สงครามเวียดนามเริ่มขึ้นเมื่อราวปี ค.ศ.1955 ระหว่างเวียดนามเหนือ(คอมมิวนิสต์) และเวียดนามใต้(ประชาธิปไตย) โดยเวียดนามเหนือมีเมืองหลวงชื่อฮานอย ส่วนเวียดนามใต้มีเมืองหลวงชื่อว่าไซง่อน
ภาพพื้นที่แบ่งแสดงถึงเวียดนามเหนือ(สีเขียวอ่อน) และเวียดนามใต้ (สีเขียวเข้ม) |
ทางกองทัพสหรัฐประเมินว่าเวียดนามใต้จะสามารถยันเวียดนามเหนือได้จนถึงปี 1976 เท่านั้น แต่ว่ากองทัพเวียดนามเหนือภายใต้การบังคับบัญชาของ หวั่น เตี๋ยง จุ๋ง กลับรุกคืบเวียดนามใต้ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี 1975 ทำให้การคาดการณ์ของสหรัฐนั้นผิดและเวลาที่เวียดนามใต้จะแตกก็ใกล้ขึ้นมาอีก
ทหารเวียดนามเหนือที่เมืองดานัง |
การรุกที่รวดเร็วของเวียดนามเหนือตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน ทำให้ไซง่อนเริ่มถูกล้อมโดยพวกเวียดนามเหนือ กระแสการอพยพมีมากขึ้นผู้ตนต่างทยอยอพยพเป็นอย่างมาก เพราะผู้คนต่างก็กลัวว่าถ้าพวกเวียดกงเข้ามา จะเกิดการแก้แค้นและสังหารผู้คนในไซง่อน จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ประธานาธิดีเวียดนามใต้ เหงียน วัน เตี่ยว โดนกดดันจากทางรัฐมนตรีอย่างหนัก จนเกือบจะโดนรัฐประหาร แต่ว่าเขาก็ยังคงกุมอำนาจของเวียดนามใต้เอาไว้ได้
แต่ว่าคนจำนวนมากในคณะทูตของอเมริกา โดยเฉพาะมาร์ติน และบุคลากรสำคัญบางคนจากวอชิงตัน เชื่อว่าการเจรจากับฝ่ายคอมมิวนิสต์ยังเป็นไปได้ โดยเฉพาะถ้าไซ่ง่อนยังสามารถรักษาเสถียรภาพทางการทหารเอาไว้ได้ ท่านทูตมาร์ตินยังหวังไว้ว่าผู้นำของเวียดนามเหนือจะยินยอมให้ทหารอเมริกันค่อยๆ ถอนกำลังออกไปเป็นระยะๆ ซึ่งรวมไปถึงการอพยพชาวอเมริกันทั้งหมด และชาวเวียดนามที่มีประโยชน์ออกไป และถอนกำลังทหารทั้งหมดออกไป ภายในระยะเวลาหลายเดือน ซึ่งก็มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับผลที่เตี่ยวในฐานะผู้นำรัฐบาลมีต่อการแก้ปัญหาทางการเมือง รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลกล่าวในวันที่ 2 เมษายน ว่ารัฐบาลเฉพาะกาลอาจจะยอมเจรจากับรัฐบาลไซง่อนถ้ารัฐบาลนั้นไม่มีเตี่ยวอยู่ ทำให้แรงกดดันที่จะขับไล่เตี่ยวออกจากตำแหน่งเพิ่มขึ้น แม้แต่ในเหล่าผู้สนับสนุนของเตี่ยวเอง ในที่สุดเตี่ยวก็ลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีและกล่าวตำหนิสหรัฐในด้านต่างๆ ก่อนเดินทางออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 21 เมษายน 1975
ปธน. เหงียน วัน เตี่ยว |
ผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามใต้เดินทางมาถึงเรือรบของสหรัฐฯ ระหว่างปฏิบัติการฟรีเควียนท์วินด์ |
แต่ว่าพอมาถึงช่วงเวลาตีสาม ของคืนวันที่ 30 เมษายน 1975 การอพยพต้องหยุดชะงักลงเพราะเบื้องบนของสหรัฐได้สั่งให้ตั้งแต่ตอนนั้นเป็นต้นไป จะอพยพเฉพาะชาวสหรัฐเท่านั้น มาร์ตินออกคำสั่งอย่างขมชื่นว่าตั้งแต่นี้เป็นต้นไปจะให้เฉพาะชาวอเมริกาอพยพเท่านั้น ทำให้ชาวเวียดนามที่เหลือพยายามปืนกำแพงและประตูเข้ามาเพื่อพยายามอพยพไปพร้อมกับชาวอเมริกาคนอื่นๆ ส่วนทางทูตมาร์ตินก็คอยช่วยเหลืออยู่ยังไม่อพยพไปพร้อมกับคนอื่นๆ จนในที่สุด ปธน.ฟอร์ด จึงสั่งกับนักบิน เจรี เบอร์รี ให้พาตัวเขาอพยพออกจากเวียดนาม และสั่งว่าถ้าเขาไม่ทำตามสามารถจับกุมตัวได้ ทำให้มาร์ตินต้องอพยพและออกเดินทางไปพร้อมกับคนอื่น โดยเฮลิคอปเตอร์ลำสุดท้ายออกมาตอน 7.53 น โดยสามารถอพยพชาวอเมริกัน 978 คน และชาวเวียดนามอีก 1,100 คน ชาวเวียดนามที่เหลือยังคงพยายามออกนอกประเทศทางเรือและทางอากาศถ้าเป็นไปได้ นักบินชาวเวียดนามใต้ที่สามารถเข้าถึงเฮลิคอปเตอร์ได้บินออกนอกชายฝั่งไปยังกองเรือรบอเมริกัน ที่ๆ เขาสามารถลงจอดได้ หลังลงจอดเสร็จเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้นจะถูกทิ้งลงทะเลเพื่อเปิดทางให้เฮลิคอปเตอร์ลำอื่นๆเข้ามาจอดต่อ
