ค้นหาบล็อกนี้

30/4/62

ประชาธิปไตยแบบประเทศไทย ทำไมถึงชอบเผด็จการ

  นับตั้งแต่กลุ่มคณะราษฎรได้ยึดอำนาจพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 จากการปฏิวัติสยาม แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประเทศไทยก็เข้าสู่การปกครองโดยประชาชนเป็นใหญ่มากว่า 87 ปีแล้ว แต่ทว่าประชาธิปไตยที่ปกครองประเทศไทยมันก็เหมือนฉากบังหน้าเท่านั้น เพราะภายใต้ประชาธิปไตยที่คนในปัจจุบันเรียกมันว่าประชาธิปไตยแบบไทยๆ มันได้เกิดการรัฐประหารไปแล้ว 13 ครั้ง มีรัฐธรรมนุญกว่า 19 ฉบับ(รวมฉบับชั่วคราว) หรือพูดสั้นๆได้ว่า ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยบังหน้า เพื่อให้เผด็จการทหารมีความชอบธรรมในการปกครองประเทศ และนั่นก็ทำให้เกิดคำถามว่าคนไทยเข้าใจคำว่าประชาธิปไตยหรือเปล่า


  ซึ่งเรื่องที่คนไทยรู้จักคำว่า"ประชาธิปไตย"ดีพอหรือยัง คงต้องยอ้นกลับไปในสมัย ร.5 ในสมัยที่สยามกับญี่ปุ่นเริ่มปฏิรูปประเทศให้เจริญและทันสมัยพร้อมกัน แต่ทว่าญี่ปุ่นกับเจริญรุดหน้าเราไปหลายเท่า ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นกับสยามแตกต่างกันมากขนาดนี้ ส่วนนึงก็เป็นเพราะคำว่า"ประชาธิปไตย"เหมือกัน ซึ่งจากการปฏิรูปเมจิ จักรพรรดิเมจิส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกประเทศ ทั้งส่งชาวญี่ปุ่นไปเรียนเมืองนอก และส่งเสริมการสอนประชาธิปไตยให้กับชาวญี่ปุ่น ในขณะที่สยาม มีการส่งนักเรียนสยามไปเรียนยังตะวันตกเหมือนกัน แต่ว่าการส่งเสริมประชาธิปไตยให้คนไทยในสยามนั้นไม่ค่อยมี ประกอบกับสยามตอนนั้นยังไม่ได้รวมเป็นแผ่นดินเดียวกัน ยังมีเจ้าล้านนา เป็นเจ้าเมืองทางตอนเหนืออยู่ซึ่งนั้นเป็นอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตยให้กับไทย นั่นทำให้ ร.5 จึงฝากฝังกับพระราชโอรสอย่าง ร.6 ให้ของขวัญเป็นประชาธิปไตยให้กับชาวไทย

