ค้นหาบล็อกนี้

11/12/61

ยุทธการที่นานกิง เหตุการณ์ก่อนการสังหารหมู่อันโหดร้าย



ในปี ค.ศ.1937 สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 อุบัติขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยในตอนแรกนั้นทางรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามจำกัดวงในการรบและพยายามเจรจาในการชิงพื้นที่และรีดเอาประโยชน์จากจีนมากกว่า แต่ทางรัฐบาลจีนไม่ยินยอมตามการกระทำของญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากการเกิดยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนแผนจากเดิมมาเป็นการยึดกรุงนานกิง อันเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีนเพื่อจบสงครามแทน

ทหารญี่ปุ่นในยุทธการเซี่่ยงไฮ้
  หลังยุทธการเซี่ยงไฮ้จบลงในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1937 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นแต่งตั้งนายพลมัตสึอิ อิวาเนะ เป็นผู้บัญชาการใหญ่เตรียมการบุกนานกิงต่อ โดยก่อนที่กองทัพญี่ปุ่นจะบุกตีเมืองนานกิงเต็มรูปแบบ นายพลอาวุโสหลี่ซงเหรินคิดว่าการวางกำลังที่นานกิงจะทำให้เกิดการสูญเสียเปล่าๆ เขาจึงประกาศเปิดเมืองขณะเดียวกันทหารก็ได้รับคำสั่งทำลายทุกสิ่งที่ญี่ปุ่นสามารถใช้ได้หลังจากที่เมืองถูกยึด นายพลอาวุโสไป่ชงซีและที่ปรึกษาพลโทอเล็กซานเดอร์ วอน ไฟล์คเฮาส์เซนจากกองทัพเยอรมนีสนับสนุนแผนของนายพลลี่ที่คิดว่าการสละเมืองเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่นายพลเจียงไคเซก สั่งให้ทหารจีนสู่กับญี่ปุ่นปกป้องเมืองจนตัวตาย โดยท่านอ้างว่าการสละเมืองอาจทำให้ขวัญกำลังใจของชาวจีนนั่นหายไป และนำไปสู่ความหวาดกลัวญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังรวมถึงภาพลักษณ์ของจีนต่อนาาชาติที่อาจจะหายไปอีกด้วย ซึ่งด้วยเหตุนี้เองทหารกว่า 100,000 คนของพลเอกอาวุโสถังเฉิงจื้อ ตรึงกำลังรักษาเมืองเอาไว้ ซึ่งเหมือนจะดีถ้าทหารเหล่านั้นไม่ใช่ทหารมือใหม่ที่ไร้ประสบการณ์ไปครึ่งนึงซะก่อน

นายพลมัตสึอิ อิวาเนะ ผบ.ทหารญี่ปุ่นในการรบที่นานกิง

พลเอกอาวุโสถัง เฉิงจื้อ ผู้นำทหารในการป้องกันนานกิง
    จำนวนผู้อพยพเข้ามาภายในนานกิงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังกองทัพญี่ปุ่นเริ่มทำลายแนวป้องกันต่างๆ และประชิดเมืองนานกิงเข้าทุกที พลเอกถังพยายามเจรจากับเจียงให้เปิดเมืองและทำการเจรจากับญี่ปุ่นวึ่งแน่นอนว่าล้มเหลว
    ต่อมาในวันที่ 1 ธันวาคม รัฐบาลจีนได้ย้ายเมืองหลวงจากนานกิงไปอยู่ที่ฉงชิ่ง ผู้นำรัฐบาลที่สำคัญของจีนได้ย้ายหนีไปอยู่ที่ฉงชิ่งหมด เว้นแต่เจียง ไคเซกที่ยังคงอยู่ที่นานกิงต่อไปจนถึงวันที 7 ธันวาคม ซึ่งการย้ายเมืองของรับบาลจีนแบบนี้สร้างความตื่นตระหนกไปทั่ว เหล่าประชาชนบางส่วนหนีออกจากเมืองเพื่อเอาตัวรอด แต่บางส่วนก็ยังคงอยู่ที่นานกิงตามเดิมโดยหวังว่าเมืองจะรอดจากการโจมตีของทหารญี่ปุ่น

เจียง ไคเซก

 9 ธันวาคม ค.ศ.1937 กองทัพญี่ปุ่นเข้าประชิดกำแพงเมืองเก่านานกิงและล้อมเมืองนานกิงเอาไว้ จอมพลมัตสึอิ อิวาเนะ ผบ.กองทัพในการบุกนานกิงสั่งให้ทหารปล่อยแผ่นพับเหนือเมือง โดยมีใจความให้ยอมจำนนภายใน 24 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้นกองกำลังเต็มรุปแบบจะกระหน่ำโจมตีเมืองนานกิงโดยทันที พลเอกถังเฉิงจื้อปฏิเสธข้อเสนอต่อหน้าสาธารณะ แต่โดยส่วนตัวแล้วเขาเรียกร้องให้ชาวต่างชาติที่มีเครือข่ายระหว่างประเทศในนานกิงเจรจาต่อรองเพื่อหยุดยิง แต่การเจรจาดังกล่าวต้องรอการอนุมัติของเจียงไคเช็ก ซึ่งแน่นอนว่าเจียงปฏิเสธการเจรจาหยุดยิงกับญี่ปุ่น เป็นผลให้เมื่อถึงเวลาเส้นตายในวันที 10 ธันวาคม กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มการโจมตีเต็มรูปแบบใส่เมืองนานกิงในทันที


