จักรวรรดิโมกุล เป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เคยร่ำรวยและยิ่งใหญ่มากมาในสมัย ศตวรรษที่ 16-17 เป็นจักรวรรดิอิสลามที่ปกครองพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปอินเดียอันยิ่งใหญ่ แต่ทว่าเมื่อกาลเวลาล่วงเลยไปแม้จะเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ แต่ก็ต้องมีวันเสื่อม เมื่ออังกฤษเริื่มแผ่อิทธิพลขึ้นมาพร้อมกับตั้งบริษัทอีสต์ อินเดีย ทำให้จักรวรรดิโมกุลต้องทำสงครามกับฝ่ายอังกฤษ ซึ่งผลจากสงครามนั้นทำให้โมกุลต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของอีสต์ อินเดีย จนกระทั่งมาถึงสมัยของจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 ผู้เป็นจักรพรรดิคนสุดท้ายแห่งจักรวรรดิโมกุล เรื่องราวของพระองค์จะเป็นเช่นไร ติดตามอ่านต่อด้านล่างครับ
จักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 หรือชื่อเดิมว่า ซาฟาร์ เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิอัคบาร์ที่ 2 กับ ลาล ไบ ประสูติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1775 ณ กรุงเดลี ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาจักรพรรดิอัคบาร์ที่ 2 เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1837
ตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดิอัคบาร์ที่ 2 เป็นต้นมา อังกฤษได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในจักรวรรดิโมกุลในหลายๆด้าน ทำให้เกิดทั้งปัญหา สงครามและการพัฒนาในเวลาเดียวกัน ในเวลาไม่นานอังกฤษสามารถควบคุมการเมืองและการทหารของจักรวรรดิโมกุลได้ตั้งแต่ปลายสมัยจักรพรรดิอัคบาร์ที่ 2 ยาวไปถึงสมัยของจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 โดยพวกอังกฤษพยายามยกเลิกระบบวรรณะของอินเดียที่มีมาอย่างยาวนานกว่าพันปี พร้อมกับที่พยายามเผยแผ่ศาสนาคริสต์ให้เข้ามาภายในโมกุลอีกด้วย
การขึ้นครองราชย์ของพระองค์นั้นเรียกได้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญก็ว่าได้(หรือเป็นเพราะอังกฤษกันหว่า) เพราะว่าพระราชบิดาของพระองค์ได้เลือกผู้ที่จะขึ้นรับราชสมบัติสืบต่อไปจากการกดดันของพระนางมุมตัส เพคุม ที่กดดันพระองค์ให้เลือกพระราชโอรสของพระนาง เจ้าชายมิรซา ชาฮากีร์ แต่ว่าเจ้าชายพระองค์นี้กลับไปมีเรื่องกับพวกอังกฤษเข้าส่งผลทำให้เจ้าชายมิรซาถูกเนรเทศออกจากจักรวรรดิซึ่งจากการเนรเทศทำให้บาฮาดูร์ ชาร์ขึ้นมามีสิทธิ์ในการครองราชบัลลังก์อย่างชอบธรรม
หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว สถานะอันยิ่งใหญ่ของพระองค์จากที่ควรจะเป็นกลับกลายมาเป็นเหมือนกับหุ่นเชิดของอังกฤษแทนซะอย่างงั้น เพราะอำนาจทั้งหมดทั้งการเมือง ทหาร การปกครอง การค้าอังกฤษเป็นผู้ควบคุมทั้งหมด จักรพรรดิแทบจะไม่มีพระราชอำนาจใดๆ เหลืออยู่เลยแถมยังอยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษเสียอีก
