ค้นหาบล็อกนี้

3/5/61

พระราชวังมัณฑะเลย์ ที่ประทับสุดท้ายของกษัตริย์พม่าก่อนตกเป็นอาณานิคม

        เมื่อพ่านพ้นสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 2 พม่าพ่ายแพ้ และสูญเสียอาณาเขตไปเป็นจำนวนมาก พระเจ้ามินดงกษัตริย์พม่าองค์ที่ 10 จีงสั่งให้ย้ายเมืองหลวงจากอังวะ ไปอยู่ที่มัณฑะเลย์ จากนั้นก็มีพระราขดำรีที่จะสร้างพระราชวังขึ้นที่มัณฑะเลย์ แต่ด้วยที่พม่าพ่ายแพ้สงคราม ทำให้สถานะการเงินของประเทศนั้นมีน้อยมาก ในการสร้างพระราชวังมัณฑะเลย์ จึงต้องรื้อพระราชวังอมรปุระ เพื่อนำชิ้นส่วนของพระราชวังมาสร้างเป็นพระราชวังนี้ ซึ่งในเวลานัันพระราชวังแห่งนี้นับว่าเป็นพระราชวังที่สวยที่สุดในเอเชียแห่งหนึ่งเลยทีเดียว




ประวัติ
         หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 2 พระเจ้ามินดงมีพระราชดำริที่จะย้ายเมืองหลวง เพราะพื้นที่หลายส่วนของพม่าก็เป็นของอังกฤษไปเสียแล้ว พระเจ้ามินดงได้จัดตั้งเมืองมัณฑะเลย์ขึ้นทางตอนเหนือของพม่า ซึ่งเมืองนี้ตั้งชื่อตามภูเขาลูกหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน

พระเจ้ามินดง
       หลังจากที่พระเจ้ามินดง ตั้งเมืองมัณฑะเลย์เป็นเมืองหลวงแล้ว พระองค์ก็มีพระราชดำริที่จะสร้างพระราชวังขึ้น แต่ว่าด้วยสถานะทางการเงินขิงพม่าในตอนนั้น ไม่มีเงินมากพอที่จะหาวัสดุมาสร้างพระราชวังได้ จึงต้องรื้อพระราชวังอมรปุระและนำชิ้นส่วนของพระราชวังมาสร้างใหม่ เอะแล้วทำไมรื้อแล้วนำมาสร้างใหม่ได้ละ ก็เพราะว่าสมัยก่อนนั้นสถาปัตยกรรมของพม่าส่วนมากไม่ค่อยได้ใช้ตะปู แต่ใช้สลักแทน ซึ่งสลักนั้นสามารถถอดออกเป็นชิ้นๆ นำมาประกอบใหม่ได้อย่างง่ายดาย ทำให้ต้นทุนและวัสดุในการสร้างพระราชวังนี้ลดลงไปนั่นเอง
ภาพจำลองพระราชวังอมรปุระ ปัจจุบันเหลือแต่ซากปรักหักพัง
         พระเจ้ามินดงได้สร้างพระราชวังนี้ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์  โดยสมมติให้เขาพระสุเมรเป็นศูนย์กลางของโลก แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ทิศ แต่ละทิศมีประตูทางเข้า 3 ประตู รวมทั้งสิ้น 12 ประตู ที่ประตูทำสัญลักษณ์จักรราศีประดับเอาไว้ ใจกลางพระราชวังเป็นพระที่นั่งมยีนันพระราชวังที่เป็นที่ตั้งของสีหาสน์บัลลังก์เพื่อใช้ในการออกขุนนางในพระราชพิธีสำคัญทั้งหลายนอจากนี้ด้านนอกยังเป็นกำแพงวังยาวเกือบ 2 กิโลเมตร มีคูน้ำที่ลึกประมาณ 4 เมตร กำแพงแต่ละด้านมีประตูด้านละสามประตู แต่ว่าใช้เข้าออกจริงได้ด้านละประตูเดียวที่อยู่ตรงกลาง เพราะมีสะพานข้ามคูน้ำ ประตูด้านอื่่นไม่มีสะพาน ยกเว้นด้านทิศตะวันตก มีประตูที่ใช้ขนคนตายออกจากพระราชวัง เรียกว่า "ประตูผี" อีกหนึ่งประตูและอีกหนึ่งสะพานล้อมรอบ ส่วนกำแพงของพระราชวังนี้แตกต่างกับที่อื่น เพราะไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นปราการป้องกันข้าศึกอย่างของจีนและยุโรปสมัยกลาง แต่สร้างไว้เพื่อแสดงว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของพระราชวังนี้มากกว่า ส่วนตัวอาคารที่อยู่ในพระราชวังแห่งนี้ส่วนมากจะใช้ไม้สักในการสร้างเพราะพม่ามีแหล่งไม้สักเยอะ

