หลังจากสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 ที่แสดงให้เห็นว่าพม่านั้นอ่อนด้อยต่ออังกฤษในหลายด้านๆ ทำให้พม่าต้องยอมรับสนธิสัญญายันดาโบ ซึ่งจากสนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้ระบบการค้าของพม่าเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก จากระบบการค้าผูกขาดมาเป็นระบบการค้าเสรี แต่จากการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันแบบนี้ทำให้เกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันบ้างระหว่างชาวพม่ากับพ่อค้าอังกฤษ จนกระทั่งเกิดเป็นสงครามหลังจากพม่าแข็งข้อต่ออังกฤษหลังจากปรับพ่อค้าชาวอังกฤษ 2 คนโดยอ้างว่าได้ฆ่าคนพม่าตายไป เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปเชิญติดตามอ่านได้จากบทความต่อไปนี้
สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 ติดตามอ่านได้จากลิ้งค์นี้ สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1
หลังจากที่จบสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 ที่พม่าพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ทำให้เกิดสนธิสัญญายันดาโบ ที่เปลี่ยนระบบการปกครองและการค้าของพม่าอย่างกระทันหัน และนอกจากนี้พม่ายังต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามให้กับอังกฤษไปอีกจำนวนมหาสาร
โดยผลที่ได้จากสนธิสัญญายันดาโบมีดังนี้
- พม่าต้องยกรัฐ อัสสัม มณีปุระ อาระกันและตะนาวศรีให้อังกฤษอย่างไม่มีเงื่อนไข
- พม่าต้องจ่ายเงินจำนวน 1 ล้านปอนด์เดอลิง เป็นค่าปฏอกรรมสงคราม โดยแบ่งจ่ายออกเป็น 4 งวด
- ทางการพม่าต้องอนุญาติในการตั้งกงสุลในประเทศ และมีการฑูตที่ดีต่อกัน
- และพม่าต้องยอมรับสนธิสัญญาทางด้านการค้่าที่อังกฤษกำลังจะทำ
โดยสนธิสัญญานี้พม่าต้องทำตามอย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะดันทำตัวไปซ่ากับอังกฤษแล้วกลับแพ้ โดยเฉพาะการจ่าค่าปฏิกรสงครามแค่งวดแรกงวดเดียว เงินในพระคลังก็แทบร่อยหรอกันเลยทีเดียว นี่ยังเหลืออีกสามงวด ทางการพม่าจึงต้องเรียกเก็บเงินจากทั้งประชาชนและเหล่าขุนนางมาจ่ายให้กับอังกฤษ และหลังจากนั้นไม่นานสนธิสัญญาทางการค้าก็ร่างสำเร็จจากทั้งตัวแทนของพม่าและอังกฤษ โดยผลที่ได้จากสนธิสัญญาทางการค้ามีดังนี้
- พม่าต้องเปิดการค้าขายแบบเสรีและยกเลิกการผูกขาดสินค้า
- พม่าต้องกำหนดอัตราภาษีอย่างมีมาตรฐานชัดเจน โดยเรียกเก็บตามน้ำหนักเรือเท่านั้น อย่าริคิดใช้วิธีอื่นในการเก็บภาษี
- ในกรณีฉุกเฉินที่อังกฤษเรียกร้อง พม่าจะต้องเข้าช่วยเหลือ และอังกฤษจะจ่ายค่าแรงให้