มาร์ตินยังสามารถโน้มน้าวให้กองเรือรบที่เจ็ดอยู่กับที่อีกหลายวันเพื่อรอคนเวียดนามที่อาจหนีมาได้ทางเรือหรือเครื่องบิน เพื่อให้ทหารอเมริกันที่รออยู่ช่วยเหลือได้ ซึ่งก็มีมากหลายร้อยคน โดยชาวเวียดนามเป็นจำนวนมากที่อพยพออกมาได้รับอนุญาตให้เข้ามาอาศัยในสหรัฐอเมริกาภายใต้รัฐบัญญัติช่วยเหลือผู้ลี้ภัยและการอพยพจากอินโดจีน
ผู้อพยพชาวเวียดนามที่มาทางเรือ |
หลังจากการอพยพโดยเฮลิคอปเตอร์ลำสุดท้ายสิ้นสุดลง จุ๋งได้รับคำสั่งให้บุกไซง่อน เขาจึงสั่งให้ผู้บัญชาการภาคสนามเคลื่อนทัพตรงไปยังสาธารณูปโภคสำคัญและจุดยุทธศาสตร์ในเมือง[41] หน่วยของกองทัพเวียดนามเหนือหน่วยแรกที่เข้าไปในเมืองคือกองร้อยที่ 324ประธานาธิบดีดูง วัน มินห์แห่งเวียดนามใต้ ที่เพิ่งดำรงตำแหน่งมาได้สามวัน ออกแถลงการณ์ยอมจำนนเมื่อเวลา 10.24 น. และขอให้กองกำลังเวียดนามใต้ "หยุดต่อสู้ อยู่ในความสงบ และไม่เคลื่อนพลไปไหน" และเชิญรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลมาร่วม "พิธีถ่ายโอนอำนาจอย่างเป็นระเบียบเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียเลือดเนื้อของประชากรอย่างไม่จำเป็น" แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเวียดนามเหนือไม่สนใจที่จะเจรจาเพื่อครอบครองเมืองอย่างสันติ และใช้กำลังเข้ายึดเมือง และจับกุมมินห์ ประตูทำเนียบอิสรภาพถูกทำลายโดยรถถังของกองทัพเวียดนามเหนือขณะที่กำลังเข้าไป และธงเวียดกงถูกเชิญขึ้นเหนือทำเนียบในเวลา 11.30 น. ในเวลา 15.30 น. มินห์กระจายเสียงไปทางวิทยุ โดยแถลงว่า "ข้าพเจ้าประกาศรัฐบาลไซ่ง่อนสิ้นสุดลงในทุกระดับขั้น" การล่มสลายของรัฐบาลเวียดนามใต้จึงถือเป็นการยุติสงครามเวียดนามอย่างมีประสิทธิผล
เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนามสามารถยึดไซง่อนได้ รัฐบาลจึงเปลี่ยนชื่อจากไซง่อนเป็นโฮจิมินต์ ตามประธานาธิบดีและผู้นำคนแรกของเวียดนามเหนือ ชาวเวียดนามใต้มากกว่า 200,000 คน ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่รัฐและทหารถูกส่งไปยัง "ค่ายอบรมใหม่" ที่ๆ พวกเขาต้องเผชิญกับทารุณกรรม, โรคภัยไข้เจ็บและความอดอยาก นอกจากนี้ทางรัฐบาลใหม่ก็ได้สั่งลดจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในไซ่ง่อน ซึ่งกลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยคนที่เพิ่งเข้ามาอาศัยอยู่ระหว่างช่วงสงครามเป็นจำนวนมาก ทำให้มีมีปัญหาประชากรหนาแน่นเกินไปและมีอัตราการว่างงานสูง รัฐบาลทำการจัดตั้งชั้นเรียนเพื่ออบรมใหม่ให้กับอดีตทหารเวียดนามใต้ ที่ระบุให้นักเรียนย้ายออกจากเมืองไปทำกสิกรรมเพื่อแลกกับการได้รับสถานะพลเมืองของสังคมคืนมา มีการแจกข้าวให้กับคนยากจนเพื่อแลกกับสัญญาที่จะออกจากไซ่ง่อนไปยังชนบท ตามข้อมูลของรัฐบาล ภายในสองปีของการยึดเมือง มีคนย้ายออกจากไซ่ง่อนกว่าหนึ่งล้านคน
การที่กรุงไซง่อนแตกในครั้งนี้นับเป็นชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์เวียดนาม และเป็นจุดจบของสงครามเวียดนามที่ดำเนินมากว่า 19 ปี และยังเป็นจุดเริ่มต้นของเวียดนามหลังการรวมประเทศอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันทุกวันที่ 30 เมษายน จะถือเป็นวันรวมประเทศ และถือเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ในเวียดนามทีมีการจัดการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ แต่สำหรับผู้อพยพชาวเวียดนามที่กระจายไปตามที่ต่างๆ จะเรียกวันนี่้ว่าเมษาฯ ทมิฬ และถือว่าวันนี้เป็นรำลึกถึงการเสียกรุงไซ่ง่อน
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
อ้างอิง
การยึดกรุงไซ่ง่อน(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
Fall of Saigon(2561). จากhttps://en.wikipedia.org
ไซง่อนแตก (Fall of Saigon)(2558). จากhttp://thongkum.blogspot.com
Vietnam War: Fall of Saigon. จากhttps://www.thoughtco.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น