    การต่อสู้เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นอีกตั้งแต่วันที่ 10 เป็นต้นมา กองพลที่ 9 แห่งกรมทหารราบที่ 36 โจมตีประตูกวนฮวาอย่างหนักซึ่งที่นั่นเป็นที่มั่นของทหารจีนที่ไร้ประสบการณ์อยู่มาก ในช่วงบ่ายกำลังทหารจีนที่ประตูกวนฮวาเพิ่มขึ้นเป็น 1,000 นาย ป้อมปืนกลคอนกรีต รถถังเล็ก ปืนใหญ่ถูกนำมาเสริมเพื่อต่อต้านกองกำลังของญี่ปุ่นที่บุกเข้ามา ซึ่งในช่วงแรกฝ่ายญี่ปุ่นต้องล่าถอยไป แต่ไม่นานหลังจากนั้นด้วยอาวุธที่มีอานุภาพทำลายมากกว่าฝ่ายจีนที่ตั้งมั่นเหนือประตูกวนฮวากลับเสียเปรียบซะเอง

  วันที่ 12 ธันวาคม พลเอกถังเฉิงจื้อและทหารเล็กส่วนหนึ่ง ออกจากเมืองโดยพายเรือข้ามแม่น้ำแยงซี โดยทิ้งให้ทหารที่เหลือต่อสู้ป้องกันอยู่ในเมือง หลังมติในที่ประชุมายในกองพลที่กองบัญชาการว่าไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ ซึ่งหลังจากที่พลเอกอาวุโสหนีไปแล้วบริเวณประตูยี่เจียงเป็นประตูเดียวที่อยู่ในการควบคุมของจีน มีการเสริทกำลังพลอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น ทหารบางคนสู้อย่างสุดความสามารถแต่ก็ไม่สามารถช่วยป้องกันญี่ปุ่นได้ ซึ่งก่อนที่ประตูยี่เจียงจะแตกนั้น ด้วยความที่ไม่มีผู้บัญชาการทหารแล้วทหารบางคนก็หนีทัพเพื่อเอาชีวิตรอด ทั้งทิ้งเครื่องแบบปะปนไปกับฝูงชน หรือแม้แต่พยายามปีนประตูหนีกันเลยทีเดียว



   ในที่สุดความพยายามในการป้องกันเมืองนานกิงก็จบลงในวันที่ 13 ธันวาคม เมือ่ประตูจงซานและประตูไท่ผิงถูกญี่ปุ่นยึดอย่างสมบูรณ์ ขณะที่กองเรือญี่ปุ่นก็เริ่มเข้ามาเพื่อให้การสนับสนุนการรบตามแม่น้ำแยงซี ยอน ราเบอนักธุรกิจชาวเยอรมันซี่งอยู่ในนานกิงบันทึกไดอารี่วันนี้ว่า"เราไม่รู้อะไรทั้งสิ้นจนกระทั่งเราเดินดูรอบเมืองซึ่งเราก็พบกับแต่การทำลายล้าง มีศพคนตายทุกๆ 100 - 200 หลา ศพของชาวบ้านคนหนึ่งที่ผมตรวจสอบพบว่ามีรอยกระสุนอยู่ที่หลัง สันนิษฐานว่าผู้คนเหล่านี้กำลังหนีและถูกยิงจากด้านหลัง ทหารญี่ปุ่นสิบถึงยี่สิบคนเดินทัพเข้ามาในเมืองและปล้นสะดมร้านค้า ผมเห็นกับตาตัวเองว่าทหารญี่ปุ่นปล้นร้านขนมปังของเฮอร์ คีสส์ลิง โรมแรมของเฮมเปลล์ถูกบุกเข้าไปเหมือนกันเช่นเดียวกับทุกร้านค้าในถนนชุงชางและไท่ผิง" ในวันนี้ทหารของกองพลที่ 16 ของจักรวรรดิญี่ปุ่นสังหารคนประมาณ 3,000 คนซึ่งเป็นทหารและประชาชนที่พยายามหนีการสู้รบใกล้บริเวณกวนเจียงอันและเจียงลี่ในนานกิง กองเรือเฉพาะกิจที่ 11 และกองเรือที่ 3 ของจักรวรรดิญี่ปุ่นยิงชาวจีนที่หนีข้ามแม่น้ำแยงซีประตูเมืองต่างๆเริ่มแตก และทหารญี่ปุ่นก็เริ่มเข้ามาภายในเมืองและสังหารประชาชนที่ทำการต่อต้าน ก่อนที่อีกไม่นานหลังจากนั้นญี่ปุ่นได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า "นานกิงถูกญี่ปุ่นยึดครองแล้ว"


นายพลมัตสึอิ อิวาเนะสวนสนามหลังยึดนานกิงได้
  หลังจากนานกิงถูกยึดครอง สงครามก็ไม่ได้จบลงและยังคงดำเนินต่อไป แต่การที่นานกิงถูกยึดครองนี้ มันเป็นสิ่งที่เกิดโศกนาฎกรรมอันเลวร้ายที่สุดครั้งนึงที่โลกเคยมีมา และมันยังคงเป็นสิ่งที่ชาวจีนไม่เคยลืมว่าพวกทหารญี่ปุ่นเคนทำอะไรไว้กับประชาชนในนานกิงบ้างนั่นเอง

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ



ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ




สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)


อ้างอิง
Battle of Nanjing and the Rape of Nanjing https://ww2db.com/battle_spec.php?battle_id=38
ยุทธการที่นานกิง https://th.wikipedia.org
มองมุมกลับ !! ความโหดร้ายของญี่ปุ่นในอดีต ที่เป็นเหตุให้คนจีนและเกาหลีเกลียดคนญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้ https://www.scholarship.in.th
ยุทธการนานกิงและโศกนาฏกรรมนานกิง http://wwiirazer.blogspot.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น