ซึ่งพม่านั้นเสียเปรียบในหลายๆด้าน จากการทำสนธิสัญญายันดาโบ แต่ก็ไม่สามารหืออือกับอังกฤษได้ และในเวลาเดียวกันในวังของพม่า พระนางเมนูและน้องชายของเขามินตาจีก็กำลังขึ้นมามีอำนาจเนื่องจากพระเจ้าจักกายแมงผู้เป็นกษัตริย์เริ่มมีสติวิปราส โดยพระนงเมนูพยายามให้พระราชโอรสองค์น้อยอย่างเจ้าชายนยาวยานขึ้นเป็นกษัตริย์เพื่อที่ตนจะได้ปกครองหลังม่านกษัตริย์นั่นเอง ซึ่งการมามีอำนาจของพระนางเมนูและมินตาจีนี่ ทำให้เจ้าชายสารวดีผุ้เป็นน้องของกษัตริย์นั่นพยายามหยุดอำนาจของพระนางเมนูเอาไว้ และในที่สุดหลังจากที่รวบรวมผู้คนไว้มากมาย เจ้าชายสารวดีก็สามารถยึดอำนาจของพระนางเมนูได้ในที่สุดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2380 โดยหลังจากยึดอำนาจเสร็จพระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าสารวดีแต่นามนั้นชาวไทยเราเรียกยาง ชาวไทยจึงรู้จักท่านในนามว่าพระเจ้าแสรกแมง และพระองค์ก็ยังไม่ลืมทำลายสิ่งที่จะเป็นเสี้ยนหนามในอนาคตอย่างพระนางเมนู มินตาจีและเจ้าชายนยองยานที่มีอำนาจก่อนการยึดอำนาจ โดยทั้งสามคนได้ถูกส่งไปหายมบาลในเวลาไล่เลี่ยกัน ส่วยพระเจ้าจักกายแมงผู้เป็นพี่นั้นพระองค์ได้ไว้ชีวิตแต่ถอดถอนพระองค์ออกจากการเป็นกษัตริย์และควบคุมตัวดูแลเป็นพิเศษจากในวังของเขา
โดยหลังจากที่พระเจ้าแสรกแมงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ก็ได้ซื้อพวกอาวุธใหม่ๆ จากเหล่าพ่อค้าอังกฤษที่พยายามค้าขายอาวุธใหม่ให้แก่พระองค์ ซึ่งเงินที่ได้มานี้เกิดจากเศรฐกิจการค้าที่ดีขึ้นหลังจากอังกฤษมาช่วยเหลือด้านการเกษตรเพื่อให้พม่าจ่ายเงินงวดที่ค้างคาอยู่ แต่ว่าก็มีพวกพ่อค้าที่อิจฉากันเองได้บอกเรื่องการซื้ออาวุธของพระเจ้าแสรกแมงให้กับ พลตรีเฮนรี่ เบอร์นี่ ข้าหลวงใหญ่ของพม่าในขณะนั้นซึ่งแทนที่เรื่องนี้จะส่งผลต่อพ่อค้าอังกฤษ แต่กษัตริย์พม่ากลับกลายมาเป็นแพะรับบาปโดยเฮนรี่ เบอร์นี้ได้บอกกับองค์กษัตริย์ว่า ท่านกำลังละเมิดสนธิสัญญา และยังขู่พระเจ้าแสรกแมงไม่ให้ซื้ออาวุธอีกต่อไป แม้พม่าจะแก้ตัวว่าจะเอาไว้ป้องกันตัวจากไทย ที่ไทยกำลังบุกเชียงตุงอยู่แต่ทางเบอร์นี่ก็ยังไม่เชื่ออยู่ พระเจ้าแสรกแมงก็บอกว่าอังกฤษนั่นแหละเป็นตัวละเมิดเพราะไม่ห้ามไทยบุกเชียงตุง ต่อไปนี้พระองค์จะไม่เคารพสัญญาอะไรทั้งนั้น เมื่อได้ฟังเช่นนั้นเบอร์นี้โกรธมากจนเดินทางกลับอินเดียโดยไม่กล่าวอะไรอีก ทางพม่าที่เห็นเช่นนั้นจึงดีใจยกใหญ่และคิดว่าอีกไม่นานพวกฑูตอังกฤษก็คงเดินทางกลับบ้านเองนั่นแหละ
