9/10/61

ยุทธการโอกินาวะ ปฏิบัติการเตรียมบุกเข้าเกาะญี่ปุ่น

 



     26 มีนาคม ปีค.ศ.1945 กองทัพสหรัฐมีชัยเหนือญี่ปุ่นในเกาะอิโวจิมาได้ ทำให้กองกำลังสหรัฐเข้ามาประชิดเกาะญี่ปุ่นเข้าทุกที สหรัฐมีแผนและปฏิบัติการที่จะเข้าไปยังตัวเกาะญี่ปุ่นโดยเริ่มจากเกาะโอกินาวา โดยกองเรือที่ 5 ของสหรัฐได้เริ่มเข้าประชิดตัวเกาะโอกินาวาตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 1945 และเริ่มเปิดฉากยิงปินใหญ่ไปตามแนวชายหาดต่างๆ เพื่อเตรียมให้กองพลที่ 10 ยกพลขึ้นบกที่เกาะโอกินาวาให้ได้
ภาพแผนที่จำลองเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุทธการโอกินาวา
  ทางฝั่งญี่ปุ่นเองก็เตรียมรับมือสหรัฐเช่นกัน เพราะรู้ว่าไม่ว่าจะช้าหรือเร็วยังไงสหรัฐก็ต้องมาบุกญี่ปุ่น และมีข่าวกรองญี่ปุนรายงานว่าสหรัฐจะใช้โอกินาวาเป็นฐานทัพหลักในการบุกตัวเกาะญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นส่งกองพลที่ 32 เข้าไปประจำการในโอกินาวา นอกจากนี้ยังมีการเกณฑ์คนพื้นเมืองรวมถึงแรงงานจากเกาหลีเข้ากองทัพไปทำหน้าที่ต่างๆ เช่นนักเรียนมัธยมต้นชายที่ถูกเกณฑ์เข้าเทคเคตสึคินโนไทที่ประจำการอยู่แนวหน้าในสนามรบ และนักเรียนหญิงจากโรงเรียนฮิเมยูริ ถูกเกณฑ์เข้าหน่วยพยาบาล โดยคาดการณ์ว่าญี่ปุ่นมีกำลังพลในการศึกครั้งนี้ราว 110,000 คน

ภาพเหล่าทหารและผู้บัญชาการในกองพลที่ 32 ของญี่ปุ่น 
   ในรุ่งเช้าของวันที่ 1 เมษายน กองพลที่ 10 ที่มีทหารและนาวิกโยธินกว่า 180,000 คน ภายใต้การบังคับบัญชาของพลโท ซิมมอน โบลิเวอร์ บักเนอร์ จูเนียร์ ได้ยกพลขึ้นบกในเมืองโยมิตันที่เกาะโอกินาวาหลังมีการระดมยิงจากกองเรือที่ 5 ตามชายฝั่งมานานกว่า 5 วัน โดยในตอนแรกเหล่าทหารและนาวิกโยธินคิดว่าการยกพลขึ้นบกครั้งนี้มันจะเลวร้ายกว่าการยกพลขึนบกที่นอม็องดีในวันดีเดย์ของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ว่ากับผิดคาดเพราะเมื่อกองทัพของสหรัฐสามารถเข้าไปยังหาดได้กับไม่ได้ปะทะและไม่เห็นทหารญี่ปุ่นเลยสักคนเดียวในหาดที่ยกพลขึ้นมา

การยกพลขึ้นบกที่โอกินาวาของสหรัฐ
   ที่ทหารญี่ปุ่นไม่ออกมาป้องกันตามหัวหาด แบบที่เราดูในหนังกันว่าเวลายกพลขึ้นบกต้องมีการสู้ปะทะกันเพราะว่านายพลมิสึรุ อุชิจิมะ ผู้บัญชาการกองพลที่ 32 ได้ตั้งมั้นหลักที่ปราสาทชูริ ซึ่งเป็นอดีตพระราชวังของอาณาจักรริวกิว และให้ทหารหน่วยย่อยต่างๆ ตั้งมั้นอยู่รอบเกาะ โดยมีศูนย์ใหญ่อยู่ที่พระราชวังชูริทางด้านใต้ของเกาะ โดยเน้นการป้องกันฐานที่มั่นเอาไว้ จึงทำให้ตอนยกพลขึ้นบกไม่เกิดการปะทะกันนั่นเอง