 เมืองจำลองดุสิตธานี
 ในสมัยของ ร.6 นั้นพระองค์ก็พยายามค่อยๆปรับประชาธิปไตยในสยาม มีการสร้างเมืองจำลองดุสิตธานีเพื่อทดลองการปกครองตามารูปแบบประชาธิปไตย แล้วส่งเสริมข้าราชการให้รูจักประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็ตามนั้นสิ่งที่พระองค์ลืมทำไปก็คือ การส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักแล้วเข้าใจประชาธิปไตย พร้อมกับมี่พระองค์ก็เริ่มมีแนวคิดที่ว่าระบบที่เกิดประโยชน์ของประเทศเขา ถ้านำมาใช้ในสยามอาจจะเกิดโทษได้ทำให้การปฏิรูปประชาธิปไตยค่อนข้างช้า และยาวมาจนสมัยของ ร.7 พระองค์พยายามที่จะมอบรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน แต่ติดปัญหาอย่างหนักหลายด้าน ทั้งประชาชนที่ยังไม่มีความรู้ในด้านประชาธิปไตยที่ดีพอ และเหล่าขุนนางข้าราชการระดับสูงก็คัดค้าน รวมถึงพระยากัลยาณไมตรีที่ปรึกษาด้านรัฐธรรมนูญชาวสหรัฐของพระองค์แล้วก็ตัวพระองค์เองก็เห็นด้วยวา สยามยังไม่พร้อมกับระบบผู้แทนและการมีรัฐธรรมนูญ  แต่อย่างไรก็ตามในสมัยของพระองค์นั้นแตกต่างกับสมัยของพระบิดาและพระเชษฐาอย่างสิ้นเชิงเนื่องด้วย
- นักเรียนทุนที่ถูกส่งไปเรียนยังเมืองนอกได้เดินทางกลับมาแล้ว
- ภาวะเศรษกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ทำให้นักเรียนที่กลับมาไม่ได้เข้ารับราชการ
- เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ทั่วโลก ทั้งการปฏิวัติซินไฮ่โค่นล้มระบบจักรพรรดิจีนและการปฏิวัติรัสเซียโค่นล้มระบบพระเจ้าซาร์
จากเหตุการณ์ทั้งหมด เมื่อ ร.7 ทรงไม่มอบรัฐธรรมนูญแก่สยาม ชาวสยามจึงต้องชิงรัฐธรรมนูญมาจากพระองค์ และนั่นก็ทำให้คณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 และเริ่มการสอนประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อรากฐานด้านการปกครองแบบประชาธิปไตยของสยามให้แข็งแรง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมอบรัฐธรรมมนูญฉบับแรกให้แก่สยามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475
 ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การศึกษาประชาธิปไตยเพิ่งจะเกิดขึ้นอย่างจริงจังแก่ประชาชนก็ตอนที่คณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว เพื่อให้คนไทยเข้าใจประชาธิปไตย และการปกครองในระบบผู้แทนนั่นเอง

แล้วทำไมเผด็จการยังครองเมืองอยู่ละ

คณะคสช.นำโดยพลเอกประยุทธ จันทร์โอชา
ยึดอำนาจรัฐบาลของ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557
 แม้คณะราษฎรผู้มอบประชาธิปไตยให้แก่สยามจะส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชน แต่อย่างไรก็ตามด้วยในช่วง 25 ปีหลังการปฏิวัติ(2475-2500) มีการรัฐประหารไปถึง 5 ครั้ง หรือเฉลี่ยคือ 5 ปีครั้ง มันได้สร้างความเคยชินให้กับชาวไทย และความคิดที่ว่าเลือกเลือกไปเหอะ เลือกเขาไปในสภามันก็เหมือกัน สิทธิและความรู้ของคำว่าประชาธิปไตยของชาวไทย กลับถูกมองผิด ประชาธิปไตยกลายเป็นของที่มองว่าต้องทำตามเสียงข้างมาก แต่ไม่เห็นด้วยการเสียงข้างน้อย มองเห็นการรัฐประหารว่าเป็นสิ่งดี ทั้งทีตามประชาธิปไตยแล้วมันเป็นสิ่งท่ผิดมหันต์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันส่งผลมายังปัจจุบัน เพราะความเคยชินเหล่านั้นทำให้ค่านิยมของคำว่าประชาธิปไตยเปลี่ยนไป เห็นได้ชัดจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลในช่วงปี 2556-2557 ที่มีการใช้อาวุธสงคราม การทำร้ายร่างกายกัน แทนสันติวิธี และการรัฐประหารที่เกิดขึ้นกลับถูกมองว่าเป็นเรื่องที่สมควรทำทั้งที่มันผิดต่อหลักของประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง แต่ประชาชนชาวไทยส่วนมากกลับไม่ได้มองว่าการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ผิด แต่กลับมองเป็นสิ่งที่ดีและยอมรับมัน

กลุ่มกปปส.ตั้งมั่นชุมนุมหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ขบวนรถถังหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมในการรัฐประหารปี 2549

  ซึ่งสิ่งสำคัญที่เหล่าเผด็จการเหล่านั้นต้องทำเพื่อไม่ให้ประชาชนส่วนมากต้องขึ้นมาลุกฮือต่อต้าน คือการปั่นหัวประชาชนให้หารเข้าใจประชาธิปไตยยากขึ้น และใช้ข้ออ้างว่าประเทศสงบเพื่อปกครองประเทศ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่ต้องให้เศรฐกิจภายในประเทศขับเคลื่อนไปได้ มิฉะนั้นต่อให้รักษาความสงบยังไงถ้าเศรฐกิจไม่กระเตื้องขึ้นประชาชนก็ต้องลุกฮือต่อต้าน

