ค้นหาบล็อกนี้

10/5/61

เจ้าจายหลวง เจ้าฟ้าไร้บัลลังก์องค์สุดท้ายแห่งเชียงตุง

         เจ้าจายหลวงตือเจ้าฟ้าผู้ครองเชียงตุงคนสุดท้าย ก่อนที่พม่าจะยกเลิกระบบเจ้าฟ้าของเชียงตุงจากคำสั่งของเนวิน ที่พยายามรวมรัฐและชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่ลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง ด้วยวิธีการทางทหารและความรุนแรง ซึ่งเชียงตุงที่อยู่ในรัฐฉานของพวกไทใหญ่ได้พยายามปลดปล่อยตัวเองออกจากพม่า ซึ่งแม้จะเข้าสู่ปัจจุบันแล้วกองกำลังกู้ชาติก็ยังคงมีอยู่ที่เชียงตุงหรือรัฐฉานแห่งนี้




        เจ้าจายหลวงเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงตุงคนสุดท้าย เป็นพระราชโอรสของเจ้าฟ้ากองไท เจ้าฟ้าแห่งเมืองเชียงตุงคนที่ 9 กับพระนางจ่ายุ้นท์ ซึ่งเชียงตุงตอนนั้นกำลังระส่ำระส่ายอยู่จากการที่ต้องไปอยุ่ในดินแดนของไทย(สหรัฐไทยเดิม) และกลายมาเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษหลังสงครามดลกครั้งที่ 2 และต้องเป็นส่วนหนึ่งของพม่าหลังจากประกาศอิสรภาพของอังกฤษจาสนธิสัญญาปางหลวง และลงเอยด้วยการถอดตำแหน่งเจ้าฟ้าไทใหญ่ของเชียงตุง หลังการขึ้นมามีอำนาจของนายพลเน วิน

เจ้าจายหลวงในวัยเด็ก
พระชนม์ชีพช่วงต้น
          เจ้าจายหลวงเป็นพระราชโอรสของเจ้าฟ้ากองไทกับพระนางจ่ายุ้นท์ ประสูติในปี พ.ศ.2470 แต่ว่าเมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุประมาณ 10 พรรษา พระบิดาของพระองค์เจ้าฟ้ากองไทก็ถูกลอบปลงพระชนม์ขณะดำรงตำแหน่งไม่ถึงปี ทำให้ตำแหน่งเจ้าฟ้าแห่งเชียงตุงว่างลงไปเพราะอังกฤษกำลังสืบสวนว่าใครเป็นคนลอบปลงพระชนม์พระองค์ และมีการซักทอดเจ้าพรหมลืออย่างหนัก จนมีคนกล่าวไว้ว่าเจ้าพรหมลือนั่นแหละคือคนวางแผนสั่งหารเจ้ากองไทนั่นเอง แต่ก็ไม่ได้มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด

เจ้าฟ้ากองไท
      ต่อมาในปี พ.ศ.2484-2490 เจ้าจายหลวงไปศึกษาต่อที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งในขณะนั้นฝ่ายไทยที่มีญี่ปุ่นคอยหนุนอยุ่ได้บุกไปยังเชียงตุงและจัดตั้งเป็นสหรัฐไทยเดิม และเชิญเจ้าพรหมลือขึ้นเป็นเจ้าฟ้าแห่งเชียงตุงคนต่อไป แต่ทางอังกฤษนั้นไม่ค่อยชอบเจ้าฟ้าพรหมลืออยุ่ก่อนแล้วและพระองค์ยังเข้าร่วมกับฝ่ายไทยอีก ทำให้หลังไทยถอนทัพออกจากสหรัฐไทยเดิมและคืนสหรัฐไทยเดิมให้กับอังกฤษเมื่อจบสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว เจ้าฟ้าพรหมลือและครอบครัวก็ได้เดินทางออกจากเชียงตุงมาอยู่ที่เชียงใหม่อย่างถาวร ซึ่งพระองค์ได้รับการอำนวยความสะดวกจากนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของไทยจนสนิทสนมชอบพอกัน อย่างครอบครัวของจอมพลผิน ชุณหะวัณ และเมื่อมาอยู่ที่เชียงใหม่แล้วก็ได้ใช้นามสกุลว่า "ณ เชียงตุง" สืบมาตั้งแต่บัดนั้น

ภาพหมู่ของ ราชสกุล ณ เชียงตุง
เจ้าฟ้าพรหมลือและเจ้าทิพวรรณ
ขึ้นครองราชย์
             หลังจากที่เจ้าฟ้าพรหมลืออพยพไปอยู่ยังประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าจายหลวงได้กลับมายังเชียงตุงแล้วได้ราชาภิเษกเป็นเจ้าฟ้าเชียงตุงองค์ที่ 11 อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2490 พระองค์มีพระมเหสีคนหนึ่งนั่นก็คือ เจ้านางจันแก้ว ซึ่งมีลูกด้วยกัน 2 คน คนโตเป็นผู้หญิง ปัจจุบันเป็นแพทย์อยู่ในสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ลูกคนสุดท้องเป็นผู้ชาย  ซึ่งตอนนี้ก็เป็นผู้สืบเชื้อสายเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง แต่ในนามคนปัจจุบัน นอกจากนี้พระองค์ก็ได้มีการขอสัญชาติไทย ได้นามสกุล ขุนศึกเม็งราย เพราะเจ้าจายหลวงต้องการให้ลูกหลานรู้ว่า มาจากราชวงศ์เม็งราย นั่นเอง


          หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ทางการพม่าได้โน้มน้าวใจพระองค์ให้เมืองเชียงตุงแห่งนี้้ร่วมมือกับพม่าเพื่อประกาศเอกราชจากอังกฤษ ซึ่งทางเจ้าจายหลวงยอมตกลงและลงนามในสนธิสัญญาปางหลวงพร้อมกับผู้นำชนเผ่าอื่นๆอีกในปี พ.ศ.2490 ซึ่งหลักๆของสนธิสัญญานี้คืออาณาจักรหรือชนเผ่าต่างๆ ต้องอยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลา 10 ปีก่อน ถึงจะขอแยกตัวได้ ซึ่งหลังจากลงนามในสนธิสัญญาได้ไม่นานอังกฤษก็ให้เอกราชแก่พม่าในปี พ.ศ.2491 จากนั้นอีก 10 ปีเจ้าจายหลวงได้สละพระยศเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงตามข้อตกลงของพม่าในปี พ.ศ.2502

         จากการลงนามในสนธิสัญญา ทำให้ช่วงนั้นชนกลุ่มน้อยต่างๆ ก็เริ่มเป็นปัญหากับพม่า เพราะแต่ละรัฐก็พยายามแยกอาณาเขตของตนออกจากพม่า เชียงตุงและรัฐฉานที่จะแยกตัวเป็นอิสระจากสนธิสัญญาปางหลวงก็เช่นกัน ซึ่งจากเหตุการ์ณหลายๆ อย่างทำให้ผู้บัญชาการทหารบกของพม่า เน วิน ได้รัฐประหารอำนาจของนายกรัฐมนตรีอูนูและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน และใช้ยโยบายแข็งกร้าวต่อเหล่าชนกลุ่มน้อย พร้อมกับยกเลิกสนธิสัญญาเวียงปางหลวงอีกด้วย นำไปสู่การลุกฮือของพวกไทใหญ่ในรัฐฉาน ซึ่งเน วิน ก็ได้ทำการจับกุมตัวเจ้าฟ้าไต หลายคนจากที่นั่นมาขังที่ย่างกุ้ง เจ้าจายหลวงก็เช่นกันพระองค์ก็โดนจับด้วย พระองค์โดนขังอยุ่ที่ย่างกุ้งเป็นเวลาถึง 6 ปี และหลังจากออกมา ทางการพม่าก็ให้เจ้าจายหลวงประทับอยู่ในย่างกุ้งตลอดมิให้กลับไปยังเชียงตุงดังเดิม

นายพลเน วิน

เจ้าจายหลวงในขณะนั้น
                     เจ้าจายหลวงกับครอบครัวได้อาศัยพำนักอยู่ที่ย่างกุ้งหลายปี ลูกของพระองค์ก็ได้เดินทางไปเชียงตุง หรือประเทศไทยบ่อยๆ เช่นกัน เจ้าจายหลวงได้สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2540 ถวายพระเพลิงพระศพที่ย่างกุ้งเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2540 โดนพระอัฐิส่วนหนึ่งของท่านถูกโปรยลงทะเล.อีกส่วนหนึ่งบรรดาพระภิกษุและผู้เฒ่าผู้แก่ที่เชียงตุงได้เดินทางไปย่างกุ้งเพื่อแจ้งแก่คณะรัฐบาลทหารพม่าว่าจะนำกลับไปเชียงตุงเพราะท่านคือเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน เจ้าฟ้าเชียงตุงองค์สุดท้ายที่ผ่านการอาบองค์สรงเกศ มุธราภิเษกแบบเจ้าฟ้าเขมรัฐนคร โดยทางการพม่าก็ให้อัฐินี้ไปและมาบรรจุในกู่เจ้าฟ้าเชียงตุง  นับเป็นจุดสิ้นสุดของระบบเจ้าฟ้าเชียงตุงที่ครองราชย์สมบัติมานานกว่า 600 ปี ในพื้นที่นครเชียงตุงแห่งนี้








อ้างอิง
เจ้าจายหลวง มังราย(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
เจ้าจายหลวงแห่งเชียงตุง(2559). จากhttps://www.bloggang.com
เปิดประวัติเชียงตุง!! ยลโฉมเจ้าชายรูปงาม "เจ้าจายหลวง" เจ้าฟ้าพระองค์สุดท้ายแห่งเชียงตุง กับเรื่องราวสุดเศร้าของเจ้าชายผู้อาภัพ !!(2560). จาก http://www.tnews.co.th
วังเชียงตุงกับเจ้าผู้ครองรัฐฉานองค์สุดท้าย(2554) จากhttps://talk.mthai.com
ประวัติศาสตร์เชียงตุง(2560) จากhttps://th.wikipedia.org
รัฐฉาน(2561) จากhttps://th.wikipedia.org
เพจ Facebook ประวัติศาสตร์ชาติไทยก่อนและหลัง พ.ศ ๒๔๗๕
กระทู้ Pantip เรื่องกระทู้ตอนสาย (๑๓๕) จากคุณ owl2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น