กษัตรีองค์มีหรือนักองค์มี หรือในชื่อเวียดนาม ว่าเจ้าหญิงหง็อก เวิน เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี(นักองค์จัน)กับนักนางกระจับ ประสูติเมื่อปีพ.ศ.2358 โดยพี่น้องร่วมกันคือ องค์หญิงแบน องค์หญิงโพธิ์และองค์หญิงสงวน
ในช่วงสมัยของสมเด็จพระอุไทยราชา พระองค์นิยมเวียดนามมากกว่าสยาม ซึ่งจากการกระทำของพระองค์ทำให้เกิดความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกเขมร ภายในคือความขัดแย้งระหว่างขุนนางที่นิยมสยามกับเวียดนาม ซึ่งมันลามไปสู่ความขัดแย้งภายนอกนั้นก็คือความขัดแย้งระหว่างไทยกับเวียดนามแต่ด้วยพระอุไทยราชานั้นเข้าข้างเวียดนามทำให้อิทธิพลของเวียดนามในเขมรนั้นมีมากว่าสยามทำให้เรื่องบานปลายจนเกิดอานามสยามยุทธขึ้นในปีพ.ศ.2377
เมื่อพระอุไทยราชาสวรรคตไปในปี พ.ศ.2378 เวียดนามที่มีอิทธิพลมากในเขมรขณะนั้น ได้เข้าแทรกแทรงการเมืองเขมร นักองค์ด้วงและนักองค์อิ่มที่พยายามอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์แต่ถูกจักรพรรดิมิญหมั่งกดดันและไม่ยอมรับจนไม่สามารถขึ้นครองราชย์ได้ และด้วยที่ว่าพระอุไทยราชานั้นไม่มีพระราชโอรสทำให้ทางการเวียดนามเข้ามาแทรกแทรงเขมรได้ง่ายขึ้น โดยองค์จักรพรรดิเวียดนามได้คิดที่จะเลือกองค์หญิงแบนให้ขึ้นสืบราชบัลลังก์แต่ว่าพระองค์ก็เปลี่ยนใจ และเลือกองค์หญิงมีขึ้นรับตำแหน่งกษัตริย์เขมรองค์ต่อไปแทนองค์หญิงแบน เพราะว่าองค์หญิงแบนมีใจฝักใฝ่สยามและต่อต้านเวียดนาม
หลังจากองค์หญิงมีขึ้นครองราชย์จากคำสั่งขององค์จักรพรรดิมิญหมั่งแห่งเวียดนาม องค์จักรพรรดิได้พยายามให้นางแต่งงานกับพระราชโอรสของจักรพรรดิซาลอง แต่ว่าก็ถูกขุนนางเขมรแทบทั้งหมดปฏิเสธไปอย่างทันควัน ถึงแม้พระนางจะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตรีองค์มีผู้ปกครองแห่งเขมร แต่พระองค์กลับไม่มีอำนาจใดๆเลย เพราะอำนาจทั้งหมดตกไปอยู่กับเวียดนามสถานะของพระองค์เป็นได้เพียงแค่หุ่นเชิดของจักรพรรดมิญหมั่งเท่านั้น นอกจากนี้จักรพรรดิมิญหมั่งก็พยายามจับตาดูนางอย่างใกล้ชิดไม่ให้คิดจะหนีหรือต่อต้านโดยให้ทหารติดตามกว่า 100 นายเพื่อสอดส่องดูแลพฤติกรรมของนาง
จักรพรรดิมิญหมั่ง จักรพรรดิแห่งเวียดนาม |
"...มัน (เวียดนาม) คิดจะยึดเอาพระนครประเทศเขมรทั้งหมดให้อยู่ในกำมือของมัน"เมื่อพวกเวียดนามตรวจพบว่าพระองค์หญิงแบนทรงแค้นพระทัยอย่างมากที่เวียดนามกระทำการย่ำยีประเทศชาติของพระนางจึงทรงติดต่อกับพระมารดาและพระมาตุลาของพระนางซึ่งประทับอยู่ที่เมืองพระตะบองและพระนางก็ทรงวางแผนที่จะลี้ภัยไปยังสยาม ซึ่งทางสยามยินดีที่จะช่วยเหลือ แต่แผนการกลับรั่วไหลทำให้พระนางทรงถูกจับและไต่สวนความผิดที่กรุงพนมเปญจักรพรรดมิญหมั่งแห่งเวียดนามทรงประกาศถอดถอนกษัตรีองค์มีและลดพระอิสริยยศของพระองค์หญิงทั้งสี่ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2384 ซึ่งผลนั้นทำให้เขมรว่างกษัตริย์เป็นระยะกว่า 3 ปี และเพื่อเป็นการสั่งสอนที่องค์หญิงแบนคิดที่จะทรยศเวียดนาม นางจึงถูกทหารเวียดนามจับใส่ถุงกระสอบถ่วงน้ำจนสิ้นพระชนม์ที่แม่น้ำโขง ซึ่งในสายตาของชาวเขมรแล้วเท่ากับเป็นการ "...ทำลายล้างวงศ์เจ้านาย ไม่มีพระมหากษัตริย์ปกครองต่อไปจะให้เมืองเขมรวินาศแลให้อยู่ในเงื้อมมือของญวนฝ่ายเดียว..."
กษัตรีองค์มี |
เมื่อศึกอานัมสยามยุทธจบลงที่ทั้งสยามและเวียดนามไม่ได้ทั้งแพ้และชนะ ส่งผลทำให้อำนาจและอิทธิพลของเวียดนามในเขมรลดลง นักองค์ด้วงซึ่งเป็นขุนนางที่อยู่ฝ่ายสยามได้แต่งตั้งให้เป็นประมุขร่วมกับกษัตรีองค์มี เขมรตกเป็นเมืองประเทศราชของทั้งสยามและเวียดนาม ต่อมาในปี พ.ศ.2390 พระนางถูกปลดจากราชบัลลังก์จากขุนนางเขมร และได้มีพิธีราชาภิเษกของนักองค์ด้วงในปีเดียวกันเป็นประมุขแห่งเขมรองค์ต่อไป
นักองค์ด้วงผู้เป็นกษัตริย์เขมรถัดจากกษัตรีองค์มี |
กษัตรีองค์มีประสบอุบัติเหตุสวรรคตพร้อมกับพระสวามี ในหลังเดือนธันวาคม พ.ศ. 2417 รวมอายุของพระนางได้ 59 พรรษา พระบรมศพของพระนางได้รับการพระราชทานเพลิงพระบรมศพที่กรุงพนมเปญในปี พ.ศ. 2427 เป็นอันจบชีวิตที่แสนรันทดของอดีตประมุขเขมรที่มีอำนาจน้อยที่สุดองค์หนึ่ง
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
อ้างอิง
กษัตรีองค์มี(2560). จากhttps://th.wikipedia.org
Queen Ang Mey and Vietnamization in Cambodia(2557). จากhttp://khmerwathanak.blogspot.com
กัมพูชา - ประวัติศาสตร์(2559). จากhttp://www.sac.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น