หลังจากที่พม่ามีชัยเหนือกรุงศรีอยธุยาของเราได้ในสมัยของพระเจ้ามังระ อิทธิพลของพม่าก็กว้างไกลขึ้น และทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตของตนออกไปเป็นจำนวนมาก และด้วยที่ว่าพม่าในสมัยนั้น สามารถมีชัยเหนือกรุงศรีอยุธยา และสามารถต้านกองทัพจีนเอาไว้ได้ ทำให้พม่านั้นเหิมเกริมและพยายามเข้าไปยึดรัฐอัสซัมของบริติชราช และสามารถยึดได้แต่ก็ไม่นานหลังจากนั้นทัพอังกฤษก็ทำสงครามกับพม่า และยึดเมืองพม่าไปหลายแห่งพร้อมกันนั้นพม่าก็ต้องทำสนธิสัญญาและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้อิทธิพลของพม่าในภูมิภาคอุษาคเนย์ต้องหมดไปและกลายเป็นอิทธิพลของชาติตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศสแทน
อิทธิพลของพม่าแผ่กว้างขึนตั่งแต่สามารถพิชิตอาณาจักรอยุธยาได้นอกจากนี้การรบในสงครามจีน-พม่าในสมัยพระเจ้ามังระนั้น ก็สามารถชนะในยุทธการต่างๆได้ ซึ่งทั้งจีนและพม่าต่างก็อ้างถึงชัยชนะของตนกัน ในที่สุดสงครามนี้ก็จบลงโดยการทำสนธิสัญญากองตนแทน เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียระยะยาวของพม่า หลังจากนั้นพม่าก็ปราบหัวเมืองเล็กเมืองน้อยของพม่า ซึ่งดูเหมือนจะเพลินไปหน่อย เพราะยึดไปถึงรัฐอัสซัมเลยทีเดียว
ชนวนเหตุ
หลังจากที่มหาพันฑุระแม่ทัพใหญ่พม่าในสมัยของพระเจ้าจักกายแมงของพม่า สามารถยึดรัฐอัสซัมไว้ได้แล้ว อังกฤษในตอนนั้นไม่ได้ประกาศสงครามในทันที แต่พยายามตั้งตนเป็นพ่อค้าที่ดีแข่งขันกับอิทธิพลของฝรั่งเศสในพม่า แต่ไม่ใช่แค่มาค้าขายยังเดียวแต่ยังส่งร้อยเอกไมเคิล ซิม มาเจรจาและตั้งกงสุลในพม่า ซึ่งคณะของซิมมีหน่วยสืบราชการลับของอังกฤษเข้ามาสืบความเป็นอยู่ ทำเลที่ตั้งและเร่องต่างของพม่าที่อังกฤษยังไม่รู้เพื่อความได้เปรียบของตน ซึ่งในขณะนั้นมหาพันธุระแม่ทัพใหญ่พม่าได้ยกทัพไปปราบพวกยะไข่ที่มายังจิตตะกองและพยายามยึดจิตตะกอง ลอร์ด แอมเฮอร์สข้าหลวงใหญ่ที่ประจำอยู่ที่อินเดียเห็นดีว่า การประกาศสงครามกับพม่า จะยึดเมืองของตนคืนและแผ่อิทธิพลของตนไปยังพม่าได้ง่ายขึ้นจึงประกาศสงครามกับพม่าอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ.1824
สงคราม
หลังจากอังกฤษประกาศสงครามได้ไม่นาน มหาพันธุระพร้อมกำลังทห่รอีก 6000 กว่าคน บุกแคว้นเบงกอลทันที โดยศึกครั้งนี้พม่าสามารถยึดเมืองรัตนะพลัง และเมืองรอบๆนั้นได้ โดยเป็าหมายต่อไปกองกำลังของท่านจะมุ่งไปยังธากาต่อ แต่ว่าอังกฤษไม่ได้โฟกัสที่เมืองนี้อยู่แล้ว แต่อังกฤษตลบหลังพม่าโดยกองทัพเรืออังกฤษได้นำเรือมาล้อมเมืองย่างกุ้งไว้ ทำให้มหาพันธุระต้องนำทัพส่วนหนึ่งไปยังย่างกุ้งเมื่อต่อต้านอังกฤษตามคำสั่งพระเจ้าจักกายแมงกษัตริย์พม่าเวลานั้น
ยุทธการที่ย่างกุ้ง