ปราสาทชูริก่อนถูกทำลาย
    ทหารสหรัฐวางแผนการรบโดยแบ่งกำลงพลเป็นสองฝ่าย ฝ่ายนึงขึ้นไปทางเหนือ และอีกฝ่ายหนึ่งลงไปทางใต้ โดยกองกำลังสหรัฐที่มุ่งหน้าไปทางเหนือได้พบกับทหารญี่ปุ่นตามที่ต่างๆ และต่อสู้กันอย่างทรหด จนในที่สุดกองกำลังสหรัฐก็สามารถยึดครองที่ต่างๆ ทางเหนือของโอกินาวาได้แต่ความสูญเสียที่สหรัฐพบในทางเหนือนั้น เทียบไม่ได้กับสมรภูมิฝนเหล็กที่ทหารสหรัฐต้องต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นทางด้านใต้ของโอกินาวาเลยสักนิด เพราะการสู้รบที่ด้านใต้นั้นมันเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและนองเลือด

   วันที่ 6 เมษายน เรือประจัญบานยามาโตะ เรือรบที่ใหญ่แและแข็งแกร่งที่สุดของญี่ปุ่นได้ออกจากท่าที่จังหวัดยามากูจิ เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือในศึกโอกินาวาในครั้งนี้พร้อมกับเรือลาตระเวนและเรือพิฆาตเล็กอีก 8 ลำ โดยใช้ชื่อปฏิบัติการครั้งนี้ว่า "ปฏิบัติการเท็งโง"แต่ทว่ากองเรือนี้ไม่มีเครื่องบินคอยบินคุ้มกันให้ ทำให้เมื่อเรือดำน้ำสหรัฐตรวจพบเรือยามาโตะในวันที่ 7 เมษายน กองเรือที่ 5 ของสหรัฐจึงสั่งให้ฝูงบินบินไปทิ้งระเบิดใส่กองเรือยามาโตะให้สิ้นซาก โดยเครื่องบินรบ 380 ลำที่ได้รับคำสั่งให้โจมตีทางอากาศใส่เรือยามาโตะ ได้ทิ้งระเบิดใส่เรือยามาโตะจนได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนในที่หลังการถูกโจมตีมาเป็นเวลานานกองเรือรบยามาโตะก็จมลงในช่วงบ่ายของวันเดียวกัน พร้อมกับชีวิตของทหารเรือกว่า 4000 คน 

เรือรบยามาโตะหลบระเบิดและตอร์ปิโดในปฏิบัติเท็งโง


เรือรบยามาโตะ(ด้านขวาของภาพ)ขณะระเบิดจากการถูกหย่อนระเบิดอย่างหนัก
     นอกจากกองเรือยามาโตะแล้ว ญี่ปุ่นยังใช้ฝูงบินกามิกาเซ่ในการรบครั้งนี้ยังมหาศาล แทบจะเรียกได้ว่า กามิกาเซ่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการนี้ไปแล้ว กองเรือที่ 5 ของสหรัฐได้รับความเสียหายอย่างหนักจากฝูงบินกามิกาเซ่ของญี่ปุ่น โดยความเสียหายที่กองเรือที่ 5 ต้องเผชิญมีประมาณนี้
* เรือในกองเรือจมไป 36 ลำ
* อากาศยานเสียหาย 763 ลำ
* ทหารเสียชีวิตกว่า 4900 คน
* ทหารบาดเจ็บกว่า 4800 คน
ซึ่งเป็นความเสียหายอย่างหนักที่กองทัพสหรัฐภาคพื้นสมุทรต้องเผชิญ แต่ทว่าในส่วนของการทัพบนภาคพื้นดินนั่นก็ยังคงต่อสู้ไปโดยความยากลำบากภายในเกาะโอกินาวา



