันดูสุดโต่งเกินไป แต่ทว่าปัญหาเรื่องลัทธิชาตินิยมภายในประเทศนั้นก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเด็ดขาด

ภาพถ่ายคู่องค์มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์(ซ้าย) กับนายกรัฐมนตรี นูรี อัล-ซะอีด (ขวา)
     นอกจากนี้ภัยคอมมิวนิสต์ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ ปัญหาหนึ่งของอิรักและชาติพันธมิตรอย่างอเมริกา ที่โซเวียตซึ่งเคยเป็นพันธมิตรกับอเมริกาด้านสงครามโลก พยายามแผ่ลัทธิคอมมิวนิสต์ไปทั่วโลก ซึ่งแถบอาหรับก็ได้รับผลนั้นไปด้วย ในที่สุดอังกฤษและอเมริกาก็ได้จัดตั้ง องค์การสนธิสัญญาตะวันออกกลาง หรือที่รู้จักกันทั่วๆไปก็คือ สนธิสัญญาแบกแดด เพื่อป้องกันและต่อต้านภัยของคอมมิวนิสต์ที่พยายามเผยแพร่เข้ามา โดยในสนธิสัญญานี้ประกอบไปด้วยประเทศ 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร,อิรัก,อิหร่าน,ตุรกีและปากีสถาน แต่ทว่าสนธิสัญญาควาตกลงนี้ทำให้เหล่าประชาชนที่เป็นฝ่ายชาตินิยมอิรักไม่ค่อยพอใจ จากการร่วมมือกับชาติตะวันตก ทำให้ประชาชนเริ่มเกิดความแคลงใจต่อ ทั้งฝ่ายพระมหากษัตริย์และนายกรัฐมนตรีเป็นจำนวนมาก

พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 และพระราชินีนาถเอลิซาเบทแห่งอังกฤษ 
     เหตุการณ์ทางการเมืองในอิรักเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นไปอีกหลัง ญะมาล อับดุนนาศิร ได้ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อียิปต์ จากการปฏิวัติอียิปต์ในปี 1952 และอับดุลนาศิรก็ผลักดันให้เหล่านักชาตินิยมในอาหรับเริ่มต่อต้านพวกชาติตะวันตก แม้นูรีจัพยายามออกนโยบายเพื่อผ่อนปรนความตึงเครียดจากเหตุการณ์ แต่ทว่าเหตุการณ์กลับไม่ดีขึ้นแม้แต่น้อย สถานการณ์ในอิรักในตอนนั้นก็คงต้องนับวันรอที่จะโดนการปฏิวัติ

เหตุการณ์ในการปฏิวัติอียิปต์

   ในปี 1958 ภาวะความตึงเครียดทางการเมืองของอิรักได้ทวีความรุนแรงขึ้นอีก จากการที่อียิปต์และซีเรียจับมือกันจัดตั้งสหสาธารณรัฐอาหรับ เพื่อต่อต้านพวกอเมริกาและชาติตะวันตกพร้อมด้วยสนับสนุนเหล่านักชาตินิยมสายแพน-อาหรับ ทำให้ทางอิรักต้องจับมือร่วมกับจอร์แดนซึ่งเป็นชาติพันธมิตรของอิรักที่ปกครองโดยราชวงศ์ฮัชไมต์เหมือนกัน ซึ่งทั้งสองได้จัดตั้งสหพันธรัฐอาหรับแห่งอิรักและจอร์แดน  เพื่อต่อต้านการรวมตัวกันของอียิปต์และซีเรีย ที่เป็นเหมือนเสี้ยนหนามที่มีผลต่อความมั่นคงของทั้งอิรักและจอร์แดน

พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก(ขวา)กับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน(ซ้าย)
โดยทั้งสองพระองค์ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเพื่อแสดงความเคารพต่อกันและกัน

    แต่ทว่าเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็ได้เกิดขึ้น ในช่วงเช้าเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1958 หลังจากที่จอร์แดนได้ขอให้ทหารอิรักมาช่วยสนับสนุนกำลังพลของตนในช่วงวิกฤติการณ์เลบานอน แต่พลลเอก อิบด์ อัล-คะริม กอซิม ผู้เป็นแม่ทัพได้ใช้โอกาสครั้งเดียวนี้ทำการปฏิวัติ โดยสั่งให้กองทัพที่จะเดินทัพไปยังจอร์แดนหันกลับมายังกรุงแบกแดดเพื่อทำการปฏิวัติ อีกด้านหนึ่งพันเอกอับดุล ซะลาม อะริฟ หนึ่งในแกนนำฝ่ายปฏิวัติ ได้เข้ายึดสถานีโทรทัศน์ในกรุงแบกแดด และได้ประกาศชวนเชื่อในการปฏิวัติ โดยมีความว่า
"....ล้มล้างจักรวรรดินิยมและกลุ่มพรรคพวกในคณะเจ้าหน้าที่ ประกาศสาธารณรัฐใหม่และจุดจบยุคสมัยเก่า.... ประกาศสภาชั่วคราวแห่งสามสมัชชาเพื่อรับรองอำนาจประธานาธิบดีและสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ต่อไป"
จากนั้นอารีฟได้ส่งกองทัพไปยังพระราชวังอัล-ราฮับ เพื่อคุมตัวพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 และพระบรมวงศานุวงศ์อิรักทั้งหมด เพื่อกองทัพของอารีฟมาถึงหน้าพระราชวัง พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 ได้สั่งให้เหล่าทหารมหาดเล็กวางอาวุธและยอมจำนนต่อทัพคณะปฏิวัติด้วยตนเอง เพื่อหวังว่าจะมีความประณีประณอมต่อกัน