หลังจากที่เฮนรี่ เบอร์นี่กลับอินเดียไป พระเจ้าแสรกแมงที่ดีใจยกใหญ่ได้นำทหารอีกกว่า 15000 คน ลงไปยังเมืองย่างกุ้งเพื่อบูชาพระเกษาธาตุ ณ เจดีย์ชเวดากอง แต่หลังจากที่ไหว้พระเจดีย์เสร็จแล้วพระเจ้าแสรกแมงก็ได้เรียกร้องให้อังกฤษคืนยะไข่และตะนาวศรี เมื่อการเรียกร้องเอกราชไม่เป็นผลจึงเสด็จกลับอมรปุระในท้ายที่สุด ซึ่งหลังจากกลับอมรปุระแล้วด้วยเหตุอันใดมิทราบ พระเจ้าแสรกแมงอยู่ๆ ก็มีสติวิปราสไปอีกคนหนึ่ง ทำให้เจ้าชายพุกาม มิน ยึดอำนาจแล้วขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าพุกามแมง(เหตุการณ์ดูคุ้นๆนะ)
ในตอนที่พระเจ้าพุกามแมงขึ้นครองราชย์ เหจุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยจะสิ้นหวังมากนัก เพราะพม่ายังมีเมืองท่าติดทะเลอย่างย่างกุ้งอยู่ แต่ย่างกุ้งก็มักจะเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้งระหว่างข้าหลวงพม่าและพ่อค้าอังกฤษ จนในที่สุดเมื่อปี 1851 เมาโอ๊กเมียนหวุ่นประจำพะโคได้กล่าวหาได้กล่าวหากัปตันและลูกเรือชาวอังกฤษ 2 คนว่าทำผิดระเบียบเมืองท่าของพม่าและเป็นฆาตกร จึงนำตัวขึ้นศาลและสั่งปรับเป็นเงิน 1,000 รูปี ฝ่ายอังกฤษเห็นว่าเป็นการลบหลู่เกียรติจึงได้ส่งฑูตเข้ามาเจรจากับทางพม่า แต่ทว่าการเจรจากลับไม่สำเร็จ ทำให้ทางการอังกฤษส่งจดหมายยื่นคำขาดให้กับพม่า ดดยเนื้อหาของจดหมายนั้นมีดังนี้
- ให้ปลดข้าหลวงพม่าออกจากตำแหน่งทันที
- ให้พระเจ้าพุกามแมงขอโทษบริษัทอินเดียตะวันออกอย่างเป็นทางการ
- ให้จ่ายค่าปรับ10,000ปอนด์เสตอริงให้กัปตันเรือ2คน และให้ชดใช้ทรัพย์สินของคนอังกฤษที่เสียหายจากปืนเรือรบ และค่าใช้จ่ายในการเตรียมทำสงครามที่อังกฤษจ่ายไปแล้ว
- ให้ปฏิบัติตามสนธิสัญญายันดาโบตามแบบเดิม
เมื่อคำขาดฉบับนี้มาถึงยังพระเจ้าพุกามแมง พระองค์ก็รู้สึกสิ้นหวังเต็มที่ ตอนนี้พระองค์มี 2 ทางเลือก คือยอมทำตามสนธิสัญญาเพื่อรักษาเอกราช หรือยอมต่อสู้เพื่อรักษาอิสรภาพ ก็ไม่ต้องบอกอย่างอื่นเลยเลือดของพม่าเป็นเลือดนักรบ เพราะเช่นนั้นพระเจ้าพุกามแมงจึงทำการต่อสู้แทนการทำตามคำขาดที่ได้มา
สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 ติดตามอ่านได้จากลิ้งค์นี้ สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1
หลังจากที่จบสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 1 ที่พม่าพ่ายแพ้อย่างหมดรูป ทำให้เกิดสนธิสัญญายันดาโบ ที่เปลี่ยนระบบการปกครองและการค้าของพม่าอย่างกระทันหัน และนอกจากนี้พม่ายังต้องเสียค่าปฏิกรรมสงครามให้กับอังกฤษไปอีกจำนวนมหาสาร
โดยผลที่ได้จากสนธิสัญญายันดาโบมีดังนี้
