29/10/61

กรณีมุกเดน จุดเริ่มต้นของการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น

   

หลังจากญี่ปุ่นชนะสงครามที่ทำกับจีนในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นกับรัสเซียพยายามเจรจาเพื่อครอบครองพื้นที่ในส่วนของเกาหลีกับแมนจูเรีย เพราะญี่ปุ่นต้องการควบคุมเกาหลีเพราะเกาหลีเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่อการบุกญี่ปุ่นของชาติอื่น ส่วนรัสเซียต้องการพื้นที่ในแมนจูเรียเป็นเมืองท่าน้ำอุ่นในการค้าขายกับต่างประเทศของรัสเซีย

ดินแดนแมนจูเรีย
   การเจรจาเพื่อผลประโยชน์ร่วมของทั้งสองฝ่ายระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย ยืดเยื้อมานานกว่า 4 เดือน ตั้งแต่ปลายปี 1903 มาจนถึงกุมภาพันธ์ปี 1904 ฝ่ายญี่ปุ่นเห็นว่าการที่รัสเซียเจรจายืดเยื้อเพราะรัสเซียกำลังเตรียมกำลังพลและการตกลงเรื่องผลประโยชน์ที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทำให้ญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีรัสเซียที่พอร์ตอาเธอร์และเริ่มสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่นในปี 1904

ทหารรัสเซียยิงปืนใหญ่ในการรบที่พอร์ตอาเธอร์
  ซึ่งผลจากการรบกับรัสเซียในครั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายชนะและขึ้นเป็นมหาอำนาจใหม่เต็มตัวแทนที่รัสเซียที่กำลังอ่อนแอลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ด้วยผลจากสงครามทำให้รัสเซียสละสิทธิ์ในพื้นที่แมนจูเรียตามสนธิสัญญาพอร์ตสมัท แต่ทว่าเอาตามผลจากสนธิสัญญานี้ญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้ครอบครองแมนจูเรียเช่นกัน เพราะแมนจูเรียตกเป็นของจีนตามสนธิสัญญานี้ แต่ว่าญี่ปุ่นก็ได้ถือกรรมสิทธิ์ในรางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ต่อจากรัสเซียและทรัพยากรบางส่วนของแมนจูเรียอยู่ ส่วนเกาหลีญี่ปุ่นได้เข้าครอบครองในฐานะอาณานิคมของญี่ปุ่น

การเจรจาลงนามสนธิสัญญาพอร์ตสมัธ ณ สหรัฐอเมริกา
   นานวันเข้าญี่ปุ่นก็มีทีท่าที่สนใจทรัพยากรและดินแดนในแมนจูเรีย ประกอบกับจีนในตอนนั้นต้องเผชิญทั้งภัยคอมมิวนิสต์ กองทัพญี่ปุ่นและการคอรัปชั่นในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของจีนคณะชาติที่ต้องจัดการทุกปัญหาพร้อมกัน ทำให้กองทัพญี่ปุ่นมีความคิดที่จะรุกรานแมนจูเรียเพื่อกอบโกยสิทธิประโยชน์และทรัพยากรไปจากดินแดนแห่งนี้
   นายทหารผู้มียศสองนาย พันเอกเซชิโร อิตะงะกิ และ พันโท คันจิ อิชิวะระ ได้ยื่นคำร้องเสนอแผนการรุกรานแมนจูเรียของพวกเขาให้กับทางรัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติแผนการนี้ แต่ทางรัฐบาลก็ตั้งเงื่อนไขอีกว่า การรุกรานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อจีนเป็นฝ่านเริ่มก่อนเท่านั้น ทำให้เกิดการยุยงปลุกปั้นต่างๆนาๆ เพื่อให้บรรลุผลตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ ที่ว่าจีนต้องเป็นฝ่ายเริ่มก่อนถึงจะรุกรานได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจีนกลับไม่ได้เดินตามหมากที่ญี่ปุ่นเดินไว้ ทำให้ญี่ปุ่นต้องวางแผนสร้างหมากใหม่ขึ้นมานั่นก็คือ การสร้างเหตุการณ์ความไม่สงบและอ้างว่าจีนเป็นคนทำนั่นเอง

รางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ จุดเริ่มต้นของกรณีมุกเดน
    ในวันที่ 18 กันยายน ปี ค.ศ.1931 ได้เกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดขึ้นที่รางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ที่ญี่ปุ่นถือกรรมสิทธิ์อยู่ โดยการวางระเบิดนี้เป็นไปตามการวางแผนและจัดฉากของทหารญี่ปุ่น แม้จะมีการโต้แย้งกันไปมา ซึ่งชาวจีนเชื่อหมดใจว่าญี่ปุ่นเป็นคนทำ ส่วนทางญี่ปุ่นก็อ้างว่าจีนเป็นคนทำตัวเองนั่นแหละ ซึ่งจากตามหลักฐานต่างๆที่รวบรวมได้หลังสงครามจะบ่งบอกได้ว่าญี่ปุ่นเป็นคนทำก็เหอะ
    ส่วนความเสียหายของการระเบิดครั้งนี้ แทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้สร้างความเสียหายแก่รางรถไฟมากนัก ขนาดที่ว่ารถไฟจากเมืองชางชุนยังสามารถวิ่งผ่านจุดนั้นและไปถึงเสิ่นหยางได้ตามปกติ แต่ถึงแม้รางรถไฟจะสามารถใช้งานและให้รถไฟวิ่งได้ตามปกติ แต่จากเหตุการณ์นี้ทำให้ญี่ปุ่นใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ารุกรานแมนจูเรียตามที่เตรียมการไว้

ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นเข้าตรวจสอบความเสียหายของรางรถไฟ
    รุ่งเช้าวันที่ 19 กันยายน กองทัพญี่ปุ่นเริ่มเปิดฉากโจมตีฐานที่มั่นของทหารจีนตามที่ต่างๆ ใกล้เมืองกมุกเดน  การรุกรานส่วนมากเกิดขึ้นในทางตอนใต้ของแมนจูเรียและโดยส่วนมากการรุกรานยังไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ผบ.ทหารของกองทัพคันโตและผู้มีบทบาทในกองทัพอีกด้วย


   วันที่ 21 กันยายน ญี่ปุ่นได้เกณฑ์ผู้คนและเรียกกำลังทหารเสริมจากเกาหลีมาในศึกครั้งนี้ แต่ถึงแม้จะเกณฑ์มาเพิ่มจำนวนก็ยังน้อยกว่าจีนอยู่ แต่อย่างว่าละครับจำนวนของทหารไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่นำไปสู่ชัยชนะ เพราะถึงแม้จีนจะมีทหารอยู่เยอะกว่าแต่ส่วนมากก็เป็นทหารเกณฑ์ที่ไร้ประสบการณ์ในการรบจริง ทำให้จีนต้องเสียทหารไปมากมายในการต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นที่มีจำนวนเพียงหยิบมือนึง


   ภายในช่วงเวลา 3 เดือน กองทัพญี่ปุ่นได้กระจายตัวและสามารถยึดเมืองต่างๆในพื้นที่แมนจูเรียไปกว่าครึ่งนึง กองทัพจีนไม่สามารถเทียบศักยภาพกับกองทัพญี่ปุ่นได้เลย ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน เจียง ไคเชก สั่งให้นายพลจาง เซวเหลียง ถอนทัพทั้งหมดออกจากแมนจูเรียซึ่งจากการถอยทัพนี้ทำให้ท่านจาง เซวเหลียงถูกชาวบ้านตราหน้าว่าเป็น"ผู้ให้ศตรูบุกเข้ามา"บ้างหรือ"ผู้ขายชาติ"บ้าง แต่การกระทำของเจียง ไคเชกในการสั่งให้จางถอนทัพก็เพื่อ ยื่นเรื่องการรุกรานของญี่ปุ่นต่อสันนิบาตชาติ อันเป็นองค์กรสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง องค์กรสันนิบาตชาติจึงลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมประชุมหารือกันจนในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า ให้ทหารญี่ปุ่นทั้งหมดออกจากแมนจูเรีย แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับข้อสรุปที่ได้จากการประชุมพร้อมบอกว่าจะทำการเจรจาต่อรัฐบาลจีนเท่านั้น

ตัวแทนชาวจีนยื่นเรื่องต่อสันนิบาตชาติเรื่อกรณีมุกเดนในปี 1932
    สันนิบาตชาติพยายามใช้สันติวิธีในการหยุดประเด็นเหตุการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น และพยายามกดดันญี่ปุ่นให้ถอนทหารออกจากแมนจูเรีย พอถูกตื้อนานๆเข้าก็ทำให้ญี่ปุ่นหมดความอดทนประกาศออกจากการเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ และด้วยสันนิบาตชาติไม่มีกองกำลังของตนเองทำให้เรื่องนี้ต้องถูกลอยแพไป และยังแสดงถึงความไม่สำเร็จในการทำงานขององค์กรสันนิบาตชาติในช่วงทศวรรศที่1930s อีกด้วย

เจียง ไคเชก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน
    หลังจากที่จีนสูญเสียแมนจูเรียไป รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนได้เรียกร้องให้เจียงลาออก เพื่อรับผิดชอบต่อความสูญเสียที่จีนได้รับ แน่นอนว่าเจียง ไคเชกลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีจีนในเวลาไม่นานหลังจากนั้น ส่วนทางญี่ปุ่นก็เข้าควบคุมแมนจูเรียและตั้งประเทศแมนจูกัวขึ้นโดยเป็นรัฐหุ่นเชิดให้ญี่ปุ่น แต่งตั้งอดีตจักรพรรดิผู้อี๋ เป็นจักรพรรดิคังเต๋อ ประมุขแห่งแมนจูกัว โดยประเทศแมนจูกัวนี้ไม่ได้ถูกยอมรับในฐานะประเทศเอกราช จากลัทธิสติมสันที่สหรัฐและทางสันนิบาตชาติไม่รองรับการมีอยู่ของแมนจูกัวและไม่ให้สิทธิใดๆแก่แมนจูกัวเช่นกัน

รัฐมนตรีที่ญี่ปุ่นแต่งตั้งของประเทศแมนจูกัว
     แต่ไม่ว่าญี่ปุ่นจะได้แมนจูเรียมาด้วยวิธีใด หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 ญี่ปุ่นสูญเสียแมนจูเรียไปจากการยึดครองของโซเวียต ก่อนที่โซเวียตจะยกให้จีนในเวลาต่อมา ส่วนอาณานิคมเกาหลีของญี่ปุ่น ก็ยอมให้เกาหลีเป็นอิสรภาพจากผลของการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของญี่ปุ่น เรียกได้ว่าญี่ปุ่นสูญเสียฐานอำนาจและอิทธิพลของตัวเองในแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออก เพราะการเลือกทางผิดและหลงอยู่ในอำนาจของตัวเอง

ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ


ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ



สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)


อ้างอิง
กรณีมุกเดน(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
กรณีพิพาทมุกเดน(2555). จากhttp://wwiirazer.blogspot.com
Memories of 1931 Mukden Incident remain divisive. จากhttps://www.japantimes.co.jp
Mukden Incident(2561). จากhttps://www.britannica.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น