 และที่สำคัญกว่าสิ่งที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว นั่นก็คือการชักโยงบุคคลให้อุดมการณ์เปลี่ยนไป โดยยิ่งมีคนที่มีอุดมการณ์เหมือนกับรัฐบาลเผด็จการทหารมากเท่าไหร่ รัฐบาลทหารก็จะมีอำนาจเพิ่่มมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งที่มีพวกอุดมการณ์เหมือนรัฐบาลเผด็จการมากขึ้นเท่าไหร่ พวกคนนิยมประชาธิปไตยก็จะไม่สามารถเรียกร้องได้เต็มที่ และก็จะถูกฝ่ายเผด็จการทหารเข้าควบคุมและจับกุมเพื่อไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามอีกต่อไป รวมทั้งคนที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐบาลก็อาจจะโดนใส่ร้าย โดนจู่โจมจากฝ่ายรัฐบาลได้ ซึ่งเห็นได้ชัดในปัจจุบัน ด้วยวาทะสำคัญมากมาย ที่เป่าหูผู้คนได้มากกว่า 80% นั่นก็คือวาทะล้มเจ้า ซ้ายจัดดัดจริต ประชาธิปไตยแบบไทยๆ และความสงบในรัฐบาลทหาร

แล้วคนไทยไม่เคยมาเรียกร้องประชาธิปไตยเหรอ 
  แต่อย่างไรก็ตาม คนไทยก็ไม่ได้ไม่เข้าใจคำว่าประชาธิปไตยถึงขั้นที่จะเอาเผด็จการมาครองเมืองตลอด แต่ก็มีบางช่วงในประวัติศาสตร์ที่ประชาธิปไตยบูม และการลุกฮือต่อต้านของประชาชนและคนรุ่นใหม่ของแต่ละยุค อย่างที่สำคัญที่สุดก็เหตุการณ์ 14 ตุลา ที่เหล่านิสิต นักศึกษาออกมาเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยจากรัฐบาลเผด็จการจอมพลถนอม กิตติขจร ที่สืบอำนาจทหารมาตั้งแต่สมัยของจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์และจอมพล ป.พิบูลสงคราม

เหล่านิสิต นักศึกษารวมตัวกันหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อต้อต้านรัฐบาลผด็จการทหารในเหตุการณ์ 14 ตุลา
   และอีกครั้งในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ประชาชนจำนวนมากการขึ้นสู่อำนาจของพลเอกสุจินดา คราประยูร ที่เห็นว่าไม่เป็นไปตามกลไกของระบบประชาธิปไตย และเพื่อการหยุดการสืบทอดอำนาจของทหารหลังการรัฐประหารรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ.2534 ซึ่งเหตุการณ์ชุมนุมในครั้งนี้ส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อรัฐบาล และในที่สุดรัฐบาลของพลเอกสุจินดาก็ต้องลาออก และประเทศไทยก็ได้มีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนได้รับผลมากที่สุดในบรรดรัฐธรรมนูญทั้งหมดที่ไทยเคยมีมา

ประชาชนออกมาประท้วงต่อต้านรัฐบาลในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเรียกพลเอกสุจินดา คราประยูร และพลโทจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า

  แต่อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องประชาธิปไตยของทั้งสองเหตุการณ์โดยชาวไทยที่แสวงหาประชาธิปไตยในประเทศไทยนั้น มันประสบผลสำเร็จแค่ช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น ความหวังที่ต้องการให้ไทยเป็นชาติประชาธิปไตยหลังการเรียกร้องคงยาก เพราะการศึกษาและความเข้าใจด้านประชาธิปไตยของคนไทยนั้นไม่ได้พยายามรักษาสิทธิ์ของตน แต่ให้คณะรัฐประหารสามารถล้มรัฐบาลพลเรือนได้หลายต่อหลายครั้ง เห็นได้ชัดหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ก็เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในช่วงปี 2519 โดยอ้างถึงความที่รัฐบาลควบคุมเหตุการณ์ 6 ตุลาไม่ได้ และเกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งในปี 2520 โดยตณะรัฐประหารชุดเดิมกับตอนที่ทำรัฐประหารไปในปี 2519