พระที่นั่งมยีนันที่ตั้งของสีหาสน์บัลลังก์
   พระเจ้ามินดงสวรรคตที่พระตำหนักชเวนันดอ ในพระราชวัง ปี1878 พระเจ้าธีบอขึ้นเป็นกษัตริย์คนต่อไป จาการนำทางของพระนางอเลนันดอ และให้พระนางศุภยาลัตพระราชธิดาของพระองค์แต่งงานกับพระเจ้าธีบอ ซึ่งหลังจากการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าธีบอมีการสังหารพระราชวงศ์ในพม่าไปหลายรายและหลายวันด้วยกัน ซึ่งการสังหารนั้นเพื่อไม่ให้พวกชาวเมืองรู้ พระนางศุภยาลัต จึงทรงให้จัดงานเลี้ยงตลอดหลายวัน ให้ชาวเมืองเที่ยวงานให้สนุก อีกทั้งพระเจ้าธีบอก็จัดให้ดื่มน้ำจัณฑ์จนเมามายเพื่อไม่ให้สนใจการสังหารครั้งนั้น เมื่อสังหารแล้วก็จับโยนใส่หลุมใหญ่ข้างวังรวมกัน แล้วเอาดินกลบ แต่พอพ้นสามวัน ศพเหล่านั้นเริ่มขึ้นอืดจนเนินหลุมที่ฝังพูนขึ้น ก็เอาช้างหลวงมาเหยียบย่ำให้ดินที่นูนขึ้นมานั้นแบนราบลง แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถปิดบังหลุมใหญ่นั้นได้ เพราะจำนวนศพมีมากจนดันเนินดินให้นูนขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และกลิ่นของศพนั้นก็ส่งกลิ่นเหม็นเน่าไปทั่วเมือง สุดท้ายก็ต้องให้ขุดศพใส่เกวียนไปฝังบ้าง ทิ้งน้ำบ้าง จนเป็นเรื่องที่มีการเล่าขานมากที่สุดคือการสำเร็จโทษเหล่าพระบรมวงศ์สานุวงศ์น้อยใหญ่ เป็นเวลา 3 คืน เล่ากันว่าคืนนั้นสุนัขเห่าหอนทั้งคืน จนชาวเมืองผวาไม่เป็นอันหลับอันนอน พระนางจัดให้เอาวงดนตรีปี่พาทย์ การแสดงต่าง ๆ มาบรรเลงในวังตลอดเวลาที่ทำการสำเร็จโทษพวกเจ้านาย เพื่อให้เสียงดนตรีปี่กลองกลบเสียงกรีดร้องขอชีวิต ซึ่งการกระทำนั่นเองทำให้อังกฤษใช้เป็นเหตุผลในการบุกพม่าในสงครามอังกฤษ-พม่าครังที่ 3

