ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนหน้าที่ไทยจะประกาศสงครามกับชาติฝ่ายสัมพันธมิตร และก่อนที่ญี่ปุ่นจะบุกไทยในอีกไม่กี่เดือนต่อมา ไทยได้มีประเด็นพิพาทกับฝรั่งเศส ซึ่งมักถูกเรียกว่า กรณีพิพาทอินโดจีน เหล่านักศึกษาได้ประท้วงให้รัฐบาลต่อสู้เพื่อเอาดินแดนของไทยที่สูญเสียไปในเหตุการณ์ ร.ศ.112 คืนมา ซึ่งชาวต่างชาติจะรู้จักเหตุการณ์นี้ในชื่อว่า สงครามไทย-ฝรั่งเศส ซึ่งในเหตุการณ์พิพาทในครั้งนี้ ได้เกิดการต่อสู้ทางน้ำที่สำคัญและใหญ่ครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ชาติไทย นั่นก็คือ ยุทธวีเกาะช้าง ของราชนาวีไทย กับวีชีฝรั่งเศส เหตุการณ์จะเป็นเช่นไร ติดตามอ่านต่อด้านล่างเลยครับ
ยุทธนาวีเกาะช้างในครั้งนี้้ เป็นส่วนหนึ่งของกรณีพิพาทอินโดจีน ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 จากการประท้วงให้รัฐบาลทำสงครามเพื่อเอาดินแดนที่เราเคยเสียไปในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคืนมา โดยสงครามที่ไทยทำกับฝรั่งเศสในครั้งนี้ เป็นฝรั่งเศสเขตวิชีหรือฝรั่งเศสที่เข้าข้างกับเยอรมันนั่นเอง โดยหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ทำการยิงจรวดใส่จังหวัดนครพนมของเรา ซึ่งเป็นเหมือนกับการประกาศสงคราม ไทยจึงได้ทำการตอบโต้จากทั้งทางบกและทางอากาศ ซึ่งฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ ด้วยเหตุนั้นฝรั่งเศสจึงเริ่มตอบโต้ไทย โดยการส่งเรือรบมาโจมตีไทยที่เกาะช้าง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุทธนาวีครั้งนี้
ยุทธนาวีเกาะช้างเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 โดยเหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อเครื่องบินราดตระเวนฝรั่งเศสที่ประจำการอยู่ที่กัมพูชามาราดตระเวนทหารและกองเรือไทย ในช่วงเช้าตรู่เวลาประมาณ 6 โมงเช้าก่อนบินกลับไป แต่ในเวลาไม่นานถัดจากนั้นเครื่องบินรบฝรั่งเศสก็บินมายังเกาะช้างอีกครั้ง พร้อมกับทิ้งระเบิดโจมตีเรือตอร์ปิโดของไทย แต่ไทยก็ยิงเครื่องบินของฝรั่งเศสตกโดย ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน ซึ่งทำให้ทางไทยเริ่มเตรียมการเพื่อที่จะรับศึกอันใกล้ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ต่อมาไม่นานทางกองทัพเรือฝรั่งเศสอันนำโดยเรือลามอตต์ ปิเกต์ โดยมีนาวาเอก เรจี เบรังเยร์เป็น ผู้บัญชาการเรือ พร้อมด้วยเรืออื่นจากหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 7 ได้เริ่มต้นการบุกเข้ามายังเกาะช้าง ซึ่งในตอนนั้นแถวเกาะช้างมีเรือหลวงชลบุรี เรือหลวงสงขลาและเรือหลวงธนบุรีประจำการอยู่ ซึ่งทั้งหมดประจำสถานีรบเรียบร้อยแล้ว
เมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเช้า เรือหลวงสงขลาได้เห็นเรือลามอตต์ ปิเกต์ของฝรั่งเศส จากนั้นจึงทำการยิงใส่เรือลามอตต์ ปิเกต์ในทันที แม้จะไม่สามารถยิงตอร์ปิโดใส่ได้เพราะ เรือหลวงสงขลานั้นได้จอดหันหัวเรือไปยังตัวเกาะ แต่กระสุนส่วนมากกลับพลาดเป้า ทำให้เรือลามอตต์ ปิเกต์ กระหน่ำโจมตีใส่เรือหลวงสงขลา ทำให้เรือหลวงสงขลาได้รับความเสียหายอย่างมาก ทำให้ นาวาตรีชั้น สิงหชาญ ผู้บังคับการเรือสั่งสละเรือในเวลาประมาณ 6 โมง 45 นาที
ทางด้านเรือหลวงชลบุรี ก็ได้โดนโจมตีจากเรือสลุปของฝรั่งเศส ดูมองต์ ดูร์วิลล์และอามิราล ชาร์เนร์ ฝ่ายไทยโดนปืนใหญ่ของฝรั่งเศสโจมตีอย่างหนักหน่วง แต่ว่าเรือหลวงชลบุรีก็พลาดท่าโดนลูกปืนใหญ่เข้าไปที่ท้ายเรือและกลางเรือ เกิดระเบิดลุกไหม้ แต่ก็ไม่พอพวกฝรั่งเศสก็โหมกระหน่ำโจมตีเข้าไปอีก จนในที่สุดเรือหลวงชลบุรีก็จมลง หลังจากที่เรือหลวงสงขลาจมลงไปได้ไม่นาน
แต่ก่อนที่เรือทั้งสองจะจมลงไปได้ไม่นาน เรือหลวงธนบุรีได้ถอนสมอเรือขึ้นและแล่นเรืออกจากเกาาะช้าง มาถึงจุดที่เกิดการปะทะกันในช่วง 6.20น. เมื่อมาถึงเรือหลวงธนบุรีก็ได้เข้าปะทะกันเรือลามอตต์ ปิเกต์ และเรือสลุปอื่นๆ แต่เมื่อเรือหลวงสงขลาและชลบุรีจมลง เรือหลวงธนบุรีก็ถูกรุมจากเรือทั้งหมดของฝรั่งเศส กลายเป็นว่า ณ ตอนนี้ ฝ่ายไทยกำลังโดนรุมจากฝรั่งเศสแบบ 5 รุม 1 นั่นเอง
ทหารเรือบนเรือหลวงธนบุรีต่อสู้อย่างกล้าหาญ แม้จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอย่างมากก็ตาม ซึ่งเรือหลวงธนบุรีก็ได้รับความเสียหายอย่างมากไปตามระเบียบ เรือถูกไฟไหม้อย่างหนัก และสำคัญที่สุดได้มีลูกระเบิดลูกหนึ่งจากเรือลามอตต์ ปิเกต์ยิงมาตกที่ใต้สะพานเดินเรือและเกิดระเบิดขึ้น ทำให้ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีรวมทั้งนายทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสหลายนาย ส่งผลให้การบังคับบัญชา สื่อสาร และควบคุมหยุดชะงัก ระบบถือท้ายเสียหายบังคับทิศทางไม่ได้ และทำให้เรือหลวงธนบุรีแล่นเรือเป็นวงกลมถึง 4 รอบด้วยกันก่อนที่จะกลับมาสู่เส้นทางได้
หลังจากกลับเข้าสู่เส้นทางปกติได้ ป้อมปืนไม่ทำงาน ทหารบนเรือหลวงธนบุรีจึงต้องใช้วิธีการหมุนป้อมปืนด้วยมือเองเพื่อทำให้การยิงโต้ตอบ ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบากแต่ถึงกระนั้นก็ยังสร้างความเสียหายให้แก่เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ในที่สุด แต่ก็ไม่วายเมื่อเครื่องบินฝรั่งเศสไดทิ้งระเบิดใส่เรือหลวงธนบุรีทำให้เรือเสียหายหนักอีกครั้ง ป้อมปืนที่เหลือของเรือหลวงธนบุรีไม่สามารถยิงได้อย่างแม่นยำแล้วเนื่องจากไม่อาจบังคับเรือได้ตรงทิศทาง เรือหลวงธนบุรีจึงได้แล่นลำเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น เมื่อเห็นอย่างนั้นฝรั่งเศสก็ได้ยิงตอร์ปิโดลูกหนึ่งใส่เรือหลวงธนบุรีแต่พลาดเป้า หลังจากนั้นฝรั่งเศสก็ได้ถอนทัพเพราะกลัวกองหนุนของไทย เพราะไทยรู้ตัวแล้ว ในที่สุดเรือทั้งสองก็หยุดยิง
หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายหยุดยิง และฝรั่งเศสล่าถอยไปแล้ว เหล่าทหารไทยก็ได้โห่ร้องออกมาอย่างเต็มที่ และแสดงความดีใจที่สามารถขับไล่พวกฝรั่งเศสออกไปได้ หลังจากนั้นเหล่าทหารก็ช่วยกันดับไฟที่เกิดขึ้นบนตัวเรือ แต่ไม่ว่าจะทำยังไงไฟก็ไม่ยอมดับ เรือเอกทองอยู่ สว่างเนตร์ ต้นเรือซึ่งทำหน้าที่แทนผู้บังคับการเรือ จึงตัดสินใจไขน้ำเข้าคลังกระสุนและดินปืน เพื่อไม่ให้ดินปืนระเบิดเมื่อไฟไปถึง นอกจากนี้เรือหลวงช้าง ยังมาช่วยดับไฟในครั้งนี้ด้วย แต่ว่าเพราะสายสูบน้ำผ้าใบยาวไม่พอที่จะลากหัวสูบไปฉีดให้ถึงห้องต่างๆ ภายใต้ดาดฟ้าเรือได้ เรือหลวงช้างจึงเปลี่ยนวิธีเป็นทำการลากจูงเรือหลวงธนบุรีไปพลางพร้อมทั้งทำการดับไฟในเรือไปด้วย แต่ก็ยังไม่ได้ผลอีก เมื่อเห็นหมดทางที่จะแก้ไขได้แล้ว ผู้บังคับการเรือหลวงช้างจึงตัดสินใจจูงเรือหลวงธนบุรีให้ไปเกยตื้นที่บริเวณแหลมงอบ โดยหลังจากมาถึงเขตน้ำตื้นเห็นว่าไม่สามารถไปต่อได้ ต้นเรือคนเดิมก็ได้สั่งให้ลำเลียงผู้บาดเจ็บขึ้นเรือหลวงช้าง แล้วสั่งสละเรือ โดยหลังจากที่สละเรือได้ไม่นานเรือหลวงธนบุรีก็จมลง
ผลจากการศึกครั้งนี้ ไทยเราเสียเรือรบไป 3 ลำ ได้แก่เรือหลวงชลบุรี เรือหลวงสงขลาและเรือหลวงธนบุรี และมีผู้เสียชีวิตไป 36 คน ส่วนทางฝรั่งเศส แม้จะไม่เสียเรือรบลำใดเลยก็ตาม แต่เรือธงลาม็อต-ปีเกนั้นก็ได้รับความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน ส่วนจำนวนทหารที่เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้น การข่าวของฝ่ายไทยไม่ทราบจำนวนแน่นอน แต่มีรายงานว่าเมื่อเรือข้าศึกกลับถึงไซ่ง่อน ได้มีการขนศพทหารที่เสียชีวิต และทหารที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นบกกันตลอดคืน ขณะที่ฝ่ายฝรั่งเศสอ้างว่าไม่มีความสูญเสียแต่อย่างใดเลย แต่ฝ่ายไทยกลับยืนยันว่าเรือลาม็อต-ปีเกถูกเรือหลวงธนบุรียิงเข้าอย่างจัง จนสังเกตได้ว่ามีไฟลุกอยู่ตอนท้ายเรือ และลำเรือตอนท้ายนั้นแปล้น้ำมากกว่าปกติ โดยอ้างตามคำให้การของทหารเรือที่รอดชีวิตและชาวประมงที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่การรบนี้ ได้มีบันทึกต่อมาว่า ภายหลังกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดจีนจากฝรั่งเศส เรือลาม็อต-ปีเกได้เดินทางไปยังนครโอซะกะ จักรวรรดิญี่ปุ่น เพื่อซ่อมบำรุงเรือในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 หลังจากนั้นจึงได้ปลดเป็นเรือฝึกเมื่อเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และถูกจมโดยเครื่องบินสังกัดกองเรือเฉพาะกิจที่ 38 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2488
ยุทธนาวีเกาะช้างในครั้งนี้้ เป็นส่วนหนึ่งของกรณีพิพาทอินโดจีน ซึ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 จากการประท้วงให้รัฐบาลทำสงครามเพื่อเอาดินแดนที่เราเคยเสียไปในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคืนมา โดยสงครามที่ไทยทำกับฝรั่งเศสในครั้งนี้ เป็นฝรั่งเศสเขตวิชีหรือฝรั่งเศสที่เข้าข้างกับเยอรมันนั่นเอง โดยหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ทำการยิงจรวดใส่จังหวัดนครพนมของเรา ซึ่งเป็นเหมือนกับการประกาศสงคราม ไทยจึงได้ทำการตอบโต้จากทั้งทางบกและทางอากาศ ซึ่งฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ ด้วยเหตุนั้นฝรั่งเศสจึงเริ่มตอบโต้ไทย โดยการส่งเรือรบมาโจมตีไทยที่เกาะช้าง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุทธนาวีครั้งนี้
ยุทธนาวีเกาะช้างเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 โดยเหตุการณ์เริ่มขึ้นเมื่อเครื่องบินราดตระเวนฝรั่งเศสที่ประจำการอยู่ที่กัมพูชามาราดตระเวนทหารและกองเรือไทย ในช่วงเช้าตรู่เวลาประมาณ 6 โมงเช้าก่อนบินกลับไป แต่ในเวลาไม่นานถัดจากนั้นเครื่องบินรบฝรั่งเศสก็บินมายังเกาะช้างอีกครั้ง พร้อมกับทิ้งระเบิดโจมตีเรือตอร์ปิโดของไทย แต่ไทยก็ยิงเครื่องบินของฝรั่งเศสตกโดย ปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยาน ซึ่งทำให้ทางไทยเริ่มเตรียมการเพื่อที่จะรับศึกอันใกล้ที่กำลังจะเกิดขึ้น
เรือลามอตต์ ปิเกต์ ของฝ่ายวิชีฝรั่งเศส |
ต่อมาไม่นานทางกองทัพเรือฝรั่งเศสอันนำโดยเรือลามอตต์ ปิเกต์ โดยมีนาวาเอก เรจี เบรังเยร์เป็น ผู้บัญชาการเรือ พร้อมด้วยเรืออื่นจากหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 7 ได้เริ่มต้นการบุกเข้ามายังเกาะช้าง ซึ่งในตอนนั้นแถวเกาะช้างมีเรือหลวงชลบุรี เรือหลวงสงขลาและเรือหลวงธนบุรีประจำการอยู่ ซึ่งทั้งหมดประจำสถานีรบเรียบร้อยแล้ว
เรือหลวงสงขลา |
เรือดูมองต์ ดูร์วิลล์ ของฝรั่งเศส |
เรือหลวงธนบุรี |
ภาพเปรียบเทียบระหว่างเรือหลวงธนบุรี(สีขาว) และเรือลามอตต์ ปิเกต์(สีดำ) |
นาวาโทหลวงพร้อมวีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี ซึ่งเสียชีวิตในการรบ |
หลังจะหยุดยิงแล้ว กองหนุนฝ่ายการบินได้เข้ามาทิ้งระเบิดใส่เรือลามอตต์ปิเกต์ แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้มากเพราะโดนปืนต่อต้านอากาศยานอย่างหนัก ทำให้สามารถสร้างความเสียหายให้กับลามอตต์ ปิเกต์ได้แค่นิดเดียวเท่านั้น
