5/5/61

การปฏิรูป 100 วัน ความพยายามของกวังซวี่ที่ลงเอยด้วยการรัฐประหาร

              จีนในสมัยของจักรพรรดิกวังซวี่ที่มีซูสีไทเฮาขึ้นว่าราชการหลังม่านนั้น ยับเยินเต็มที จากการที่จีนพ่ายแพ้สงคราม ไม่ว่าจะเป็นสงครามจีน-ญี่ปุ่น สงครามฝิ่นครั้งที่ 1 และ 2 และการแย่งชิงพื้นที่ของชาติมหาอำนาจต่างๆ ไม่ว่าเป็นญี่ปุ่น เยอรมันหรือรัสเซีย ทำให้หลังจากที่จักรพรรดิกวังซวี่มีพระราชอำนาจเต็มที่ จึงทำการปฏิรูปประเทศจีนในทุกๆด้าน ซึ่งพระองค์คิดไว้ว่าหลังการปฏิรูปนี้เสร็จ ประเทศจีนจะมีรูปแบบการปกครองแบบญี่ปุ่น จักรพรรดิจะอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และประเทศจะเจริญก้าวหน้าตามแบบชาติตะวันตก




        ต้าชิงในสมัยที่ซูสีไทเฮาปกครองประเทศหลังม่านฮ่องเต้หลายคนตั้งแต่ฮ่องเต้ถงจื้อจนถึงฮ่องเต้กวังซวี่ เปรียบเสมือนคนที่ป่วยหนักใกล้ตายแล้ว เพราะตั้งแต่ที่ต้าชิงพ่ายแพ้สงครามฝิ่นเป็นต้นมา ไม่ว่าจะทำสงครามกับชาติอื่นยังไงก็ไม่ชนะเลยสักครั้ง ไม่ว่าจะเป็นสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 สงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่ 1 และสงครามจีน-ฝรั่งเศส อาณาบริเวณของจีนลดลงไปเรื่อยๆ และยังแถมอิทธิพลต่างๆของชาติมหาอำนาจ จีนไม่สามารถแผ่แสนยานุภาพใดๆ ได้เลยในช่วงนั้น แถมยังเกิดความระส่ำระส่ายในราชสำนักชิงอีกต่างหาก

พระนางซูสีไทเฮา
            ด้วยควาามระส่ำระส่ายในราชสำนัก ทำให้ซูสีไทเฮา ปัดฝุ่นนโยบาย "สร้างตนเองให้เข้มแข็ง" ผ่อนปรนอำนาจที่มากมาย และเริ่มให้ฮ่องเต้กวังซวี่ออกว่าราชอำนาจเองในที่สุด

จักรพรรดิกวังซวี่
            เมื่องจักรพรรดิกวังซวี่ได้ออกว่าราชการเอง พระองค์มีพระราชดำริที่ปฏิรูปบ้านเมืองที่ทรุดโทรมจากภัยชาติตะวันตกและสงครามให้ดีขึ้น พระองค์จึงตั้งคณะที่ปรึกษาเพื่อเสนอแผนการที่จะปฏิรูปบ้านเมือง ซึ่งแกนนำนั้นมีทั้งหมด 6 คนหรือต่อมารู้จักกันในนาม "หกผู้กล้ายุคปฏิรูป" อันประกอบด้วย ถาน ซื่อถง ,คัง ก่วงเหริน ,หลิน ซู่ ,หยาง เซินซิ่ว,  หยาง รุ่ย, และหลิว กวงตี้ นอกจากนี้พระองค์ยังมีที่ปรึกาาองค์สนิทที่คอยรับใช้พระองค์อีก 1 คนนั่นก็คือ คัง โหยวเหว่ย นักคิด นักเขียนและนักปฏิรูปที่สำคัญของเมืองจีน โดยองค์จักรพรรดิคิดว่าถ้าเราสามารถปฏิรูปประเทศได้ ต้าชิงก็จะเหมือนญี่ปุ่นและสามารถแผ่แสนยานุภาพแบบที่เคยเป็นก่อนโดนรุกรานได้