พระราชวังอัล-ราฮับ สถานที่เกิดเหตุ
     แต่ว่าความหวังที่หริบหรี่ของพระองค์ก็ไม่เป็นจริง  เพราะว่าอิบด์ อัล-คะริม กอซิม ได้สั่งประหารชีวิตพระบรมวงศานุวงศ์อิรักทั้งหมด ทำให้ทั้งพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 ,มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์, เจ้าหญิงฮิยาม (พระชายาในมกุฎราชกุมารและเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์), สมเด็จพระราชินีนาฟิสซา บินต์ อัลอิละฮ์ (พระมารดาในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระอัยยิกาในกษัตริย์), เจ้าหญิงคะดิยะห์ อับดิยะห์ (พระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์)ถูกยิงสังหารทั้งหมด ถึงแม้พระเจ้าฟัยศ็อลจะไม่สิ้นพระชนม์ในทันที แต่ก็มาสวรรคตกลางทางก่อนที่พระองค์จะถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล เป็นอันสิ้นสุดการปกครองของราชวงศ์ฮัชไมต์อิรัก ที่ปกครองประเทศอิรักมา 37 ปี

เหล่าผู้นำในการปฏิวัติอิรัก พลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิม ยืนอยู่คนที่ 3 นับจากทางด้านซ้าย 
     หลังจากปลงพระชนม์หมู่เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์แล้ว นายกรัฐมนตรีนูรี อัล-ซะอีด ก็ตกเป็นเป้าหมายเหมือนกัน แต่ว่านูรีกลับหนีไปได้ ทำให้กาซิมประกาศว่าใครที่พบเห็นและแจ้งเบาะแสให้กับกาซิมได้ว่านูรีอยู่ที่ไหนจะได้รับเงินจำนวน 10000 ดินาร์ ในที่สุดนูรีก็ถูกจับได้ในวันที่ 15 กรกฎาคมเขาได้ถูกจับตที่เขตอัล-บัทตาวินในแบกแดดซึ่งพยายามหนีโดยปลอมตัวเป็นผู้หญิงสวมใส่อาบายา (ชุดคลุมยาวของสตรีอิสลาม) นูรีและผู้ติดตามได้ถูกยิงถึงแก่อสัญกรรมทันที พระศพของทั้งนูรีและมกุฏราชกุมารได้ถูกลากไปตามท้องถนน และถูกฉีกส่วนต่างๆของร่างกายออกเป็นชิ้นๆ ก่อนที่ร่างไร้วิญญาณของทั้งสองคนจะถูกเผาในที่สุด

สภาพศพของทั้งสองคน
โดยด้านซ้ายเป็นร่างของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ ส่วนขวาคือ นูรี อัล-ซะอีด
      หลังจากสังหารนูรีแล้ว ได้มีการนำข้าวของมีค่าภายในวังออกมาทำลายกลางท้องถนน นอกจากนี้ยังมีพวกม็อบหัวรุนแรงมาไล่ฆ่าชาวต่างชาติอย่างรุนแรง จนถึงขั้นที่กาซิมต้องประกาศเคอร์ฟิลเลยทีเดียว

ข้าวของในพระราชวังก่อนที่จะถูกทำลาย
   หลังการปฏิวัติในครั้งนี้อิรักถูกเข้าควบคุมแบบไตรภาคีภายใต้ "สภาปกครอง" ประกอบด้วยผู้แทนอิรักจากสามกลุ่มชาติพันธุ์หลัก และเหตุการณ์นี่ยังได้รับความสนใจอย่างมากไปทั่วทั้งตะวันออกกลางและอเมริกา อิรักได้ออกจาสนธิสัญญาแบกแดดและเริ่มจับมือกับสหภาพโซเวียตซึ่งมีแนวคิดคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้การปฏิวัติในครั้งนี้ยังส่งปลทำให้สถานะทางการเมืองอิรักขาดเสถียรภาพอย่างยิ่งไปจนกระทั่งอิรักถูกเข้าปกครองโดยพรรคบาธหลังการปฏิวัติเราะมะฎอนในปี 1963

ผู้คนในจอร์แดนดูรายงานข่าวเรื่องการปฏิวัติในอิรัก
    การปฏิวัติในอิรักครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะเหล่านักชาตินิยม ไม่พอใจกษัตริย์ที่มีส่วนร่วมและเข้าไปเกี่ยวพันกับพวกชาติตะวันตก ซึ่งประจวบเหมาะกับที่อับดุนนาศิรปฏิวัติอียิปต์ ทำให้กระแสการปฏิวัติขยายตัวขึ้นในตะวันออกกลาง จนในไปสู่เหตุการณ์โศกนาฏกรรมอย่างนี้ขึ้นนั่นเอง

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ



ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ



สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0962566742 (ขอขอบพระคุณมากครับ)

อ้างอิง
14 July Revolution(2561). จาก  https://en.wikipedia.org
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก(2560). จากhttps://th.wikipedia.org
The 14 July Revolution. จาก https://www.coldear1958.weebly.com
กระทู้พันทิป เจ้าหญิงผู้รอดชีวิตจากการปลงพระชนม์หมู่พระราชวงศ์อิรัก
เพจ Facebook ร้อยเรื่องราว ไปกับ เจ้าคุณปราบสุราพินาศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น