  กองทัพของสหรัฐที่บุกไปทาใต้ของตัวเกาะ ต้องรับมือกับกองกำลังญี่ปุ่นที่สู้แบบกามิกาเซ่ นอกจากต้องรับมือหับทหารกามิกาเซ่แล้ว ก็ต้องปะทะกับแนวป้องกันของญี่ปุ่นที่มีภูมิประเทศดีกว่าทั้งการต่อสู้เมืองโยนาบารุ การรบที่สันเขามาเอดะ การรบที่เนินเขาชูก้าโรฟ (Sugar Loaf) ซึ่งการรบตามสถานที่ต่างๆที่กล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในสงครามเท่านั้น ยังมีที่ต่างๆที่มหารัฐต้องเผชิญ แต่ไม่ว่าจะเป็นสมรภูมิไหน ก็เป็นการรบที่โหดร้าย ป่าเถื่อนและทรหดที่สุดครั้งหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้ทหารสหรัฐเสียกำลังพลไปกว่า 15000 นาย



   ด้วยการรุกคืบของสหรัฐตามที่ต่างๆ ทำให้ทหารญี่ปุ่นถอยร่นมาที่แนวเส้นชูริ กองทัพญี่ปุ่นใช้ปราสาทชูริเป็นป้อมปราการในการต้านกองทัพสหรัฐที่บุกเข้ามา โดยกองทัพสหรัฐที่บุกเข้ามาในเขตเมืองนะฮะ ต้องเผชิญกับกองทัพญี่ปุ่นอันมหาศาลที่พร้อมรบกับอเมริกา กองทัพสหรัฐใช้เวลานานหลายวันกว่าที่จะยึดเมืองนะฮะอันเป็นที่มั่นหลักของทหารญี่ปุ่นได้ ผลจากการรบที่เมืองนี้ทำให้ทหารญี่ปุ่นส่วนมากเสียชีวิต ปราสาทชูริซึ่่งเป็นที่มั่นสำคัญก็ถูกทำลาย หมู่บ้านต่างๆภายในเมืองถูกทำลายเป็นหน้ากอง และทหารญี่ปุ่นที่เหลือถอยร่นลงไปทางใต้ของเกาะโอกินาวาอีก


  กองทัพสหรัฐพยายามยื่นข้อเสนอให้กองทัพญี่ปุ่นยอมจำนนแต่ไม่ได้รับการตอบรับ ทำให้การศึกดำเนินต่อไป กองทัพญี่ปุ่นที่ถอยร่นไปทางใต้ได้เกณฑ์ทหารชาวโอกินาวามาร่วมรบโดยหวังว่าจะสู้แบบกามิกาเซ่ยอมตายถวายชีวิตเพื่อจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่ว่าทหารเหล่านี้มักจะยอมจำนนกับกองทัพสหรัฐมากกว่าที่คิดสู้แบบฆ่าตัวตาย


 นอกจากนี้ในช่วงปลายของการต่อสู้ กองทัพญี่ปุ่นได้โฆษณาชวนเชื่อกับเหล่าชาวโอกินาวา ว่าถ้าถูกจับกุมตัวโดยทหารสหรัฐจะถูกข่มขื่นและฆ่าอย่างโหดเหี้ยมอำมหิต ซึ่งเป็นการเล่นสงครามจิตวิทยาของญี่ปุ่น ซึ่งจากการประกาศข่าวลวงในครั้งนี้มันส่งผลให้ชาวโอกินาว่าหลายครอบครัว ฆ่าตัวตายจากการกระโดดหน้าผา แขวนคอ หรือยิงตัวตาย โดยคาดการณ์ว่ามีพลเรือนเสียชีวิตไปประมาณ 42,000–150,000 คน ในช่วงสงคราม