- พม่าต้องยกรัฐ อัสสัม มณีปุระ อาระกันและตะนาวศรีให้อังกฤษอย่างไม่มีเงื่อนไข
- พม่าต้องจ่ายเงินจำนวน 1 ล้านปอนด์เดอลิง เป็นค่าปฏอกรรมสงคราม โดยแบ่งจ่ายออกเป็น 4 งวด
- ทางการพม่าต้องอนุญาติในการตั้งกงสุลในประเทศ และมีการฑูตที่ดีต่อกัน
- และพม่าต้องยอมรับสนธิสัญญาทางด้านการค้่าที่อังกฤษกำลังจะทำ
โดยสนธิสัญญานี้พม่าต้องทำตามอย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะดันทำตัวไปซ่ากับอังกฤษแล้วกลับแพ้ โดยเฉพาะการจ่าค่าปฏิกรสงครามแค่งวดแรกงวดเดียว เงินในพระคลังก็แทบร่อยหรอกันเลยทีเดียว นี่ยังเหลืออีกสามงวด ทางการพม่าจึงต้องเรียกเก็บเงินจากทั้งประชาชนและเหล่าขุนนางมาจ่ายให้กับอังกฤษ และหลังจากนั้นไม่นานสนธิสัญญาทางการค้าก็ร่างสำเร็จจากทั้งตัวแทนของพม่าและอังกฤษ โดยผลที่ได้จากสนธิสัญญาทางการค้ามีดังนี้
- พม่าต้องเปิดการค้าขายแบบเสรีและยกเลิกการผูกขาดสินค้า
- พม่าต้องกำหนดอัตราภาษีอย่างมีมาตรฐานชัดเจน โดยเรียกเก็บตามน้ำหนักเรือเท่านั้น อย่าริคิดใช้วิธีอื่นในการเก็บภาษี
- ในกรณีฉุกเฉินที่อังกฤษเรียกร้อง พม่าจะต้องเข้าช่วยเหลือ และอังกฤษจะจ่ายค่าแรงให้
ซึ่งพม่านั้นเสียเปรียบในหลายๆด้าน จากการทำสนธิสัญญายันดาโบ แต่ก็ไม่สามารหืออือกับอังกฤษได้ และในเวลาเดียวกันในวังของพม่า พระนางเมนูและน้องชายของเขามินตาจีก็กำลังขึ้นมามีอำนาจเนื่องจากพระเจ้าจักกายแมงผู้เป็นกษัตริย์เริ่มมีสติวิปราส โดยพระนงเมนูพยายามให้พระราชโอรสองค์น้อยอย่างเจ้าชายนยาวยานขึ้นเป็นกษัตริย์เพื่อที่ตนจะได้ปกครองหลังม่านกษัตริย์นั่นเอง ซึ่งการมามีอำนาจของพระนางเมนูและมินตาจีนี่ ทำให้เจ้าชายสารวดีผุ้เป็นน้องของกษัตริย์นั่นพยายามหยุดอำนาจของพระนางเมนูเอาไว้ และในที่สุดหลังจากที่รวบรวมผู้คนไว้มากมาย เจ้าชายสารวดีก็สามารถยึดอำนาจของพระนางเมนูได้ในที่สุดเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2380 โดยหลังจากยึดอำนาจเสร็จพระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าสารวดีแต่นามนั้นชาวไทยเราเรียกยาง ชาวไทยจึงรู้จักท่านในนามว่าพระเจ้าแสรกแมง และพระองค์ก็ยังไม่ลืมทำลายสิ่งที่จะเป็นเสี้ยนหนามในอนาคตอย่างพระนางเมนู มินตาจีและเจ้าชายนยองยานที่มีอำนาจก่อนการยึดอำนาจ โดยทั้งสามคนได้ถูกส่งไปหายมบาลในเวลาไล่เลี่ยกัน ส่วยพระเจ้าจักกายแมงผู้เป็นพี่นั้นพระองค์ได้ไว้ชีวิตแต่ถอดถอนพระองค์ออกจากการเป็นกษัตริย์และควบคุมตัวดูแลเป็นพิเศษจากในวังของเขา
