เอล โดราโด เป็นชื่อของเมืองที่ว่ากันว่าเต็มไปด้วยทองคำ เพชรและอัญมณีต่างๆมากมาย ซึ่งน่าจะตั้งอยู่ที่อเมริกาใต้ มันเป็นเมืองที่เหล่านักสำรวจและนักผจญภัยอยากจะเห็นมันสักครั้งในชีวิตของพวกเขา แต่ทว่ากลับไม่มีใครที่ได้เห็นเมืองนี้เอาไว้สักคนเดียว แม้กระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาที่ตั้งของเมืองนี้ได้ วันนี้ทางผู้เขียนจึงพาท่านผู้อ่านไปดูตำนานของเมืองแห่งทองคำที่มีชื่อว่า เอล โดราโด ถ้ายังอยากรู้เรื่องราวของเมืองแห่งนี้ เชิญติดตามอ่านที่ด้านล่างนี้เลย
เอล โดราโดคือชื่อของมหานครที่ว่ากันว่ามีทองคำและเพชรนิลจินดาอันมากมายมหาสาร อยู่ในเมืองซึ่งเรื่อราวของเมืองนี้ถูกกล่าวและมีบันทึกครั้งแรกในช่วงที่อาณาจักรสเปนกำลังผนวกอาณาจักรอินคาเป็นอาณานิคมได้ในช่วงคริสศตวรรศที่ 16 ซึ่งเรื่องราวเริ่มต้นที่กล่าวถึงเมืองนี้ที่ได้บันทึกไว้มันเริ่มจาก ฟรังซิสโก ปิซาร์โร แม่ทัพของสเปนในการปราบปรามและยึดดินแดนของพวกอินคาซึ่งการล่าอินคาเป็นอาณานิคมในช่วงนั้นนับเป็นโชคร้ายครั้งยิ่งใหญ่ของอินคาเพราะทั้งโรคฝีดาษที่เริ่มระบาดและเหตุการ์ณความวุ่นวายเพิ่งจะเสร็จไปหมาดๆอีกด้วย ซึ่งในเวลาไม่นานพวกสเปนสามารถล่อลวงและจับจักรพรรดิอาตาอวลปาแห่งอินคาได้อย่างง่ายดาย เพียงดพราะองค์จักรพรรดิเชื่อว่าปิซาโร่คือเทพตามคำทำนายของพวกอินคานั่นเอง
ฟรังซิสโก ปิซาร์โรได้บอกกกับชาวอินคาว่า ถ้าพวกเขาหาทองคำและเพชร ในปริมาณมากพอที่จะเติมห้องขนาดกว้าง 4.8 เมตร ยาว 6.2 เมตร ให้สูงถึง 2.5 เมตร และเงินปริมาณสองเท่าของห้องนั้นมาได้ ก็จะปล่อยตัวจักรพรรดิไป ซึ่งว่ากันว่าพวกอินคาได้เดินเข้าป่าไปและกลับออกมาด้วยสิ่งของที่ทำจากทองคำเต็มไปหมด แต่ว่าเมื่อพวกอินคาที่นำทองคำบางส่วนมาให้พวกสเปนกลับพบว่าพวกสเปนไม่ทำตามสัญญาและปลงพระชนม์จักรพรรดิไปเสียแล้ว พวกอินคาจึงซ่อนทองคำอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ได้ให้ พวกสเปนที่โลภก็ทำสงครามกับพวกอินคาต่อ และในที่สุดอินคาก็ต้องพ่ายแพ้ยับเยินให้กับสเปน ข้าวของมีค่าต่างๆมากมายถูกหลอมให้เป็นทองชิ้นเดียวแล้วส่งกลับไปยังสเปน ซึ่งแน่นอนว่าทองคำที่ส่งกลับไปไม่ได้ส่งกลับเพียงรอบเดียว แต่ส่งตั้ง 5-6 รอบแนะ และทหารของสเปนก็ต้องผลัดเปลี่ยนเวรยามหลอมทองคำ และเงินจากที่ต่างๆหรือสิ่งของของพวกอินคากันทั้งวันทั้งคืน ไม่มีหยุด ทำแบบนี้อยู่นานนับเดือนถึงจะหลอมหมด คิดดูสิว่าทองคำที่พวกสเปนได้มามันมากมายมหาสารแค่ไหน