  แต่ว่าก็มีชาวโอกินาวาบางคนที่ถูกทหารอเมริกาจับ และรับรู้ว่าสิ่งที่ญี่ปุ่นประกาศออกมานั้นมันไม่เป็นความจริง และกระจายข่าวนี้กลับพลเมืองชาวโอกินาวาที่หลบซ่อนอยู่ ดังเช่นเคสของ ทาเคจิโร่ นากามูระ หนึ่งในชาวบ้านกล่าวว่า ตนเองได้หนีออกจากบ้านพร้อมกับครอบครัว แต่น้องสาวของเขากลับถูกแม่แท้ๆ ของตัวเองรัดคอจนเสียชีวิต เพื่อไม่ให้ตกเป็นเชลยของทหารอเมริกัน “ผมได้ยินน้องสาวพูดว่า ‘ฆ่าฉันเถอะ เร็วเข้า’ ซึ่งผมก็พยายามจะรัดคอตัวเองเช่นกัน แต่โชคดีที่ผมบังเอิญรอดมาได้” และถูกทหารอเมริกันเจอตัวเขาพอดี ทำให้เขาทราบว่ามันไม่เหมือนที่ทางจักรวรรดิญี่ปุ่นเตือนเลยสักนิดเดียว “ทหารอเมริกันตรวจผมว่ามีอาวุธหรือเปล่า แล้วเขาก็ให้ลูกอมและบุหรี่กับผม”





    ในวันที่ 22 มิถุนายน กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถยึดเกาะโอกินาวาได้เกือบทั่วเกาะ ส่งผลทำให้เหล่าทหารของญี่ปุ่นไม่ว่าจะยศใหญ่ยศเล็กต่างพากันฆ่าตัวตาย แทนที่จะถูกจับไปเป็นเชลยศึก ผบ.กองพลที่ 32 ของญี่ปุ่น นายพลมิสึรุ อุชิจิมะ ก็ได้ฆ่าตัวตายหลังรายงานใหเบื้องบนทราบถึงความพ่ายแพ้ในโอกินาวา ทำให้ยุทธการโอกินาวาที่ดำเนินมากว่า 3 เดือนสิ้นสุดลงในวันที่ 22 มิถุนายน

สภาพเมืองนะฮะหลังสงคราม

   สภาพความเสียหายของโอกินาวานั้นรุนแรงมาก พลเรือนชาวโอกินาวาถูกคาดการณ์ว่าเสียชีวิตไปกว่า 100,000 คน ส่วนด้านทหารญี่ปุ่นนั้นก็สูญเสียร้ายแรงเช่นกัน โดยสูญเสียกำลงพลไปกว่า 100,000 นายจากทั้งหมดประมาณ 117,000 นาย ส่วนทางด้านอเมริกานั้นสูญเสียทหารไปราว 14000-50000 นาย จากทั้งหมดราว 183,000 นาย นับว่าศึกครั้งนี้เป็นศึกที่เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงครั้งนึงในสงครามแปซิฟิกเลยทีเดียว

  ซึ่งจากการรบครั้งนี้ทำให้สหรัฐพยายามลีกเลี่ยงการยกพลขึ้นบกใส่เกาะญี่ปุ่น เพราะเกรงว่ามันอาจจะนำไปสู้ความสูญเสียอันใหญ่หลวงของทั้งสหรัฐและญี่ปุ่นเอง จนกระทั่งอเมริกาได้อาวุธใหม่ที่พึ่งสร้างสำเร็จ และใช้ญี่ปุ่นเป็นสถานที่ทดลอง นั่นก็คือ "ระเบิดปรมาณู" นั่นเอง

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ



ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ





สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)


อ้างอิง
ยุทธการที่โอกินาวะ(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
Battle of Okinawa(2561). จากhttps://www.history.com
“ยุทธการโอกินาวา” เวทีสุดท้ายก่อนสิ้นสุดสงครามโลก(2561). จากhttps://anngle.org
Battle of Okinawa เมื่อทหารญี่ปุ่นสั่งให้พลเรือนตัวเองฆ่าตัวตาย เพื่อหนีจากการถูกจับเป็นเชลย(2560). จากhttp://www.unigang.com

WWII:Okinawa(2556). จากhttps://pi-nu.blogspot.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น