หลังจากญี่ปุ่นชนะสงครามที่ทำกับจีนในช่วงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นกับรัสเซียพยายามเจรจาเพื่อครอบครองพื้นที่ในส่วนของเกาหลีกับแมนจูเรีย เพราะญี่ปุ่นต้องการควบคุมเกาหลีเพราะเกาหลีเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่อการบุกญี่ปุ่นของชาติอื่น ส่วนรัสเซียต้องการพื้นที่ในแมนจูเรียเป็นเมืองท่าน้ำอุ่นในการค้าขายกับต่างประเทศของรัสเซีย
ดินแดนแมนจูเรีย |
ทหารรัสเซียยิงปืนใหญ่ในการรบที่พอร์ตอาเธอร์ |
การเจรจาลงนามสนธิสัญญาพอร์ตสมัธ ณ สหรัฐอเมริกา |
นายทหารผู้มียศสองนาย พันเอกเซชิโร อิตะงะกิ และ พันโท คันจิ อิชิวะระ ได้ยื่นคำร้องเสนอแผนการรุกรานแมนจูเรียของพวกเขาให้กับทางรัฐบาลญี่ปุ่นอนุมัติแผนการนี้ แต่ทางรัฐบาลก็ตั้งเงื่อนไขอีกว่า การรุกรานจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อจีนเป็นฝ่านเริ่มก่อนเท่านั้น ทำให้เกิดการยุยงปลุกปั้นต่างๆนาๆ เพื่อให้บรรลุผลตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ ที่ว่าจีนต้องเป็นฝ่ายเริ่มก่อนถึงจะรุกรานได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจีนกลับไม่ได้เดินตามหมากที่ญี่ปุ่นเดินไว้ ทำให้ญี่ปุ่นต้องวางแผนสร้างหมากใหม่ขึ้นมานั่นก็คือ การสร้างเหตุการณ์ความไม่สงบและอ้างว่าจีนเป็นคนทำนั่นเอง
รางรถไฟแมนจูเรียสายใต้ จุดเริ่มต้นของกรณีมุกเดน |
ส่วนความเสียหายของการระเบิดครั้งนี้ แทบจะเรียกได้ว่าไม่ได้สร้างความเสียหายแก่รางรถไฟมากนัก ขนาดที่ว่ารถไฟจากเมืองชางชุนยังสามารถวิ่งผ่านจุดนั้นและไปถึงเสิ่นหยางได้ตามปกติ แต่ถึงแม้รางรถไฟจะสามารถใช้งานและให้รถไฟวิ่งได้ตามปกติ แต่จากเหตุการณ์นี้ทำให้ญี่ปุ่นใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ารุกรานแมนจูเรียตามที่เตรียมการไว้
ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นเข้าตรวจสอบความเสียหายของรางรถไฟ |
วันที่ 21 กันยายน ญี่ปุ่นได้เกณฑ์ผู้คนและเรียกกำลังทหารเสริมจากเกาหลีมาในศึกครั้งนี้ แต่ถึงแม้จะเกณฑ์มาเพิ่มจำนวนก็ยังน้อยกว่าจีนอยู่ แต่อย่างว่าละครับจำนวนของทหารไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่นำไปสู่ชัยชนะ เพราะถึงแม้จีนจะมีทหารอยู่เยอะกว่าแต่ส่วนมากก็เป็นทหารเกณฑ์ที่ไร้ประสบการณ์ในการรบจริง ทำให้จีนต้องเสียทหารไปมากมายในการต่อสู้กับทหารญี่ปุ่นที่มีจำนวนเพียงหยิบมือนึง
ภายในช่วงเวลา 3 เดือน กองทัพญี่ปุ่นได้กระจายตัวและสามารถยึดเมืองต่างๆในพื้นที่แมนจูเรียไปกว่าครึ่งนึง กองทัพจีนไม่สามารถเทียบศักยภาพกับกองทัพญี่ปุ่นได้เลย ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน เจียง ไคเชก สั่งให้นายพลจาง เซวเหลียง ถอนทัพทั้งหมดออกจากแมนจูเรียซึ่งจากการถอยทัพนี้ทำให้ท่านจาง เซวเหลียงถูกชาวบ้านตราหน้าว่าเป็น"ผู้ให้ศตรูบุกเข้ามา"บ้างหรือ"ผู้ขายชาติ"บ้าง แต่การกระทำของเจียง ไคเชกในการสั่งให้จางถอนทัพก็เพื่อ ยื่นเรื่องการรุกรานของญี่ปุ่นต่อสันนิบาตชาติ อันเป็นองค์กรสันติภาพที่ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง องค์กรสันนิบาตชาติจึงลงพื้นที่ตรวจสอบพร้อมประชุมหารือกันจนในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า ให้ทหารญี่ปุ่นทั้งหมดออกจากแมนจูเรีย แต่ญี่ปุ่นไม่ยอมรับข้อสรุปที่ได้จากการประชุมพร้อมบอกว่าจะทำการเจรจาต่อรัฐบาลจีนเท่านั้น
ตัวแทนชาวจีนยื่นเรื่องต่อสันนิบาตชาติเรื่อกรณีมุกเดนในปี 1932 |
เจียง ไคเชก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน |
รัฐมนตรีที่ญี่ปุ่นแต่งตั้งของประเทศแมนจูกัว |
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
อ้างอิง
กรณีมุกเดน(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
กรณีพิพาทมุกเดน(2555). จากhttp://wwiirazer.blogspot.com
Memories of 1931 Mukden Incident remain divisive. จากhttps://www.japantimes.co.jp
Mukden Incident(2561). จากhttps://www.britannica.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น