ภาพขณะไฟไหม้บนเรือหลวงธนบุรี |
ผลจากการศึกครั้งนี้ ไทยเราเสียเรือรบไป 3 ลำ ได้แก่เรือหลวงชลบุรี เรือหลวงสงขลาและเรือหลวงธนบุรี และมีผู้เสียชีวิตไป 36 คน ส่วนทางฝรั่งเศส แม้จะไม่เสียเรือรบลำใดเลยก็ตาม แต่เรือธงลาม็อต-ปีเกนั้นก็ได้รับความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน ส่วนจำนวนทหารที่เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้น การข่าวของฝ่ายไทยไม่ทราบจำนวนแน่นอน แต่มีรายงานว่าเมื่อเรือข้าศึกกลับถึงไซ่ง่อน ได้มีการขนศพทหารที่เสียชีวิต และทหารที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นบกกันตลอดคืน ขณะที่ฝ่ายฝรั่งเศสอ้างว่าไม่มีความสูญเสียแต่อย่างใดเลย แต่ฝ่ายไทยกลับยืนยันว่าเรือลาม็อต-ปีเกถูกเรือหลวงธนบุรียิงเข้าอย่างจัง จนสังเกตได้ว่ามีไฟลุกอยู่ตอนท้ายเรือ และลำเรือตอนท้ายนั้นแปล้น้ำมากกว่าปกติ โดยอ้างตามคำให้การของทหารเรือที่รอดชีวิตและชาวประมงที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่การรบนี้ ได้มีบันทึกต่อมาว่า ภายหลังกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองอินโดจีนจากฝรั่งเศส เรือลาม็อต-ปีเกได้เดินทางไปยังนครโอซะกะ จักรวรรดิญี่ปุ่น เพื่อซ่อมบำรุงเรือในเดือนกันยายน พ.ศ. 2484 หลังจากนั้นจึงได้ปลดเป็นเรือฝึกเมื่อเดือนธันวาคมปีเดียวกัน และถูกจมโดยเครื่องบินสังกัดกองเรือเฉพาะกิจที่ 38 ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2488
อนุสรณ์เรือหลวงธนบุรี |
จากการรบในครั้งนี้ฝ่ายไทยเราประสบความสำเร็จที่สามารถป้องกันประเทศจากฝรั่งเศสได้ และถึงแม้เหตุการณ์นี้จะไม่ได้เป็นการต่อสู้ขนาดใหญ่ แต่ก็เป็นการต่อสู้ที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญของกองทัพเรือไทย ที่พยายามต่อสู้สุดชีวิตเพื่อปกป้องประเทศไทย ให้อยู่สืบมาจนถึงทกวันนี้
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0642303213 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
อ้างอิง
ยุทธนาวีเกาะช้าง(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
Time Machine Journey ตอน...ยุทธนาวีเกาะช้าง(2555). จากhttps://www.chillpainai.com
ยุทธนาวีเกาะช้าง วีรกรรมทหารเรือไทย จากhttp://mootat.blogspot.com
17 มกราคม พ.ศ.2484 : ทัพเรือไทยปะทะทัพเรือฝรั่งเศสใน “ยุทธนาวีเกาะช้าง” (2561). จากhttps://www.silpa-mag.com
Koh Chang History – Siam, Battle of Koh Chang, Backpackers จากhttp://explorekohchang.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น