โดยหลังจากที่พระเจ้าแสรกแมงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ก็ได้ซื้อพวกอาวุธใหม่ๆ จากเหล่าพ่อค้าอังกฤษที่พยายามค้าขายอาวุธใหม่ให้แก่พระองค์ ซึ่งเงินที่ได้มานี้เกิดจากเศรฐกิจการค้าที่ดีขึ้นหลังจากอังกฤษมาช่วยเหลือด้านการเกษตรเพื่อให้พม่าจ่ายเงินงวดที่ค้างคาอยู่ แต่ว่าก็มีพวกพ่อค้าที่อิจฉากันเองได้บอกเรื่องการซื้ออาวุธของพระเจ้าแสรกแมงให้กับ พลตรีเฮนรี่ เบอร์นี่ ข้าหลวงใหญ่ของพม่าในขณะนั้นซึ่งแทนที่เรื่องนี้จะส่งผลต่อพ่อค้าอังกฤษ แต่กษัตริย์พม่ากลับกลายมาเป็นแพะรับบาปโดยเฮนรี่ เบอร์นี้ได้บอกกับองค์กษัตริย์ว่า ท่านกำลังละเมิดสนธิสัญญา และยังขู่พระเจ้าแสรกแมงไม่ให้ซื้ออาวุธอีกต่อไป แม้พม่าจะแก้ตัวว่าจะเอาไว้ป้องกันตัวจากไทย ที่ไทยกำลังบุกเชียงตุงอยู่แต่ทางเบอร์นี่ก็ยังไม่เชื่ออยู่ พระเจ้าแสรกแมงก็บอกว่าอังกฤษนั่นแหละเป็นตัวละเมิดเพราะไม่ห้ามไทยบุกเชียงตุง ต่อไปนี้พระองค์จะไม่เคารพสัญญาอะไรทั้งนั้น เมื่อได้ฟังเช่นนั้นเบอร์นี้โกรธมากจนเดินทางกลับอินเดียโดยไม่กล่าวอะไรอีก ทางพม่าที่เห็นเช่นนั้นจึงดีใจยกใหญ่และคิดว่าอีกไม่นานพวกฑูตอังกฤษก็คงเดินทางกลับบ้านเองนั่นแหละ
หลังจากที่เฮนรี่ เบอร์นี่กลับอินเดียไป พระเจ้าแสรกแมงที่ดีใจยกใหญ่ได้นำทหารอีกกว่า 15000 คน ลงไปยังเมืองย่างกุ้งเพื่อบูชาพระเกษาธาตุ ณ เจดีย์ชเวดากอง แต่หลังจากที่ไหว้พระเจดีย์เสร็จแล้วพระเจ้าแสรกแมงก็ได้เรียกร้องให้อังกฤษคืนยะไข่และตะนาวศรี เมื่อการเรียกร้องเอกราชไม่เป็นผลจึงเสด็จกลับอมรปุระในท้ายที่สุด ซึ่งหลังจากกลับอมรปุระแล้วด้วยเหตุอันใดมิทราบ พระเจ้าแสรกแมงอยู่ๆ ก็มีสติวิปราสไปอีกคนหนึ่ง ทำให้เจ้าชายพุกาม มิน ยึดอำนาจแล้วขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้าพุกามแมง(เหตุการณ์ดูคุ้นๆนะ)
เมืองท่าย่างกุ้ง |
ในตอนที่พระเจ้าพุกามแมงขึ้นครองราชย์ เหจุการณ์บ้านเมืองไม่ค่อยจะสิ้นหวังมากนัก เพราะพม่ายังมีเมืองท่าติดทะเลอย่างย่างกุ้งอยู่ แต่ย่างกุ้งก็มักจะเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกันบ่อยครั้งระหว่างข้าหลวงพม่าและพ่อค้าอังกฤษ จนในที่สุดเมื่อปี 1851 เมาโอ๊กเมียนหวุ่นประจำพะโคได้กล่าวหาได้กล่าวหากัปตันและลูกเรือชาวอังกฤษ 2 คนว่าทำผิดระเบียบเมืองท่าของพม่าและเป็นฆาตกร จึงนำตัวขึ้นศาลและสั่งปรับเป็นเงิน 1,000 รูปี ฝ่ายอังกฤษเห็นว่าเป็นการลบหลู่เกียรติจึงได้ส่งฑูตเข้ามาเจรจากับทางพม่า แต่ทว่าการเจรจากลับไม่สำเร็จ ทำให้ทางการอังกฤษส่งจดหมายยื่นคำขาดให้กับพม่า ดดยเนื้อหาของจดหมายนั้นมีดังนี้
- ให้ปลดข้าหลวงพม่าออกจากตำแหน่งทันที
- ให้พระเจ้าพุกามแมงขอโทษบริษัทอินเดียตะวันออกอย่างเป็นทางการ
