แม้ความสำเร็จจากชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่สองจะเป็นหนึ่งในผลงานสำคัญของวินสตัน เชอร์ชิล แต่อย่างไรก็ตามหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) กลับพ่านแพ้ในสนามการเลือกตั้งในปี 1945 ซึ่งนับเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของอังกฤษเลยทีเดียว แม้ในตอนก่อนการเลือกตั้งคะแนนนิยมของเขาจะเคยพุ่งแตะไปที่ 83 % แต่ถึงกระนั้นในช่วงเลือกตั้งพรรคแรงงานภายใต้การนำของเคลเมนต์ แอตต์ลี กลับแย่งเก้าอี สส. ได้ถึง 145 ที่นั่งและจัดตั้งรัฐบาลได้ในที่สุด
คำถามก็คือ??? อะไรคือสิ่งที่ทำให้เชอร์ชิลพ่ายแพ้แบบนี้
1. "การจำยอมสละ" นโยบายสำคัญก่อนช่วงสงคราม
แม้รัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยมจะมีชัยเหนือนาซีเยอรมัน แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหลังสงครามมีการพูดถึงอย่างเป็นวงกว้างถึงนโยบายที่พรรคนี้ดำเนินมาในช่วงก่อนสงครามอย่างการจำยอมสละ ที่ให้สิทธิประโยชน์ของพวกฟาซซิสต์ซึ่งเป็นศัตรูของอังกฤษ โดยในหนังสือ Gulity Man ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1940 ได้กล่าวถึงรัฐบาลของแชมเบอเรนว่าโอนอ่อนต่อฮิตเลอร์และเตรียมสัพกำลังได้ไม่ดีพอในช่วงของสงคราม แม้ในช่วงหนึ่งชื่อเสียงของรัฐบาลแชมเบอเรินจะได้รับกระแสดีอีกครั้งในช่วงที่จะประกาศสงครามกับยุโรป แต่ก็มาตกม้าตายเมื่อไปทำข้อตกลงที่มิวนิคกับฮิตเลอร์ในเรื่องของพื้นที่เช็คโกสโลวาเกีย แม้เชอร์ชิลจะไม่เห็นด้วยและเกิดวาทะอย่าง "พวกเราแพ้ตั้งแต่ยังไม่ทำสงคราม" แต่ในเรื่องนี้ก็ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนต่อพรรคอนุรักษ์นิยม
2. คอนเซเวทีฟให้ความสนใจเชอร์ชิลมากเกินไป
ในปี 1945 เชอร์ชิลประสบความสำเร็จในชัยชนะของสงคราม เขานำพรรคคอนเซเวทีฟให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนและพาประเทศมั่นคงจากภัยการเมืองต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ตามในช่วงหลังสงครามจบประชาชนกลับต้องมากังวลกับเรื่องภัยการเมืองและควมมั่นคงระหว่างประเทศที่เป็นงานถนัดของเชอร์ชิลว่าเขานั้นจะเน้นแต่สิ่งเหล่านี้จนไม่สนใจเรื่องอื่น อีกด้านหนึ่งตัวพรรคคอนเซเวทีฟเองก็กำลังเข้าสู่ยุคเสื่อมจากกรณีข้อ 1. ถึงกระนั้นพรรคก็ยังชูเชอร์ชิลขึ้นมาอีกรอบ แม้บารมีของเชอร์ชิลนั้นจะเป็นฮีโร่ที่พาอังกฤษชนะสงคราม แต่มันไม่พอที่จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเลือกมาแล้วจะฟื้นฟูอังกฤษได้
3. นโยบายที่ดีกว่า