กองทัพเรืออังกฤษเข้าล้อมเมืองย่างกุ้งเอาไว้ เพราะตามสายสืบอังกฤษที่พม่ารายงานไว้ ย่างกุ้งในตอนนั้นมีกองกำลังทหารที่น้อย ซึ่งกองทัพเรืออังกฤษนั้นมีกองกำลังผสมอินเดีย-อังกฤษอยู่ประมาณ 10,000 นาย ซึ่งแค่กองทัพเรืออังกฤษยิงปืนใหญ่เท่านั้น ประชาชนและทหารพม่าก็แตกทัพกระเจิงหนีออกจากย่างกุ้งกันอย่างทุลักทุเล หลังจากนั้นทัพอังกฤษได้ยกพลขึ้นฝั่งย่างกุ้ง และใช้เนินเล็กๆ บริเวณเจดีย์ชเวดากองเป็นฐานที่มั่นตั้งค่ายของตน ซึ่งเป็นค่ายป้อมที่มีความแข็งแรงและมั่นคง
นอกจากนี้อังกฤษยังส่งร้อยตรีเฮนรี่ เบอร์นี่ เข้ามาแสวงหาแนวร่วมในไทย แต่ความจริงแล้วก็แค่หวังแค่ให้กองทัพช้างไทยขนปืนใหญ่ไปเท่านั้น ซึ่งทางฝั่งไทยให้ความร่วมมือ โดยโปรดเกล้าฯให้พระยารัตนจักรหรือสมิงสอดเบา เป็นทัพหน้า เจ้าพระยามหาโยธาเป็นทัพหลัง โดยเดินทัพข้ามด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อไปบรรจบกับกองทัพอังกฤษที่จะยกทัพมาทางเรือตามแผน ซึ่งทัพไทยก็มีทัพมอญภายใต้ธงไทยร่วมไปด้วย ซึ่งเมื่อทัพไทยไปถึงเมืองใด ผู้คนก็จะพากันมาต้อนรับแสดงความยินดีและร่วมอาสาไทยจะไปรบกับพม่าด้วย แต่เมื่อเจ้าพระยามหาโยธายกไปถึงเตริน เขตเมืองเมาะตะมะก็ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็ยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทำให้ทัพไทยส่วนใหญ่ขอถอนตัวจากสงครามไป
ไม่นานหลังจากนั้น อังกฤษได้ส่งทูตมากรุงเทพอีกครั้งโดยบอกว่า ถ้าช่วยรบแล้วชนะพม่าจะยกเมืองตะนาวศรีและมะริดให้ ซึ่งตอนนั้นพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเห็นว่าน่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเมืองกันโดยหากอังกฤษให้ตะนาวศรีแก่ไทยหลังสงคราม อังกฤษต้องอ้างและอาจครอบครองไทรบุรีได้ แต่ว่าถ้าไม่ไปช่วยรบก็ไม่ได้เรียนรู้ยุทธวิธีการรบของฝรั่ง จึงโปรดให้ พระยาพิพัฒน์โกษายกทัพบกไปทางด่านเจดีย์สามองค์ และมีตราสั่งให้เกณฑ์กองทัพเมืองชุมพร เมืองไชยา โปรดเกล้าฯ ให้พระยาชุมพร (ซุย) เป็นแม่ทัพคุมพลขึ้นเรือจากเมืองระนอง ขึ้นไปทางเมืองมะริดและเมืองทวายอีกพวกหนึ่ง ซึ่งภายหลังจากร่วมรบกับอังกฤษ ไทยก็ปฏิเสธการเอาตะนาวศรีกับอังกฤษ แต่เจรจากับอังกฤษถึงสิทธิ์ของสยามที่ไทรบุรีและปัตตานีแทน
ในขณะเดียกันทัพอังกฤษที่อยู่ในพม่าเป็นฤดูมรสุม ผู้คนในทัพอังกฤษมากมายก็โดนโรคเมืองร้อนเล่นงานไม่ว่าจะเป็น อหิวาเอย บิดเอย มลาเลียเอย ทหารจำนวนไม่น้อยในกองทัพอังกฤษเลย ที่ต้องตายไปด้วยโรคร้ายอย่างนั้น ซึ่งตลอดฤดูมรสุมทหารอังกฤษเห็นว่าไม่สมควรรบ จึงอยู่ในค่ายนั้นทั้งฤดูมรสุม