  ส่วนในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬนั้นหลังเกิดเหตุการณ์ ไทยเราก็เข้าสู่การปกครองที่เรียกได้เลยว่าเป็นการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในช่วง 10 ปีหลังการเกิดพฤษภาทมิฬทหารไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง  แต่อย่างไรก็ตามเมื่อนายทักษิณ ชินวัตรโดนกลุ่มทหารที่เรียกตัวเองว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข(คปค.)ยึดอำนาจในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ระบบประชาธิปไตยของไทยที่มั่นคงมา 10 กว่าปีก็สั่นคลอนลง และตามด้วยการจลาจลและความวุ่นวายไปจนถึงปี 2557

ผู้บัญชาการเหล่าทัพร่วมกันแถลงการผ่านโทรทัศน์ร่วมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยในการรัฐประหารปี 2549

ความเสียหายที่เซ็นทรันเวิลด์หลังการประท้วงในปี 2553
ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับเผด็จการของคนไทย
   นับเป็นอีกหนึ่งเหตุผลหลักสำคัญอีกอย่างเลยก็ว่าได้ ที่ทำให้เผด็จการยังคงตามหลอกหลอนคนไทยตลอดเวลา นั่นก็คือความเชื่อความเข้าใจผิดของคนไทยที่มีต่อระบบเผด็จการ โดยคนไทยส่วนมากคิดว่าการที่เผด็จการครองเมืองแล้วบ้านเมืองมันสงบ แล้วเศรฐกิจมันก็ไม่ได้ถดถอยลงอีก ทำไใเผด็จการจะครองเมืองไม่ได้ละ และนั่นแหละคือเหตุผลที่ทำให้เผด็จการยังคงวนเวียนกับประเทศไทยอยู่ เพราะความเข้าใจผิดถึงคำว่าบ้านเมืองสงบ สงบแบบไม่มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ถ้าจะลองยกตัวอย่างดู ก็คงแบบทำไมคนที่อยากให้บ้านเมืองสงบถึงไม่ชอบเกาหลีเหนือละ ที่นั่นเผด็จการปกครองให้บ้านเมืองสงบไม่ใช่เหรอ ก็รู้ๆอยู่ว่ามันสงบแบบเกาหลีเหนือ กับสงบแบบชาติสแกดิเนเวียมันแตกต่างกันนะ และอีกอย่างคือการเจริญเติบโตของเศรฐกิจที่บอกกันว่าต่อให้เผด็จการมันครองเมืองเศรฐกิจมันก็ดีนั่นแหละ ใช่ครับ ต่อให้เผด็จการครองเมืองไทยอย่างที่กล่าวข้างต้น เศรฐกิจมันดีขึ้นอยู่แล้ว แต่ช่วยคิดกันต่อด้วยนะว่าระหว่างทหารกับคนมีความสามารถใครมันจะพาเศรฐกิจไทยเจริญได้มากกว่ากัน ไม่ใช่เศรฐกิจไทยเจริญเพราะเผด็จการ แต่เพราะเผด็จการทำให้เศรษฐกิจเราเติบโตช้ากว่าที่ควรจะเป็น

และที่สำคัญสำหรับคนที่ถูกเผด็จการปั่นหัว มักจะเอาเผด็จการไทยไปเทียบกับ ลี กวน ยูประธานาธิบดีของสิงคโปร์ ผู้พาสิงคโปร์เจริญรุดหน้าไทยไปหลายต่อหลายเท่า ว่าเขาก็เป็นเผด็จการเหมือนกัน แต่ก็นะช่วยคิดเรื่องแบบนี้ก่อนที่จะเชื่อกันด้วยนะ เพราะลีกวนยูไม่ได้ยึดอำนาจใครเข้ามา แต่เลือกตั้งเข้ามา และนโยบายของเขามันใช้ได้จริงและได้ใจประชาชน นั่นก็ทำให้ลีกวนยูได้เป็นประธานาธิบดีหลายสมัย หรืออาจเป็นเผด็จการรัฐสภาก็ได้ ในขณะที่ของไทยที่เอาไปเทียบกับสิงคโปร์กลับยึดอำนาจเข้ามา แตกต่างกันเห็นๆ แต่ก็ไม่เข้าใว่าทำไมคนไทยบางส่วนถึงยังคงเชื่อในความเชื่อผิดๆนี้