เมื่อลองมาเทียบกันแล้ว พรรคแรงงานของเคลเมนต์ แอตต์ลี มีนโยบายที่ตอบสนองต่อประชาชนที่ดีกว่า โดยชูแผนพัฒนาอังกฤษที่มีทั้งสันติภาพและความเจริญ รวมทั้งเสนอให้มีแผนการปฏิรูปแรงงาน สิทธิแรงงาน และพัฒนาให้การว่างงานของอังกฤษต่ำลง รวมทั้งพัฒนาการแพทย์ให้ใช้ได้กับทุกคน ซึ่งทั้งหมดนี่ก็ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าสามารถเป็นจริงได้กว่า นโยบายซ้ำซากของพรรคอนุรักษ์นิยม
4. วาทะศิลป์ที่มุ่งร้าย
คำพูดของเชอร์ชิลนับเป็นตำนานของการกล่าวปราศรัยในหลายยุค แต่อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ได้การันตีว่าการปราศรัยนั้นจะประสบความสำเร็จ อย่างเช่นครั้งหนึ่งเขาเคยปราศรัยโจมตีไปยังคู่แข่งทางการเมืองของเขาเคลเมนต์ แอตต์ลีจากพรรคแรงงานในท่าทีเย้ยหยันในรูปแบบการดำเนินงานของพรรคเขา และนั่นกลายเป็นกระแสตีกลับที่ทำให้เขาถูกโจมตีเลยทีเดียว
แม้คำพูดของเชอร์ชิลจะไม่ได้ทำลายตัวเขาเองมากนัก แต่อย่างไรมันก็ทำให้ผู้คนหันไปให้ความสนใจแอตต์ลีมากขึ้น ก่อนที่เขาจะพูดแก้ต่างและกล่าวโจมตีเชอร์ชิลและพรรคคอนเซเวทีฟมากขึ้นว่าพวกเขาเป็นพรรคของชนชั้นสูง และพรรคแรงงานยังคงให้ความสำคัญกับชนชั้นแรงงานเป็นอันดับหนึ่ง
5. การคาดเดาทางการเมือง
รัฐบาลที่มีครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรที่คะแนนนิยมอาจจะตกลงมาได้เพราะผู้คนชอบการเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนอำนาจ แต่ก็ไม่คาดคิดเลยว่าคะแนนนิยมจะตกสวนทางกลับพรรคแรงงานได้ถึง 12% ในช่วงการเลือกตั้งครั้งนั้น จะเป็นการเปลี่ยนขั้วการเมืองที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของอังกฤษเลยทีเดียว
คำถามก็คือ??? อะไรคือสิ่งที่ทำให้เชอร์ชิลพ่ายแพ้แบบนี้
1. "การจำยอมสละ" นโยบายสำคัญก่อนช่วงสงคราม
แม้รัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยมจะมีชัยเหนือนาซีเยอรมัน แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหลังสงครามมีการพูดถึงอย่างเป็นวงกว้างถึงนโยบายที่พรรคนี้ดำเนินมาในช่วงก่อนสงครามอย่างการจำยอมสละ ที่ให้สิทธิประโยชน์ของพวกฟาซซิสต์ซึ่งเป็นศัตรูของอังกฤษ โดยในหนังสือ Gulity Man ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1940 ได้กล่าวถึงรัฐบาลของแชมเบอเรนว่าโอนอ่อนต่อฮิตเลอร์และเตรียมสัพกำลังได้ไม่ดีพอในช่วงของสงคราม แม้ในช่วงหนึ่งชื่อเสียงของรัฐบาลแชมเบอเรินจะได้รับกระแสดีอีกครั้งในช่วงที่จะประกาศสงครามกับยุโรป แต่ก็มาตกม้าตายเมื่อไปทำข้อตกลงที่มิวนิคกับฮิตเลอร์ในเรื่องของพื้นที่เช็คโกสโลวาเกีย แม้เชอร์ชิลจะไม่เห็นด้วยและเกิดวาทะอย่าง "พวกเราแพ้ตั้งแต่ยังไม่ทำสงคราม" แต่ในเรื่องนี้ก็ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนต่อพรรคอนุรักษ์นิยม