เมื่อมหาพันธุระกลับมายังนครรัตนปุระอังวะ พระเจ้าจักกายแมงทรงยินดีปรีดายิ่งนัก ตั้งให้เป็นอัครมหาเสนาบดี อันเป็นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า เทียบเท่าสมเด็จเจ้าพระยาของไทยเลยทีเดียว และเมื่อสิ้นฤดูฝนแล้ว อัครมหาเสนาบดีมหาพันธุระได้นำทัพที่มีกำลังพลกว่า 30000 กว่าคนล้อมเมืองย่างกุ้งไว้ โดยท่านเชื่อว่ากองกำลังของเขาจะต้องมีชัยเหนืออังกฤษที่มีกำลังพลน้อยกว่าแน่ๆ แต่ขอโทษนะครับหลังจากเปิดศึกในวันที่ 30 พฤศจิกายนได้ไม่นาน กองทัพพม่าก็โดนปืนใหญ่อังกฤษที่ยิงลูกกระสุนออกมาแล้วระเบิดได้สังหารทหารไปหลายนาย ส่วนปืนใหญ๋ของพม่าก็เหมือนกับยิงลูกเปตองออกมาแทบทำอะไรทหารอังกฤษไม่ได้เลย นอกจากนี้อังกฤษยังมีอาวุธใหม่แกะกล่องที่พึ่งส่งมาจากลอนดอนอีดนั้่นก็คือ จรวดคอนกรีฟ จรวดที่มีน้ำหนักเบา สามารถใช้ได้ผลดีแทนการปืนใหญ่ที่หนัก เคลื่อนทีลำบากในพื้นที่ราบลุ่มเฉอะแฉะ แถมยังมีประสิทธิภาพพอกับปืนใหญ่ เล่นงานทหารพม่าไปหลายนายเลยทีเดียว อังกฤษถล่มค่ายสุดท้ายของพม่าที่เมืองโคคีนอย่างราบคาบ ทหารพม่าและมหาพันธุระ หนีออกมาอย่างทุลักทุเลอีกรอบ โดยหนีลงมาที่เมือง Danubyu เมืองเล็กๆ ที่อยุ่ใกล้กับแม่น้ำอิรวดี ซึ่งกำลังพล 30000 กว่าคนของท่่นอัครเสนาบดี เหลืออยุ่ประมาณ 7000 คนเท่านั้น ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงกองทัพพม่าไม่สามารถเทียบศักยภาพกับกองทัพอังกฤษได้เลย
การต่อสู้ที่ Danubyu
หลังจากที่ทัพของมหาพันธุระพ่ายแพ้ไปในยุทธการเมืองย่างกุ้ง ก็ตั้งค่ายที่เมือง Danubyu วึ่งกองกำลังของพม่าในตอนนั้นมีทั้งที่ผ่านศึกมาแล้วอย่างโชคโชนกับทหารเกณฑ์ที่แม้จะยิงปืนก็ยังยิงไม่เป็น ทหารพม่าตั้งรับอยู่ในค่ายจนกระทั่ง 7 มีนาคม 1825 ทหารอังกฤษ 4000 คน เปิดฉากโจมตีค่ายพม่า มหาพันธุระได้นำทัพของตนเข้าโจมตี การศึกครั้งนี้ทหารพม่าสู้จนเลือดตากระเด็น ไม่ยอมถอยออกจากสนามรบ แต่ทหารกองหลังของอังกฤษตั้งรับด้วยการยิงจรวดใส่ พม่าต้องซมซานกลับเข้าค่ายพรัอมความสูญเสีย ถึงแม้อังกฤษจะสูญเสียไม่น้อยด้วยเช่นกัน
เดือนเมษายน ปี 1825 กองทัพหลวงที่นำโดยนายพลแคมป์เบล ได้ถล่มค่ายของมหาพันธุระ ในขระที่มหาพันธุระกำลังปลุกขวัญของผู้คนในกองทัพ มหาพันธุระเสียชีวิตจากการโดนสะเก็ดระเบิดจากการถล่มของทัพอังกฤษ พม่าพ่ายแพ้ในยุทธการนี้ และอังกฤษยึดย่างกุ้งได้สำเร็จ
การรบที่อาระกัน
อู ซา(U Sa) ได้ต้านกองทัพอังกฤษที่อยู่อาระกันไว้ได้นานหลายเดือน แต่ว่าพอเข้าสู่ปี 1825 เมื่อกองทัพอังกฤษเสริมอังกฤษกว่า 11000 คน เข้ามาช่วยรบ พร้อมนำเรือติดอาวุธ และปืนใหญ่มาช่วยรบ อู ซา ผุ่นำทัพพม่าให้ทหารไปเตรียมตั้งรับอยู่ที่เมือง Mrauk U เมืองหลวงของอาระกันในตอนนั้น ซึ่งค่ายแห่งนี้สามารถต้านทัพอังกฤษได้นานหลายเดือน จนกระทั้่งเดือนมีนาคม 1825 กองกำลังของพม่าที่อยู่อาระกันก็พ่ายแพ้จากการถล่มค่ายครั้งใหญ่ของอังกฤษ อู ซาและทหารบางส่วนสามารถหลบหนีออกจากอาระกันได้แต่ก็ได้รับบาดเจ็บกันทุกคน อังกฤษยึดอาระกันและเมืองต่างๆ ด้านตะวันตกของพม่าได้