คัง โหยวเหว่ย คนสนิทขององค์จักรพรรดิ
    การปฏิรูปเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน 1898 พระจักรพรรดิกวังซวี่ได้มีพระราชกฤษฎีกา ให้หัวหน้าแกนนำทั้งหกที่แต่งตั้งไว้ทำการปฏิรูปบ้านเมืองให้เจริญเท่ากับนานาประเทศทางตะวันตก ซึ่งผลจากการปฏิรูปที่ได้มาก็คือ
  - มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่งซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความทันสมัยมากในตอนนั้น
  - ยกเลิกการสอบขุนนางแต่ให้ใช้วิธีการแบบตะวันตกแทน
  - มีการส่งนักเรียนทุนของจีนและพระบรมวงศ์สานุวงศ์ไปเรียนต่อต่างประเทศ
  - โปรดให้มีระบบสังคมนิยมเพื่อพัฒนาเศรฐกิจ
  - เนื่องจึงมีระบบทุนนิยมแล้วอุคสาหกรรมต่างๆ จึงไปได้อย่างรวดเร็ว
  - โปรดให้พัฒนาการศึกษาจากแบบเดิมเป็นแบบที่ทันสมัยตามตะวันตก
  - จัดตั้งกองทัพเรือ
  - ฝีกสอนทหารด้วยวิธีการแบบตะวันตก
  - เปลี่ยนแปลงการปกครองให้จักรพรรดิอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
  - โปรดให้สร้างสถานีรถไฟและรถไฟไปทั่วอาณาจักร
     ในช่วงแรกการปฏิรูปเป็นไปด้วยดีเสมอมา จนกระทั่งมาถึงราวเดือนกันยายน กระแสจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมรุนแรงขึ้นมาก เพราะไม่พอใจในการปฏิรูปครั้งนี้ มีการไปฟ้ององค์ซูสีไทเฮา นางคิดว่าไม่มีเหตุการ์ณอันใดที่ทำให้จักรพรรดิหยุดการปฏิรูปได้นอกเสียจากรัฐประหาร เมื่อเห็นยังงั้นองค์จักรพรรดิจึงให้ ถาน ซื่อถง หนึ่งในแกนนำการปฏิรูปไปหาหยวน ซื่อไข่ เพื่อที่จะใช้กองทัพของเขาโค่นล้มอำนาจของซูสีไทเฮาให้จงได้ แต่ว่าเหตุการ์ณนั้นก็ต้องกลับตาลปัตร เพราะหยวน ซื่อไข่เป็นข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย  นำเรื่องที่องค์จักรพรรดิทาบทาม ไปบอกแก่ซูสีไทเฮาให้รับทราบ ซูสีไทเฮาจึงทำการรัฐประหารในช่วงเช้าของวันที่ 21 กันยายน ค.ศ.1898 โดยจับกุมตัวองค์จักรพรรดิกวังซวี่ และคณะปฏิรูปทั้งหมด โดยคัง โหยวเว่ยและเหลียง ฉี่เชาสามารถหลบหนีไปอยู่ที่ญี่ปุ่นได้อย่างเส้นยาแดงผ่าแปด ส่วนคณะปฏิรูปและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวกับการปฏิรูปทั้งหมดโดนตัดสินประหารชีวิตอย่างโจ่งแจ้ง ส่วนจักรพรรดิกวังซวี่โดนคุมตัวไปอยู่ที่ตำหนักหนานไห่หยิงไถ ตำหนักเกาะกลางทะเลสาบที่เชื่อมต่อกับพระราชวังต้องห้าม จากนั้นซูสีไทเฮาก็ประกาสพระราชโองการว่า" ขณะนี้สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่มีความประพฤติที่เสื่อมเสียไม่สมควรที่จะเป็นจักรพรรดิที่บริหารบ้านเมืองอีกต่อไป และคณะขุนนางได้ให้พระนางซูสีไทเฮาก็บริหารราชการด้วยพระองค์เองแต่จะใช้ศักราชกวังซฺวี่ต่อไปตราบจนพระจักรพรรดิสวรรคต" เป็นอันจบการปฏิรูปที่ดำเนินมาเพียงแต่ 103 วันเท่านั้น


       ความฝันในการปฏิรูปอาณาจักรให้เจริญตามตะวันตกแต่ยังคงความเป็นจีนอยู่ของฮ่องเต้กวังซวี่ต้องแหลกสลายแหลกสลายเมื่อซูสีไทเฮารัฐประหารการปฏิรูปและนำตนมาขังที่ตำหนักกลางทะเล แม้จักรพรรดิจะถูกจับอยู่ที่พระตำหนักส่วน คัง โหยวเหว่ยก็ยังเชื่อมั่นว่ายัสักวันหนึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิจะได้ทรงกลับสู่พระราชบัลลังก์อีกครั้ง และประเทศจะเจริญพ้นภัยร้ายนี้ได้

      การรัฐประหารของซูสีไทเฮาในครั้งนี้ไม่ใช่แค่ทำให้ความคิดหัวก้าวหน้าของผู้คนและองค์จักรพรรดิต้องจบลงเท่านั้น แต่ทำให้ทั้งอาณาจักรที่กำลังเจริญขึ้นต้องตกต่ำลงไปอีก จนในที่สุดราชวงศ์ชิงก็ล่มสลายหลังจากที่จักรพรรดิผู่อี๋ขึ้นครองราชยได้ไม่นาน พร้อมด้วยปัญหาจากสนธิสัญญากับค่าปฏิกรรมสงครามอีกจำนวนมากด้วย


อ้างอิง
https://th.wikipedia.org
https://amphuean.wordpress.com
http://apicha6.blogspot.com
เพจ Facebook  เข้าใจไชน่า 理解中國
เพจ Facebook  สารพันจักรวรรดิจีนโบราณ
เพจ Facebook  ประวัติศาสตร์จีน เกาหลี ญี่ปุ่น : ฉบับเล่าสู่กันฟัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น