2. คอนเซเวทีฟให้ความสนใจเชอร์ชิลมากเกินไป
ในปี 1945 เชอร์ชิลประสบความสำเร็จในชัยชนะของสงคราม เขานำพรรคคอนเซเวทีฟให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนและพาประเทศมั่นคงจากภัยการเมืองต่างประเทศเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ตามในช่วงหลังสงครามจบประชาชนกลับต้องมากังวลกับเรื่องภัยการเมืองและควมมั่นคงระหว่างประเทศที่เป็นงานถนัดของเชอร์ชิลว่าเขานั้นจะเน้นแต่สิ่งเหล่านี้จนไม่สนใจเรื่องอื่น อีกด้านหนึ่งตัวพรรคคอนเซเวทีฟเองก็กำลังเข้าสู่ยุคเสื่อมจากกรณีข้อ 1. ถึงกระนั้นพรรคก็ยังชูเชอร์ชิลขึ้นมาอีกรอบ แม้บารมีของเชอร์ชิลนั้นจะเป็นฮีโร่ที่พาอังกฤษชนะสงคราม แต่มันไม่พอที่จะทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเลือกมาแล้วจะฟื้นฟูอังกฤษได้
3. นโยบายที่ดีกว่า
เมื่อลองมาเทียบกันแล้ว พรรคแรงงานของเคลเมนต์ แอตต์ลี มีนโยบายที่ตอบสนองต่อประชาชนที่ดีกว่า โดยชูแผนพัฒนาอังกฤษที่มีทั้งสันติภาพและความเจริญ รวมทั้งเสนอให้มีแผนการปฏิรูปแรงงาน สิทธิแรงงาน และพัฒนาให้การว่างงานของอังกฤษต่ำลง รวมทั้งพัฒนาการแพทย์ให้ใช้ได้กับทุกคน ซึ่งทั้งหมดนี่ก็ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าสามารถเป็นจริงได้กว่า นโยบายซ้ำซากของพรรคอนุรักษ์นิยม
4. วาทะศิลป์ที่มุ่งร้าย
คำพูดของเชอร์ชิลนับเป็นตำนานของการกล่าวปราศรัยในหลายยุค แต่อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ได้การันตีว่าการปราศรัยนั้นจะประสบความสำเร็จ อย่างเช่นครั้งหนึ่งเขาเคยปราศรัยโจมตีไปยังคู่แข่งทางการเมืองของเขาเคลเมนต์ แอตต์ลีจากพรรคแรงงานในท่าทีเย้ยหยันในรูปแบบการดำเนินงานของพรรคเขา และนั่นกลายเป็นกระแสตีกลับที่ทำให้เขาถูกโจมตีเลยทีเดียว
แม้คำพูดของเชอร์ชิลจะไม่ได้ทำลายตัวเขาเองมากนัก แต่อย่างไรมันก็ทำให้ผู้คนหันไปให้ความสนใจแอตต์ลีมากขึ้น ก่อนที่เขาจะพูดแก้ต่างและกล่าวโจมตีเชอร์ชิลและพรรคคอนเซเวทีฟมากขึ้นว่าพวกเขาเป็นพรรคของชนชั้นสูง และพรรคแรงงานยังคงให้ความสำคัญกับชนชั้นแรงงานเป็นอันดับหนึ่ง
5. การคาดเดาทางการเมือง
รัฐบาลที่มีครองอำนาจมาอย่างยาวนาน ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรที่คะแนนนิยมอาจจะตกลงมาได้เพราะผู้คนชอบการเปลี่ยนแปลงและการถ่ายโอนอำนาจ แต่ก็ไม่คาดคิดเลยว่าคะแนนนิยมจะตกสวนทางกลับพรรคแรงงานได้ถึง 12% ในช่วงการเลือกตั้งครั้งนั้น จะเป็นการเปลี่ยนขั้วการเมืองที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของอังกฤษเลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น