ยุทธการเมืองแปร
เดือนพฤศจิกายน ปี 1825 มหาเนเมียวแม่ทัพหลักคนสำคัญของพม่าแทนที่มหาพันธุระที่ได้ตายไป ได้ทำสงครามกับอังกฤษอีกครั้ง โดยทัพของเนเมียวตั้งค่ายอยู่ที่เมืองแปร แล้วทำการปิดล้อมเมืองย่างกุ้ง และตัดการสื่อสารนอกเมืองย่างกุ้งของอังกฤษ แต่ว่าด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ของอังกฤษนั้นเหนือกว่าพม่ามาก จากที่พม่าเป็นฝ่ายได้เปรียบกับต้องเสียเปรียบในเวลาต่อมา จนในที่สุดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1825 ทัพใหญ่ของอังกฤษได้นำกำลังพลผสมระหว่างอังกฤษ-อินเดีย กว่า 4000 คน บุกโจมตีกองทัพใหญ่พม่าที่เมืองแปร และในวันถัดมาอังกฤษก็ใช้ทั้งปืนใหญ่และจรวดถล่มพม่าซะราบคาบ มหาเนเมียวตายในสงคราม และพม่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในที่สุด
ในที่สุดเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ 1826 กองทัพส่วนหน้าของอังกฤษก็มาถึงหมู่บ้านยันดาโบ จะใช้เวลาเดินทัพอีกสักประมาณ 4 วันก็จะเหยียบกรุงอังวะ พระเจ้าจักกายแมงเห็นยังงั้นจึงประกาศยอมแพ้สงคราม พม่าตองทำสนธิสัญญายันดาโบ และต้องยกรัฐอัสสัม ยะไข่ มณีปุระ และตะนาวศรี ให้ักับอังกฤษ แถมยังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเบาะๆ ถึง 5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ทำให้พม่าถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องขอผ่อนจ่ายเป็นงวด เป็นเวลาหลายเดือนเลยทีเดียว
ผลกระทบจากสงคราม
- อิทธิพลและแสนยานุภาพของราชวงศ์คองบองของพม่าในเอเชียอาคเนย์แทบจะหายไปเลยทีเดียว และแทนที่ด้วยอิทธิพลของจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศสในภูมิภาคนี้แทน
- นับเป็นการล่าอาณานิคมอย่างเป็นทางการครั้งแรกของอังกฤษในภูมิภาคนี้
- เกิดหายนะทางการเงินของบริติชราชและพม่าอย่างมหาสาร
- พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า "พม่าสู้อังกฤษไม่ไดเลย เงินพระคลังในอาณาจักรก็ร่อยหรอ ต้องยอมทำสัญญาและไถ่เมืองคืนคิดเป็นเงินตราได้แสนชั่ง และเสียเมืองต่าง ๆ ให้แก่อังกฤษอีก" พระองค์จึงทำการค้าให้มากเผื่อจะต้องใช้เงินที่พระองค์ค้าขายมาเป็นการช่วยชาติ และก่อนที่พระองค์จะสวรรคตก็ได้กล่าวไว้ว่า "...การภายหน้าเห็นแต่เองที่จะรับราชการเป็นอธิบดี ผู้ใหญ่ต่อไป การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้..." ซึ่งสยามต้องระวังตัวให้มาก ไม่เปิดศึกสงครามแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะว่ามีบทเรียนให้เห็นแล้วดังประเทศพม่าในตอนนั้น