- ให้จ่ายค่าปรับ10,000ปอนด์เสตอริงให้กัปตันเรือ2คน และให้ชดใช้ทรัพย์สินของคนอังกฤษที่เสียหายจากปืนเรือรบ และค่าใช้จ่ายในการเตรียมทำสงครามที่อังกฤษจ่ายไปแล้ว
- ให้ปฏิบัติตามสนธิสัญญายันดาโบตามแบบเดิม
เมื่อคำขาดฉบับนี้มาถึงยังพระเจ้าพุกามแมง พระองค์ก็รู้สึกสิ้นหวังเต็มที่ ตอนนี้พระองค์มี 2 ทางเลือก คือยอมทำตามสนธิสัญญาเพื่อรักษาเอกราช หรือยอมต่อสู้เพื่อรักษาอิสรภาพ ก็ไม่ต้องบอกอย่างอื่นเลยเลือดของพม่าเป็นเลือดนักรบ เพราะเช่นนั้นพระเจ้าพุกามแมงจึงทำการต่อสู้แทนการทำตามคำขาดที่ได้มา
เมื่อเห็นพม่าทำการต่อสู้แทนที่จะยอมจ่ายค่าปรับตามที่กำหนด ทัพอังกฤษเองก็ประกาศสงครามกับพม่ายกทัพมาหวังจะตีเอาเมืองท่าของพม่าให้ได้ โดยทัพของอังกฤษนั้นได้แบ่งออกเป็น 2 ทาง ทางแรกยกทัพหวังตีเอาเมืองเมาะลำเลิง ส่วนอีกทัพหนึ่งให้ปิดล้อมเมืองย่างกุ้งเอาไว้ก่อน ทัพบกอังกฤษสามารถยึดเมาะลำเลิงและเมาะตะมะได้อย่างรวดเร็ว แล้วยกทัพมาถึงย่างกุ้งภายในเวลาไม่นาน หลังจากทัพบกมา ทัพอีกทัพหนึ่งที่ปิดล้อมเมืองไว้ก็เริ่มบุกเช่นกัน ทหารพม่าที่ประจำอยู่ก็สู้รบอย่างทรหดในฐานชเวดากอง ที่ตั้งเดิมของอังกฤษในสงครามครั้งที่แล้ว แต่หลังจากโดนลูกหนักเข้าไปหลายชุด พม่าก็ต้องล่าถอย ต้องยืนมองเมืองของตนถูกอังกฤษยึดครองไปในที่สุด
หลังจากที่ยึดย่างกุ้งได้สำเร็จ อังกฤษก็เข้ายึดเมืองท่าที่ติดกับทะเลของพม่าทั้งหมด หลังจากนั้นก็ยกทัพขึ้นต่อไปตีกรุงหงสาวดี แม้กองทัพพม่าจะสู้ยิบตาแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อังกฤษไป เป็นไปตามแผนของอังกฤษที่วางแผนดำเนินการยึดพื้นที่เหล่านี้ให้ได้ก่อนที่ฤดูมรสุมจะมาถึง โดยพม่าพยายามกลับไปตั้งหลักใหม่ และในฤดูมรสุมเจ้าชายมินดง มิน ผู้ไม่สนับนุนให้ทำสงครามตั้งแต่แรก ก็พยายามรวบรวมผู้คนเพื่อทำการยึดอำนาจจากพระเจ้าพุกามแมง
หลังจากเสร็จสิ้นฤดูมรสุมแล้วอังกฤษได้เดินหน้าทัพต่อไปยังเมืองแปร แต่ทวาทัพพม่าก็แพ้ไปเหมือนเดิม แม้จะมีขุนพลทัพเป็นลูกชายของมหาพันธุระผู้ยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ได้มีความสามารถในการรบที่เยี่ยมยอดเหมือนพ่อแม้แต่น้อย โดยหลังจากยึดเมืองแปรได้แล้ว ทัพอังกฤษได้พยายามบุกพลเพื่อเข้ายึดกรุงอมรปุระ เพื่อฝ่ายเจ้าชายมินดงเห็นเช่นนั้น จึงรีบทำการยึดอำนาจพระเจ้าพุกามแมง แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ต่อนามว่าพระเจ้ามินดง โดยเป็นการรู้ทั่วกันว่ากษัตริย์ผู้นี้มักใช้การฑูตเพื่อเจรจามากกว่าสงคราม หลังจากขึ้นครองราชย์พระองคืพยายามทำให้สงครามยุติลงให้เร็วที่สุด จึงทำการส่งบาทหลวงชาวอิตาลี 2 คนไปยังแม่ทัพอังกฤษเพื่อเจรจาสงบศึก