ถึงแม้ปิซาร์โรจะไม่ได้เข้าไปหารหรือสำรวจยังตำนานนครแห่งนี้ แต่จากบันทึกของเขาก็ทำให้ชาวสเปนอีกคนหนึ่งพยายามหาทรัพย์สมบัติอันมีค่าและมหาสารแห่งนี้ ชาวสเปนคนนั้นก็คือ เซบาสเตียน เดอ เบลาลกาซาร์ ซึ่งเชื่อในบันทึกที่กล่าวถึงนครแห่งทองคำนี้จากปีซาร์โร และเขาก็ยังเคยได้ยินมาจาก ผู้เฒ่าอินเดียแดงท้องถิ่นคนหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า ซึ่งเรื่องราวที่ตาเฒ่าคนนั้นพูดมีใจความไว้ว่า "เมืองลับแลแห่งนั้นเต็มไปด้วยทองคำและอัญมณีต่างๆมากมาย ที่มีขนาดเล็กที่สุดจะมีขนาดเท่ากับไข่ไก่ เกลื่อนกราดไปทั่ว พระราชวังและสิ่งต่างๆ ต่างทำมาจากทองคำแทบทั้งสิ้น กษัตริย์ของเมืองจะชุบตัวด้วยทองคำ และจะทำพิธีบูชาสุริยเทพโดยการโยนทองคำและของมีค่าลงไปในทะเลสาบ" เซบาสเตียน เดอ เบลาลกาซาร์พอรู้เรื่องนี้ก็พยายามตามหามหานครแห่งความมั่นคั่งนี้แต่ว่าก็ติดปัญหาหลายๆ ด้านทำให้ เบลาลกาซาร์ ล้มเลิกที่จะตามหามหานครแห่งนี้
ถึงแม้ เบลาลกาซาร์ จะไม่ได้ออกสำรวจอย่างจริงจังเพราะติดปัญหาหลายๆอย่าง แต่เรื่องของเอล โดราโดก็เรื่องแพร่สะพัดออกไป ทำให้เกวซาดา ข้าราชการชาวสเปนบุกลงมาทางตอนใต้จากโคลัมเบียเพราะได้รับรุ้ถึงเรื่องราวของขุมทองและทรัพย์สมบัติของเอล โดราโด ซึ่งการสำรวจและเริ่มค้นหามหานครที่เป็นเหมือนขุมทรัพย์แห่งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ปีค.ศ.1536 โดยเขาได้เดินทางจนไปพบกับชาวอินเดียนแดงเผ่าชิบช่าซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจนผิดสังเกตุ ชาวชิบช่าบอกกับเกวซาดาว่า พวกเขาได้ทองและมรกตเหล่านี้จากการค้าขายกับชนเผ่าลึกลับที่อยู่ในป่าลึก เกวซาดาจึงออกค้นหาตามคำบอกเล่าดังกล่าว จนได้พบกับทะเลสาบ ‘กัวตาติวา’ ทะเลสาบในตำนานที่เชื่อว่ากษัตริย์แห่งนครทองคำได้โยนของมีค่าทิ้งลงไป แต่ก็พบเพียงแค่ทะเลสาปแม้จะพยายามหาทุกวิถีทางและทุกซอกทุกมุมก็ไม่เจอทองคำ เกวซาดาจึงล้มเลิกความตั้งใจในการหาสมบัติและกลับไปโดยไม่มีอะไรติดมือไปเลย
และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ก็มีผู้คนมากหน้าหลายตา เข้าป่าไปสำรวจหามหาขุมทรพย์แห่งนครทองคำเอล โดราโดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่ทุกคนและคณะที่ไปสำรวจก็ต่างพบแต่ความล้มเหลว และไม่มีเบาะแสอะไรเลยเเม้แต่อย่างเดียว จนผู้คนคิดว่ามันเป็นแค่เรื่องเล่าหรือนิทานปรัมปรามากกว่า ซึ่งเป็นเวลากว่า 400 ปีที่ไม่มีใครได้พบขุมทรัพย์หรือหลักฐานที่กว่าไว้ว่าเมืองแห่งนี้มันมีอยู่จริง จนกระทั่งเวลาร่วงเลยมาถึงปีค.ศ.1969 นักโบราณคดีได้ทำการขุดพบทองคำที่แกะสลักเป็นรูปคนอย่างประณีต ที่ริมฝั่งทะเลสาบเชียช่าในโคลอมเบีย ซึ่งในรูปสลักทองคำนั้นตรงกลางเป็นบุรุษที่ยืนอยู่ตรงกลางน่าจะเป็นกษัตริย์ และรายล้อมไปด้วยเหล่าบริเวณซึ่งคาดการ์ณกันว่าทองคำแกะสลักอันนี้น่าจะมาจาก เอล โดราโด แต่ก็มีบางคนที่บอกว่ามันอาจจะเป็นทองคำของพวกอินคาที่พึ่งขุดพบเจอเท่านั่นเอง ถึงอย่างไรก็ตามการค้นพบทองคำอันนี้ก็ทำให้เกิดกระแสการสำรวจเพื่อหา เอล โดราโดนครทองคำแห่งนี้อีกครั้งถึงแม้จะไม่มีเบาะแสอื่นอีกก็ตาม และการยืนยันว่าทองคำอันนี้เป็นทองคำจากเอล โดราโดก็เช่นกันเพราะว่าไม่มีหลักฐานว่าทองอันนี้เป็นของเอล โดราโด และไม่มีหลักฐานว่าเอลโดราโดมีตัวตนอยู่จริง ซึ่งการจะยืนยันได้ว่าเอล โดราโดมีจริงหรือไม่ คงต้องสำรวจกันต่อไป
แล้วคุณละคิดว่านครทองคำอย่างเอล โดราโดมีอยู่จริงหรือเปล่า
อ้างอิง
https://www.spokedark.tv
https://yuikiyui.wordpress.com
http://punica.co.th
เอล โดราโดคือชื่อของมหานครที่ว่ากันว่ามีทองคำและเพชรนิลจินดาอันมากมายมหาสาร อยู่ในเมืองซึ่งเรื่อราวของเมืองนี้ถูกกล่าวและมีบันทึกครั้งแรกในช่วงที่อาณาจักรสเปนกำลังผนวกอาณาจักรอินคาเป็นอาณานิคมได้ในช่วงคริสศตวรรศที่ 16 ซึ่งเรื่องราวเริ่มต้นที่กล่าวถึงเมืองนี้ที่ได้บันทึกไว้มันเริ่มจาก ฟรังซิสโก ปิซาร์โร แม่ทัพของสเปนในการปราบปรามและยึดดินแดนของพวกอินคาซึ่งการล่าอินคาเป็นอาณานิคมในช่วงนั้นนับเป็นโชคร้ายครั้งยิ่งใหญ่ของอินคาเพราะทั้งโรคฝีดาษที่เริ่มระบาดและเหตุการ์ณความวุ่นวายเพิ่งจะเสร็จไปหมาดๆอีกด้วย ซึ่งในเวลาไม่นานพวกสเปนสามารถล่อลวงและจับจักรพรรดิอาตาอวลปาแห่งอินคาได้อย่างง่ายดาย เพียงดพราะองค์จักรพรรดิเชื่อว่าปิซาโร่คือเทพตามคำทำนายของพวกอินคานั่นเอง
ฟรังซิสโก ปิซาร์โร บุคคลสำคัญในการยึดอินคา |
พวกสเปนกำลังรวบรวมทองคำของพวกอินคา |