- พระเจ้าจักกายแมงกลายเป็นคนที่มีพระสติวิปลาส พระนางเมนูกับมินตาจีพี่ชายของเธอ ต้องการกำจัดพระองค์ และจะยกพระโอรสของพระเจ้าบาจีดอว์ คือเจ้าชายนยาวยานขึ้นเป็นกษัตริย์ พระเจ้าสารวดีจึงเสด็จหนีไปรวบรวมผู้คน กลับมายึดอำนาจและปลดพระเจ้าจักกายแมงลงจากราชบัลลังก์ แล้วสถาปนาตนเองเป็น พระเจ้าสารวดี หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า พระเจ้าแสรกแมง หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าสารวดีก็ทรงประหารชีวิตพระนางเมนู มินตาจี และเจ้าชายนยาวยานทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อราชบัลลังก์
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org
http://www.komkid.com
กระทู้ Pantip ของ Navarat.C เรื่อง พม่าสมิง-สิงห์อังกฤษ ตอน4ของ“มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
อิทธิพลของพม่าแผ่กว้างขึนตั่งแต่สามารถพิชิตอาณาจักรอยุธยาได้นอกจากนี้การรบในสงครามจีน-พม่าในสมัยพระเจ้ามังระนั้น ก็สามารถชนะในยุทธการต่างๆได้ ซึ่งทั้งจีนและพม่าต่างก็อ้างถึงชัยชนะของตนกัน ในที่สุดสงครามนี้ก็จบลงโดยการทำสนธิสัญญากองตนแทน เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียระยะยาวของพม่า หลังจากนั้นพม่าก็ปราบหัวเมืองเล็กเมืองน้อยของพม่า ซึ่งดูเหมือนจะเพลินไปหน่อย เพราะยึดไปถึงรัฐอัสซัมเลยทีเดียว
ชนวนเหตุ
หลังจากที่มหาพันฑุระแม่ทัพใหญ่พม่าในสมัยของพระเจ้าจักกายแมงของพม่า สามารถยึดรัฐอัสซัมไว้ได้แล้ว อังกฤษในตอนนั้นไม่ได้ประกาศสงครามในทันที แต่พยายามตั้งตนเป็นพ่อค้าที่ดีแข่งขันกับอิทธิพลของฝรั่งเศสในพม่า แต่ไม่ใช่แค่มาค้าขายยังเดียวแต่ยังส่งร้อยเอกไมเคิล ซิม มาเจรจาและตั้งกงสุลในพม่า ซึ่งคณะของซิมมีหน่วยสืบราชการลับของอังกฤษเข้ามาสืบความเป็นอยู่ ทำเลที่ตั้งและเร่องต่างของพม่าที่อังกฤษยังไม่รู้เพื่อความได้เปรียบของตน ซึ่งในขณะนั้นมหาพันธุระแม่ทัพใหญ่พม่าได้ยกทัพไปปราบพวกยะไข่ที่มายังจิตตะกองและพยายามยึดจิตตะกอง ลอร์ด แอมเฮอร์สข้าหลวงใหญ่ที่ประจำอยู่ที่อินเดียเห็นดีว่า การประกาศสงครามกับพม่า จะยึดเมืองของตนคืนและแผ่อิทธิพลของตนไปยังพม่าได้ง่ายขึ้นจึงประกาศสงครามกับพม่าอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ.1824
พระเจ้าจักกายแมงกษัตริย์พม่าสมัยนั้น |
หลังจากอังกฤษประกาศสงครามได้ไม่นาน มหาพันธุระพร้อมกำลังทห่รอีก 6000 กว่าคน บุกแคว้นเบงกอลทันที โดยศึกครั้งนี้พม่าสามารถยึดเมืองรัตนะพลัง และเมืองรอบๆนั้นได้ โดยเป็าหมายต่อไปกองกำลังของท่านจะมุ่งไปยังธากาต่อ แต่ว่าอังกฤษไม่ได้โฟกัสที่เมืองนี้อยู่แล้ว แต่อังกฤษตลบหลังพม่าโดยกองทัพเรืออังกฤษได้นำเรือมาล้อมเมืองย่างกุ้งไว้ ทำให้มหาพันธุระต้องนำทัพส่วนหนึ่งไปยังย่างกุ้งเมื่อต่อต้านอังกฤษตามคำสั่งพระเจ้าจักกายแมงกษัตริย์พม่าเวลานั้น