พระตำหนักชเวนันดอ ที่สวรรคตของพระเจ้ามอนดง
ประทับนั่งจากซ้าย  พระนางศุภยาคยี  พระนางศุภยาลัต
และพระเจ้าธีบอ
          หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้สงคราม อังกฤษได้ปล้นเอาของมีค่าส่วนมากไปจากพระราชวัง และจับกุมตัวพระเจ้าธีบอและพระบรมวงศานุวงศ์ออกจากประเทศพม่า หลังจากนั้นอังกฤษได้กระทำการที่เหมือนกับย่ำยีเกียรติของพม่าเพราะ ไม่ใช่แค่เอาทรัพย์สมบัติ สิ่งของมีค่าออกจากพม่าเท่านั้น แต่ยังนำตัวกษัตริย์และพระบรมวงศ์สานุวงศ์ ออกทางประตูวังทิศตะวันตกหรือที่เรียกกันว่า "ประตูผี" ซึ่งเป็นประตูที่นำคนตายออกจากวัง ซึ่งเหมือนกับอังกฤษได้จงใจแสดงว่าพระเจ้าแผ่นดินพม่าได้สิ้นไปจากพม่าแล้ว ไม่มีวันกลับมาอีก แม้กระทั่งปัจจุบันรัฐบาลพม่ายังไม่ยอมซ่อมสะพานที่ข้ามผ่านประตูผีแห่งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์อันเจ็บปวดที่ถูกอังกฤษกระทำย่ำยี ส่วนพระเจ้าธีบอและคนในราชวงศ์ก็ถูกอังกฤษบังคับให้ไปอยู่ที่รัตนคิรี ประเทศอินเดีย

ประตูผีหรือประตูทางทิศตะวันตก ประตูที่จะนำคนตายออกจากวังเท่านั้น

ภาพเหตุการ์ณขณะพระเจ้าธีบอถูกคุมตัวขึ้นเรือไปอินเดีย

            หลังจากนั้นพระราชวังแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติขึ้น ทหารอังกฤษได้นึกว่าพระราชวังแห่งนี้เป็นที่ซ่องสุมของกองทัพญี่ปุ่น เพราะในขณะนั้นพวกญี่ปุ่นก็กำลังยึดพม่าอยู่ อังกฤษจึงส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มพระราชวังแห่งนี้ ด้วยที่พระราชวังแห่งนี้เป็นพระราชวังไม้สักทำให้เพลิงจากระเบิดแผดเผาทำลายพระราชวังนี้จนเหลือแต่เถ้าฐาน 

สภาพเมืองที่โดนลูกหลง
        ถ้าคิดว่ามีเพียงเท่านี้ คุณคิดผิดนะครับ เพราะอังกฤษคงยังไม่หนัมใจยิงถล่มกำแพงพระราชวังเข้าไปอีก จนมันพังทลายลงมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีเพียงแค่บางส่วนของพระราชวังเท่านั้นที่ไม่โดนทำลายไปในการโจมตีครั้งนี้ ซึ่งก็น่าแปลกอยู่ว่าทำไมต้องทำกับโบราณสถานอย่างงั้นด้วย และญี่ปุ่นก็ไม่ได้มีขีปนาวุธ นิวเคลียหรืออะไรที่รุนแรงกว่านั้นด้วย ถึงกะต้องกระหน่ำโจมตีอย่างงั้น

ซากกำแพงพระราชวังมัณฑะเลย์
       หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงพระราชวังแ่งนี้ก็โดนทิ้งร้างอยุ่อย่างงั้น จนถึงปี 1989 ทางการพม่าจึงมีนโยบายที่จะบูรณะพระราชวังแห่งนี้ขึ้นมา แต่ว่าการบูรณะครั้งนี้ใช้พวกปูนและกระเบื้องทำให้พระราชวังแห่งนี้ไม่ค่อยสวยงามเหมือนสมัยก่อน โดยการบูรณะนั้นถือว่าเป็นการสร้างใหม่ตามแบบเดิมเพราะใช้แปลนเก่าในการสร้าง แต่ถึงพระราชวังนี้จะดูไม่งามเท่าเมื่อก่อน แต่ว่าก็ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีที่สำคัญของพม่า และเป็นสถานที่ที่คนมาเที่ยวมัณฑะเลย์ไม่ควรพลาด

ภาพกำแพงพระราชวังในปัจจุบัน

พระราชวังมัณฑะเลย์ยามสนธยา


อ้างอิง
https://th.wikipedia.org
http://oknation.nationtv.tv
https://teen.mthai.com
กระทู้ Pantip ของคุณ Navarat.C เรื่อง พม่าบูชายัญ ตอน2ของ “มาดูรูปพิธีกรรมสำเร็จโทษเจ้านายในพม่ากัน” 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น