ถึงแม้ เบลาลกาซาร์ จะไม่ได้ออกสำรวจอย่างจริงจังเพราะติดปัญหาหลายๆอย่าง แต่เรื่องของเอล โดราโดก็เรื่องแพร่สะพัดออกไป ทำให้เกวซาดา ข้าราชการชาวสเปนบุกลงมาทางตอนใต้จากโคลัมเบียเพราะได้รับรุ้ถึงเรื่องราวของขุมทองและทรัพย์สมบัติของเอล โดราโด ซึ่งการสำรวจและเริ่มค้นหามหานครที่เป็นเหมือนขุมทรัพย์แห่งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ปีค.ศ.1536 โดยเขาได้เดินทางจนไปพบกับชาวอินเดียนแดงเผ่าชิบช่าซึ่งมั่งคั่งร่ำรวยจนผิดสังเกตุ ชาวชิบช่าบอกกับเกวซาดาว่า พวกเขาได้ทองและมรกตเหล่านี้จากการค้าขายกับชนเผ่าลึกลับที่อยู่ในป่าลึก เกวซาดาจึงออกค้นหาตามคำบอกเล่าดังกล่าว จนได้พบกับทะเลสาบ ‘กัวตาติวา’ ทะเลสาบในตำนานที่เชื่อว่ากษัตริย์แห่งนครทองคำได้โยนของมีค่าทิ้งลงไป แต่ก็พบเพียงแค่ทะเลสาปแม้จะพยายามหาทุกวิถีทางและทุกซอกทุกมุมก็ไม่เจอทองคำ เกวซาดาจึงล้มเลิกความตั้งใจในการหาสมบัติและกลับไปโดยไม่มีอะไรติดมือไปเลย
และตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ก็มีผู้คนมากหน้าหลายตา เข้าป่าไปสำรวจหามหาขุมทรพย์แห่งนครทองคำเอล โดราโดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่ทุกคนและคณะที่ไปสำรวจก็ต่างพบแต่ความล้มเหลว และไม่มีเบาะแสอะไรเลยเเม้แต่อย่างเดียว จนผู้คนคิดว่ามันเป็นแค่เรื่องเล่าหรือนิทานปรัมปรามากกว่า ซึ่งเป็นเวลากว่า 400 ปีที่ไม่มีใครได้พบขุมทรัพย์หรือหลักฐานที่กว่าไว้ว่าเมืองแห่งนี้มันมีอยู่จริง จนกระทั่งเวลาร่วงเลยมาถึงปีค.ศ.1969 นักโบราณคดีได้ทำการขุดพบทองคำที่แกะสลักเป็นรูปคนอย่างประณีต ที่ริมฝั่งทะเลสาบเชียช่าในโคลอมเบีย ซึ่งในรูปสลักทองคำนั้นตรงกลางเป็นบุรุษที่ยืนอยู่ตรงกลางน่าจะเป็นกษัตริย์ และรายล้อมไปด้วยเหล่าบริเวณซึ่งคาดการ์ณกันว่าทองคำแกะสลักอันนี้น่าจะมาจาก เอล โดราโด แต่ก็มีบางคนที่บอกว่ามันอาจจะเป็นทองคำของพวกอินคาที่พึ่งขุดพบเจอเท่านั่นเอง ถึงอย่างไรก็ตามการค้นพบทองคำอันนี้ก็ทำให้เกิดกระแสการสำรวจเพื่อหา เอล โดราโดนครทองคำแห่งนี้อีกครั้งถึงแม้จะไม่มีเบาะแสอื่นอีกก็ตาม และการยืนยันว่าทองคำอันนี้เป็นทองคำจากเอล โดราโดก็เช่นกันเพราะว่าไม่มีหลักฐานว่าทองอันนี้เป็นของเอล โดราโด และไม่มีหลักฐานว่าเอลโดราโดมีตัวตนอยู่จริง ซึ่งการจะยืนยันได้ว่าเอล โดราโดมีจริงหรือไม่ คงต้องสำรวจกันต่อไป
แล้วคุณละคิดว่านครทองคำอย่างเอล โดราโดมีอยู่จริงหรือเปล่า
ทองคำชิ้นที่คาดการ์ณกันว่ามาจากเอล โดราโด |
อ้างอิง
https://www.spokedark.tv
https://yuikiyui.wordpress.com
http://punica.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น