ยุทธการที่ย่างกุ้ง
กองทัพเรืออังกฤษเข้าโจมตีเมืองย่างกุ้ง |
กองทัพเรืออังกฤษเข้าล้อมเมืองย่างกุ้งเอาไว้ เพราะตามสายสืบอังกฤษที่พม่ารายงานไว้ ย่างกุ้งในตอนนั้นมีกองกำลังทหารที่น้อย ซึ่งกองทัพเรืออังกฤษนั้นมีกองกำลังผสมอินเดีย-อังกฤษอยู่ประมาณ 10,000 นาย ซึ่งแค่กองทัพเรืออังกฤษยิงปืนใหญ่เท่านั้น ประชาชนและทหารพม่าก็แตกทัพกระเจิงหนีออกจากย่างกุ้งกันอย่างทุลักทุเล หลังจากนั้นทัพอังกฤษได้ยกพลขึ้นฝั่งย่างกุ้ง และใช้เนินเล็กๆ บริเวณเจดีย์ชเวดากองเป็นฐานที่มั่นตั้งค่ายของตน ซึ่งเป็นค่ายป้อมที่มีความแข็งแรงและมั่นคง
นอกจากนี้อังกฤษยังส่งร้อยตรีเฮนรี่ เบอร์นี่ เข้ามาแสวงหาแนวร่วมในไทย แต่ความจริงแล้วก็แค่หวังแค่ให้กองทัพช้างไทยขนปืนใหญ่ไปเท่านั้น ซึ่งทางฝั่งไทยให้ความร่วมมือ โดยโปรดเกล้าฯให้พระยารัตนจักรหรือสมิงสอดเบา เป็นทัพหน้า เจ้าพระยามหาโยธาเป็นทัพหลัง โดยเดินทัพข้ามด่านพระเจดีย์สามองค์ เพื่อไปบรรจบกับกองทัพอังกฤษที่จะยกทัพมาทางเรือตามแผน ซึ่งทัพไทยก็มีทัพมอญภายใต้ธงไทยร่วมไปด้วย ซึ่งเมื่อทัพไทยไปถึงเมืองใด ผู้คนก็จะพากันมาต้อนรับแสดงความยินดีและร่วมอาสาไทยจะไปรบกับพม่าด้วย แต่เมื่อเจ้าพระยามหาโยธายกไปถึงเตริน เขตเมืองเมาะตะมะก็ทราบข่าวการสวรรคตของพระบาทสมเด็ยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทำให้ทัพไทยส่วนใหญ่ขอถอนตัวจากสงครามไป
กองทัพอังกฤษในเดือนมิถุนายน 1824 |
ในขณะเดียกันทัพอังกฤษที่อยู่ในพม่าเป็นฤดูมรสุม ผู้คนในทัพอังกฤษมากมายก็โดนโรคเมืองร้อนเล่นงานไม่ว่าจะเป็น อหิวาเอย บิดเอย มลาเลียเอย ทหารจำนวนไม่น้อยในกองทัพอังกฤษเลย ที่ต้องตายไปด้วยโรคร้ายอย่างนั้น ซึ่งตลอดฤดูมรสุมทหารอังกฤษเห็นว่าไม่สมควรรบ จึงอยู่ในค่ายนั้นทั้งฤดูมรสุม
ทัพอังกฤษบุกเข้าค่ายสุดท้ายของพม่าในยุทธการย่างกุ้ง |
เมื่อมหาพันธุระกลับมายังนครรัตนปุระอังวะ พระเจ้าจักกายแมงทรงยินดีปรีดายิ่งนัก ตั้งให้เป็นอัครมหาเสนาบดี อันเป็นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า เทียบเท่าสมเด็จเจ้าพระยาของไทยเลยทีเดียว และเมื่อสิ้นฤดูฝนแล้ว อัครมหาเสนาบดีมหาพันธุระได้นำทัพที่มีกำลังพลกว่า 30000 กว่าคนล้อมเมืองย่างกุ้งไว้ โดยท่านเชื่อว่ากองกำลังของเขาจะต้องมีชัยเหนืออังกฤษที่มีกำลังพลน้อยกว่าแน่ๆ แต่ขอโทษนะครับหลังจากเปิดศึกในวันที่ 30 พฤศจิกายนได้ไม่นาน กองทัพพม่าก็โดนปืนใหญ่อังกฤษที่ยิงลูกกระสุนออกมาแล้วระเบิดได้สังหารทหารไปหลายนาย ส่วนปืนใหญ๋ของพม่าก็เหมือนกับยิงลูกเปตองออกมาแทบทำอะไรทหารอังกฤษไม่ได้เลย นอกจากนี้อังกฤษยังมีอาวุธใหม่แกะกล่องที่พึ่งส่งมาจากลอนดอนอีดนั้่นก็คือ จรวดคอนกรีฟ จรวดที่มีน้ำหนักเบา สามารถใช้ได้ผลดีแทนการปืนใหญ่ที่หนัก เคลื่อนทีลำบากในพื้นที่ราบลุ่มเฉอะแฉะ แถมยังมีประสิทธิภาพพอกับปืนใหญ่ เล่นงานทหารพม่าไปหลายนายเลยทีเดียว อังกฤษถล่มค่ายสุดท้ายของพม่าที่เมืองโคคีนอย่างราบคาบ ทหารพม่าและมหาพันธุระ หนีออกมาอย่างทุลักทุเลอีกรอบ โดยหนีลงมาที่เมือง Danubyu เมืองเล็กๆ ที่อยุ่ใกล้กับแม่น้ำอิรวดี ซึ่งกำลังพล 30000 กว่าคนของท่่นอัครเสนาบดี เหลืออยุ่ประมาณ 7000 คนเท่านั้น ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นถึงกองทัพพม่าไม่สามารถเทียบศักยภาพกับกองทัพอังกฤษได้เลย
การทดลองจรวดใช้คอนกรีฟ ในยุทธนาวี |
หลังจากที่ทัพของมหาพันธุระพ่ายแพ้ไปในยุทธการเมืองย่างกุ้ง ก็ตั้งค่ายที่เมือง Danubyu วึ่งกองกำลังของพม่าในตอนนั้นมีทั้งที่ผ่านศึกมาแล้วอย่างโชคโชนกับทหารเกณฑ์ที่แม้จะยิงปืนก็ยังยิงไม่เป็น ทหารพม่าตั้งรับอยู่ในค่ายจนกระทั่ง 7 มีนาคม 1825 ทหารอังกฤษ 4000 คน เปิดฉากโจมตีค่ายพม่า มหาพันธุระได้นำทัพของตนเข้าโจมตี การศึกครั้งนี้ทหารพม่าสู้จนเลือดตากระเด็น ไม่ยอมถอยออกจากสนามรบ แต่ทหารกองหลังของอังกฤษตั้งรับด้วยการยิงจรวดใส่ พม่าต้องซมซานกลับเข้าค่ายพรัอมความสูญเสีย ถึงแม้อังกฤษจะสูญเสียไม่น้อยด้วยเช่นกัน
อนุสาวรีย์มหาพันธุระ แม่ทัพคนสำคัญของพม่า |
การรบที่อาระกัน
อู ซา(U Sa) ได้ต้านกองทัพอังกฤษที่อยู่อาระกันไว้ได้นานหลายเดือน แต่ว่าพอเข้าสู่ปี 1825 เมื่อกองทัพอังกฤษเสริมอังกฤษกว่า 11000 คน เข้ามาช่วยรบ พร้อมนำเรือติดอาวุธ และปืนใหญ่มาช่วยรบ อู ซา ผุ่นำทัพพม่าให้ทหารไปเตรียมตั้งรับอยู่ที่เมือง Mrauk U เมืองหลวงของอาระกันในตอนนั้น ซึ่งค่ายแห่งนี้สามารถต้านทัพอังกฤษได้นานหลายเดือน จนกระทั้่งเดือนมีนาคม 1825 กองกำลังของพม่าที่อยู่อาระกันก็พ่ายแพ้จากการถล่มค่ายครั้งใหญ่ของอังกฤษ อู ซาและทหารบางส่วนสามารถหลบหนีออกจากอาระกันได้แต่ก็ได้รับบาดเจ็บกันทุกคน อังกฤษยึดอาระกันและเมืองต่างๆ ด้านตะวันตกของพม่าได้
ยุทธการเมืองแปร
เดือนพฤศจิกายน ปี 1825 มหาเนเมียวแม่ทัพหลักคนสำคัญของพม่าแทนที่มหาพันธุระที่ได้ตายไป ได้ทำสงครามกับอังกฤษอีกครั้ง โดยทัพของเนเมียวตั้งค่ายอยู่ที่เมืองแปร แล้วทำการปิดล้อมเมืองย่างกุ้ง และตัดการสื่อสารนอกเมืองย่างกุ้งของอังกฤษ แต่ว่าด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ของอังกฤษนั้นเหนือกว่าพม่ามาก จากที่พม่าเป็นฝ่ายได้เปรียบกับต้องเสียเปรียบในเวลาต่อมา จนในที่สุดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1825 ทัพใหญ่ของอังกฤษได้นำกำลังพลผสมระหว่างอังกฤษ-อินเดีย กว่า 4000 คน บุกโจมตีกองทัพใหญ่พม่าที่เมืองแปร และในวันถัดมาอังกฤษก็ใช้ทั้งปืนใหญ่และจรวดถล่มพม่าซะราบคาบ มหาเนเมียวตายในสงคราม และพม่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในที่สุด