การขึ้นครองราชย์ของพระเ้จามินดงในครั้งนี้ ก็เป็นเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้สงครามจบ เพราะพระองค์เป็นพวกที่เจรจามากกว่าการใช้อาวุธ การทำรุนแรงกับกษัตริย์ใหม่พระองค์นี้ พวกอังกฤษอาจจะตกที่นั่งลำบาก สายตานักการเมืองฝ่ายค้านของรัฐสภาอังกฤษกำลังจ้องจับการศึกครั้งนี้อยู่ และสิ่งที่ได้รับการอนุมัติให้กระทำการในคราวนี้ก็มีเพียง ให้ยึดดินแดนทางภาคใต้ของพม่า ซึ่ง ณ บัดนั้นก็ได้เกินเป้ามากมาย อังกฤษได้พื้นที่ผลิตข้าวอันอุดมสมบูรณ์ และได้เมืองท่าทั้งหมดของพม่าแล้ว การรุกฆาตไปขยี้พม่ามากกว่านั้นอาจจะโดนข้อหาว่ากระทำการเกินกว่าเหตุ
สงครามครั้งนี้จบลงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 1852 โดยสงครามนี้ไม่มีการทำสนธิสัญญาร่วมกัน เพราะยังมีสนธิสัญญายันดาโบอยู่ แต่พม่าต้องสูญเสีย พะโค ย่างกุ้ง เมาะตะมะ แปรและพะสิม ซึ่งเป็นการสูญเสียอันมหาสารอย่างมากเพราะเมืองที่อังกฤษยึดไป ส่วนใหญ่เป็นเมืองท่า ซึ่งผลจากสงครามครั้งนี้พม่าต้องสูญเสียเมืองท่าทั้งหมด ทำให้พม่าในตอนนั้นไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การค้าภายในพม่าซบเซาลงมากและนอกจากนี้พม่ายังเป็นเหมือนกับคนที่ยืนอยู่ริมผา ที่ต้องกังวลว่าเมื่อไรอาณาจักรของตนจะรอดจากภัยของอังกฤษ แม้ในขณะนั้นสถานการณ์ภานในอาณาจักรจะสิ้นหวังเต็มทีแล้วก็ตาม
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
อ้างอิง
สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
กระทู้พันทิปของคุณ Navarat.C เรื่องพม่า(จบ)เห่ ตอน5ของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
พม่าเสียเมือง เมื่อพญาราชสีห์สยบลุ่มอิระวดี(2558). จาก http://www.komkid.com
เพจ Facebook : เขียนเรื่อยเปื่อย
หลังจากที่ยึดย่างกุ้งได้สำเร็จ อังกฤษก็เข้ายึดเมืองท่าที่ติดกับทะเลของพม่าทั้งหมด หลังจากนั้นก็ยกทัพขึ้นต่อไปตีกรุงหงสาวดี แม้กองทัพพม่าจะสู้ยิบตาแต่ก็ต้องพ่ายแพ้อังกฤษไป เป็นไปตามแผนของอังกฤษที่วางแผนดำเนินการยึดพื้นที่เหล่านี้ให้ได้ก่อนที่ฤดูมรสุมจะมาถึง โดยพม่าพยายามกลับไปตั้งหลักใหม่ และในฤดูมรสุมเจ้าชายมินดง มิน ผู้ไม่สนับนุนให้ทำสงครามตั้งแต่แรก ก็พยายามรวบรวมผู้คนเพื่อทำการยึดอำนาจจากพระเจ้าพุกามแมง