 เผด็จการไทยควรจะเอาไปเทียบกับเผด็จการรอบข้างประเทศมากกว่า โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสุดๆก็คือ เน วินผู้นำเผด็จการพม่า ผู้เปลี่ยนพม่าจากชาติที่อุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรไปเป็นฤๅษีแห่งเอเชีย พาพม่าเป็นหนึ่งในชาติที่ยากจนที่สุดในโลก หรือ พล พต ลน นล หรือสมเด็จฮุนเซ็นที่ยังทำให้กัมพูชายังเทียบไทยไม่ติดไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี โดยเฉพาะช่วงการปกครองของ พล พต หรือสมัยของเขมรแดงที่เรียกได้ว่าเป็นตัวหยุดความเจริญของกัมพูชาให้ยังคงยืนนิ่งอยู่กับที่อยู่นั่นเอง

ลี กวน ยู อดีตผู้นำสิงคโปร์

สมเด็จฮุนเซ็นนายกกัมพูชาที่ปกครองประเทศมากว่า 30 ปีแล้ว
 จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ชัดเลยว่า ที่เผด็จการทหารชอบอยู่กับประชาธิปไตยแบบไทยๆได้นั้น มันก็เป็นเพราะความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับทั้งเผด็จการและประชาธิปไตยของคนไทย และการเอาเผด็จการทหารบ้านเราไปเปรียบกับเผด็จการพรรคการเมืองของประเทศที่เจริญแล้วก็ยิ่งสร้างความเชื่อทีผิดพลาดไปกันใหญ่ เพราะแทนที่จะมองประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงเราจากในเอเชียทั้ง พม่าหรือกัมพูชา ที่ผลของเผด็จการทำอะไรไว้ให้กับประเทศเหล่านั้นเพื่อเตือนใจ แต่เรากลับมองเอาประเทศที่พัฒนาแล้วแล้วบอกพวกเราว่าที่ประเทศเหล่านั้นเจริญได้ก็เพราะเผด็จการ แต่ที่ประเทศเหล่านั้นสามารถเจริญและพัฒนาได้ส่วนนึงก็เพราะประชาชนด้วย ประชาชนเหล่านั้นทำในสิ่งที่ตัวเองต้องทำเพื่อทั้งตัวเองและประเทศชาติ ไม่ออกมาประท้วงรัฐบาล หรือทำลายสถานที่สำคัญต่างๆเพื่อต่อต้านรัฐบาล แต่ทำในสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง เพราะฉะนั้นเมื่อหันกลับมามองไทย ถ้าเรายอมรับรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งได้ และทำในหน้าที่ของตัวเอง ไม่ออกมาทำลายข้าวของเพื่อต่อต้านรัฐบาลพลเรือนหรือออกมาทะเลาะกัน แบ่งแยกคนไทยกันเพราะอุดมการณ์ทางการเมือง เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ทหารจะใช้ข้ออ้างในการยึดอำนาจรัฐบาล และจะทำให้เผด็จการทหารจะยังคงครองไทยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เพราะฉะนั้น ถ้าจะหยุดการปกครองของทหารในไทย คนไทยในชาติทั้งหมดต้องเลิกทะเลาะกัน และยอมรับในเสียงข้างมากที่ประชาชนยอมรับมา แล้วอย่าลืมเคารพเสียงข้างน้อยของประชาชนด้วย

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ




ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ





สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)

อ้างอิง
‘ทำไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย’ งานวิจัยชิ้นใหม่ของ ประจักษ์ ก้องกีรติ. จากhttps://themomentum.com
85 ปีปฏิวัติสยาม: มองนิยาม “ประชาธิปไตย” ผ่านอนุสาวรีย์ฯ. จากhttps://www.bbc.com
85 ปี ปฏิวัติสยาม: ประวัติศาสตร์ที่ “ต้องจัดการ”. จากhttps://www.bbc.com
85 ปี รัฐธรรมนูญไทย เมื่อไหร่จะหยุดรัฐประหารได้. จากhttps://www.bbc.com
ดิอิโคโนมิสต์: ทำไมไทยจึงเปลี่ยนรัฐธรรมนูญอยู่บ่อยๆ.จากhttps://prachatai.com
ประชาธิปไตยที่ชิงสุกก่อนห่าม. จากhttps://mgronline.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น