ในที่สุดเมื่อเดือนกุมภาพันธุ์ 1826 กองทัพส่วนหน้าของอังกฤษก็มาถึงหมู่บ้านยันดาโบ จะใช้เวลาเดินทัพอีกสักประมาณ 4 วันก็จะเหยียบกรุงอังวะ พระเจ้าจักกายแมงเห็นยังงั้นจึงประกาศยอมแพ้สงคราม พม่าตองทำสนธิสัญญายันดาโบ และต้องยกรัฐอัสสัม ยะไข่ มณีปุระ และตะนาวศรี ให้ักับอังกฤษ แถมยังต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเบาะๆ ถึง 5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง ทำให้พม่าถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว ต้องขอผ่อนจ่ายเป็นงวด เป็นเวลาหลายเดือนเลยทีเดียว
ผลกระทบจากสงคราม
- อิทธิพลและแสนยานุภาพของราชวงศ์คองบองของพม่าในเอเชียอาคเนย์แทบจะหายไปเลยทีเดียว และแทนที่ด้วยอิทธิพลของจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศสในภูมิภาคนี้แทน
- นับเป็นการล่าอาณานิคมอย่างเป็นทางการครั้งแรกของอังกฤษในภูมิภาคนี้
- เกิดหายนะทางการเงินของบริติชราชและพม่าอย่างมหาสาร
- พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เคยกล่าวไว้ว่า "พม่าสู้อังกฤษไม่ไดเลย เงินพระคลังในอาณาจักรก็ร่อยหรอ ต้องยอมทำสัญญาและไถ่เมืองคืนคิดเป็นเงินตราได้แสนชั่ง และเสียเมืองต่าง ๆ ให้แก่อังกฤษอีก" พระองค์จึงทำการค้าให้มากเผื่อจะต้องใช้เงินที่พระองค์ค้าขายมาเป็นการช่วยชาติ และก่อนที่พระองค์จะสวรรคตก็ได้กล่าวไว้ว่า "...การภายหน้าเห็นแต่เองที่จะรับราชการเป็นอธิบดี ผู้ใหญ่ต่อไป การศึกสงครามข้างญวนข้างพม่าก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดีอย่าให้เสียทีแก่เขาได้..." ซึ่งสยามต้องระวังตัวให้มาก ไม่เปิดศึกสงครามแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะว่ามีบทเรียนให้เห็นแล้วดังประเทศพม่าในตอนนั้น
- พระเจ้าจักกายแมงกลายเป็นคนที่มีพระสติวิปลาส พระนางเมนูกับมินตาจีพี่ชายของเธอ ต้องการกำจัดพระองค์ และจะยกพระโอรสของพระเจ้าบาจีดอว์ คือเจ้าชายนยาวยานขึ้นเป็นกษัตริย์ พระเจ้าสารวดีจึงเสด็จหนีไปรวบรวมผู้คน กลับมายึดอำนาจและปลดพระเจ้าจักกายแมงลงจากราชบัลลังก์ แล้วสถาปนาตนเองเป็น พระเจ้าสารวดี หรือที่ชาวไทยเรียกกันว่า พระเจ้าแสรกแมง หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าสารวดีก็ทรงประหารชีวิตพระนางเมนู มินตาจี และเจ้าชายนยาวยานทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นภัยต่อราชบัลลังก์
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org
http://www.komkid.com
กระทู้ Pantip ของ Navarat.C เรื่อง พม่าสมิง-สิงห์อังกฤษ ตอน4ของ“มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น