หลังจากเสร็จสิ้นฤดูมรสุมแล้วอังกฤษได้เดินหน้าทัพต่อไปยังเมืองแปร แต่ทวาทัพพม่าก็แพ้ไปเหมือนเดิม แม้จะมีขุนพลทัพเป็นลูกชายของมหาพันธุระผู้ยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ได้มีความสามารถในการรบที่เยี่ยมยอดเหมือนพ่อแม้แต่น้อย โดยหลังจากยึดเมืองแปรได้แล้ว ทัพอังกฤษได้พยายามบุกพลเพื่อเข้ายึดกรุงอมรปุระ เพื่อฝ่ายเจ้าชายมินดงเห็นเช่นนั้น จึงรีบทำการยึดอำนาจพระเจ้าพุกามแมง แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ต่อนามว่าพระเจ้ามินดง โดยเป็นการรู้ทั่วกันว่ากษัตริย์ผู้นี้มักใช้การฑูตเพื่อเจรจามากกว่าสงคราม หลังจากขึ้นครองราชย์พระองคืพยายามทำให้สงครามยุติลงให้เร็วที่สุด จึงทำการส่งบาทหลวงชาวอิตาลี 2 คนไปยังแม่ทัพอังกฤษเพื่อเจรจาสงบศึก
พระเจ้ามินดง กษัตริย์พม่า |
การขึ้นครองราชย์ของพระเ้จามินดงในครั้งนี้ ก็เป็นเหตุผลสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้สงครามจบ เพราะพระองค์เป็นพวกที่เจรจามากกว่าการใช้อาวุธ การทำรุนแรงกับกษัตริย์ใหม่พระองค์นี้ พวกอังกฤษอาจจะตกที่นั่งลำบาก สายตานักการเมืองฝ่ายค้านของรัฐสภาอังกฤษกำลังจ้องจับการศึกครั้งนี้อยู่ และสิ่งที่ได้รับการอนุมัติให้กระทำการในคราวนี้ก็มีเพียง ให้ยึดดินแดนทางภาคใต้ของพม่า ซึ่ง ณ บัดนั้นก็ได้เกินเป้ามากมาย อังกฤษได้พื้นที่ผลิตข้าวอันอุดมสมบูรณ์ และได้เมืองท่าทั้งหมดของพม่าแล้ว การรุกฆาตไปขยี้พม่ามากกว่านั้นอาจจะโดนข้อหาว่ากระทำการเกินกว่าเหตุ
แผนที่แสดงถึงอาณาเขตบองพม่า หลังจากที่เมืองท่าโดนผนวกเป็นส่วนหนึ่งของบริติชราช (สีชมพู) |
สงครามครั้งนี้จบลงเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 1852 โดยสงครามนี้ไม่มีการทำสนธิสัญญาร่วมกัน เพราะยังมีสนธิสัญญายันดาโบอยู่ แต่พม่าต้องสูญเสีย พะโค ย่างกุ้ง เมาะตะมะ แปรและพะสิม ซึ่งเป็นการสูญเสียอันมหาสารอย่างมากเพราะเมืองที่อังกฤษยึดไป ส่วนใหญ่เป็นเมืองท่า ซึ่งผลจากสงครามครั้งนี้พม่าต้องสูญเสียเมืองท่าทั้งหมด ทำให้พม่าในตอนนั้นไม่มีทางออกสู่ทะเลทำให้การค้าภายในพม่าซบเซาลงมากและนอกจากนี้พม่ายังเป็นเหมือนกับคนที่ยืนอยู่ริมผา ที่ต้องกังวลว่าเมื่อไรอาณาจักรของตนจะรอดจากภัยของอังกฤษ แม้ในขณะนั้นสถานการณ์ภานในอาณาจักรจะสิ้นหวังเต็มทีแล้วก็ตาม
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
อ้างอิง
สงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
กระทู้พันทิปของคุณ Navarat.C เรื่องพม่า(จบ)เห่ ตอน5ของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
พม่าเสียเมือง เมื่อพญาราชสีห์สยบลุ่มอิระวดี(2558). จาก http://www.komkid.com
เพจ Facebook : เขียนเรื่อยเปื่อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น