ตลอดระยะเวลา 20 ปีกว่าที่พระองค์ครองราชย์มา พระองค์ทำได้แค่นั่งมอง เหล่าข้าหลวงของอังกฤษทำการพัฒนาระบบคมนาคม การปกครองและกอบโกยเอาสิ่งของมีค่าไปจากจักรวรรดิ พระองค์ทำได้เพียงแค่นั่งมองอย่างนั้นจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นในปี 1857 เมื่อเหล่าทหารซีปอยเริ่มก่อการกบฏจากการที่อังกฤษทำการปฏิรูปและยกเลิกจารีตประเพณีโบราณที่ฝังแน่นอยู่ภายในจิตใจของชาวโมกุลเช่น การยกเลิกพิธีสตี การอนุญาตให้ หญิงหม้ายแต่งงานใหม่ได้ การห้ามแต่งงานตั้งแต่เด็ก การออกกฏหมายคุ้มครองผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ และการขยายการศึกษาแบบตะวันตก
เหตุการณ์เริ่มบานปลายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกองทหารของพวกซีปอยได้สังหารชาวอังกฤษจำนวน 52 คนที่เป็นตัวประกันและหลบซ่อนอยู่ในที่ต่างๆภายในเมือง ซึ่งจากการที่เหล่ากบฏทำโดยพลการนี้ส่งผลทำให้ความสัมพันธ์ของพระองค์กับพวกอังกฤษแย่ลง นอกจากนี้ยังเกิดความวุ่นวายภายในทำให้ในที่สุดกบฎซีปอยก็ถูกปราบ พระองค์ถูกคุมตัวได้โดยพวกอังกฤษที่สุสานจักรพรรดิหุมายุนสถานที่ที่พระองค์ทำการซ่อนตัว ไม่กี่วันถัดมาหลังจากการปราบกบฎสำเร็จ พวกอังกฤษได้ทำการสังหารเหล่าพระราชวงส์ที่เป็นชายเกือบทั้งหมด พร้อมด้วยตั้งขอหากับองค์จักรพรรดิ 4 ประการด้วยกันได้แก่
1. ช่วยเหลือและสนับสนุนฝ่ายกบฎ
2. สนับสนุนให้ประชาชนต่อต้านอังกฤษ
3. พยายามเรียกร้องเอกราช
4. มีส่วนรู้เห็นกับการสังหารชาวคริสเตียน
การพิพากษาของศาลอังกฤษทำให้สถานะจักรพรรดิของจักรวรรดิโมกุลต้องจบลง จักรวรรดิโมกุลที่มีอายุมายาวนานกว่า 400 ปีต้องจบลง และกลายมาเป็นอาณานิคมที่ในภายหลังได้ชื่อว่าบริติชราช อดีตจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาร์ที่ 2 พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ที่เหลืออยู่(ซึ่งส่วนมากเป็นผู้หญิง)ถูกเนรเทศให้ไปอยู่ย่างกุ้ง ประเทศพม่าตั้งแต่ปี 1858 ทำให้จักรพรรดิเฒ่าวัย 82 ปี ต้องใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายในย่างกุ้งไปจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ถึงแม้พระองค์จะสวรรคตไปตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 1862 แล้ว แต่ว่าพระศพของพระองคืก็ไม่ได้ถูกส่งกลับไปยังอินเดีย มิหนำซ้ำพระศพของพระองค์ยังถูกซ่อนโดยพวกอังกฤษเพื่อให้ประชาชนชาวอินเดีย ลุกฮือมาต่อต้านอังกฤษ จนกระทั่งปี ค.ศ.1991จึงมีการฟื้นฟูและ จัดสร้าง อนุสรณ์สถานที่ฝัง พระศพจักรพรรดิโดยเงินสนับสนุนของรัฐบาลอินเดีย ในฐานะที่ทรงเป็น “วีรบุรุษ” ผู้ต่อสู้กับอำนาจของเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ตามแนวความคิดประวัติศาสตร์สายชาตินิยมของอินเดีย ขณะที่ชาวมุสลิมเชื้อสายอินเดียในพม่าก็นับถือกันว่า จักรพรรดิบาฮาดูร์ชาห์ที่ 2 ทรงเป็น “นักบุญ” ผู้ควรได้รับการสักการะ ตามคตินิยมของศาสนาอิสลามลัทธิซูฟี ดังจะเห็นได้จากการที่ยกย่องสถานภาพราชสุสานแห่งนี้ว่าเป็น “Dargah” ซึ่งหมายถึงสุสานศักดิ์สิทธิ์ของนักบุญนั่นเอง
อ้างอิง
Bahadur Shah Zafar(2561). จากhttps://en.wikipedia.org
ดูละคร “รากนครา” และ “เพลิงพระนาง” จะเห็นชะตากรรมที่น่าสังเวชของกษัตริย์พม่า-อินเดีย(2560). จาก http://www.siammanussati.com
จาก http://www.satit.up.ac.th
ราชสุสาน "จักรพรรดิองค์สุดท้าย" แห่งราชวงศ์โมกุล. จากhttps://board.postjung.com
กระทู้พันทิปเรื่อง ประวัติบาฮาดูร ชาห์ ที่ 2 กษัตริย์โมกุลพระองค์สุดท้าย.
จักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 หรือชื่อเดิมว่า ซาฟาร์ เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิอัคบาร์ที่ 2 กับ ลาล ไบ ประสูติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ.1775 ณ กรุงเดลี ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาจักรพรรดิอัคบาร์ที่ 2 เมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ.1837
ตั้งแต่รัชสมัยของจักรพรรดิอัคบาร์ที่ 2 เป็นต้นมา อังกฤษได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในจักรวรรดิโมกุลในหลายๆด้าน ทำให้เกิดทั้งปัญหา สงครามและการพัฒนาในเวลาเดียวกัน ในเวลาไม่นานอังกฤษสามารถควบคุมการเมืองและการทหารของจักรวรรดิโมกุลได้ตั้งแต่ปลายสมัยจักรพรรดิอัคบาร์ที่ 2 ยาวไปถึงสมัยของจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาห์ที่ 2 โดยพวกอังกฤษพยายามยกเลิกระบบวรรณะของอินเดียที่มีมาอย่างยาวนานกว่าพันปี พร้อมกับที่พยายามเผยแผ่ศาสนาคริสต์ให้เข้ามาภายในโมกุลอีกด้วย
การขึ้นครองราชย์ของพระองค์นั้นเรียกได้ว่าเป็นเรื่องบังเอิญก็ว่าได้(หรือเป็นเพราะอังกฤษกันหว่า) เพราะว่าพระราชบิดาของพระองค์ได้เลือกผู้ที่จะขึ้นรับราชสมบัติสืบต่อไปจากการกดดันของพระนางมุมตัส เพคุม ที่กดดันพระองค์ให้เลือกพระราชโอรสของพระนาง เจ้าชายมิรซา ชาฮากีร์ แต่ว่าเจ้าชายพระองค์นี้กลับไปมีเรื่องกับพวกอังกฤษเข้าส่งผลทำให้เจ้าชายมิรซาถูกเนรเทศออกจากจักรวรรดิซึ่งจากการเนรเทศทำให้บาฮาดูร์ ชาร์ขึ้นมามีสิทธิ์ในการครองราชบัลลังก์อย่างชอบธรรม
ตราสัญลักษณ์ขององค์จักรพรรดิในช่วงต้นรัชกาล |
ตลอดระยะเวลา 20 ปีกว่าที่พระองค์ครองราชย์มา พระองค์ทำได้แค่นั่งมอง เหล่าข้าหลวงของอังกฤษทำการพัฒนาระบบคมนาคม การปกครองและกอบโกยเอาสิ่งของมีค่าไปจากจักรวรรดิ พระองค์ทำได้เพียงแค่นั่งมองอย่างนั้นจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นในปี 1857 เมื่อเหล่าทหารซีปอยเริ่มก่อการกบฏจากการที่อังกฤษทำการปฏิรูปและยกเลิกจารีตประเพณีโบราณที่ฝังแน่นอยู่ภายในจิตใจของชาวโมกุลเช่น การยกเลิกพิธีสตี การอนุญาตให้ หญิงหม้ายแต่งงานใหม่ได้ การห้ามแต่งงานตั้งแต่เด็ก การออกกฏหมายคุ้มครองผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ และการขยายการศึกษาแบบตะวันตก
เหตุการณ์เริ่มบานปลายขึ้นเรื่อยๆ เมื่อกองทหารของพวกซีปอยได้สังหารชาวอังกฤษจำนวน 52 คนที่เป็นตัวประกันและหลบซ่อนอยู่ในที่ต่างๆภายในเมือง ซึ่งจากการที่เหล่ากบฏทำโดยพลการนี้ส่งผลทำให้ความสัมพันธ์ของพระองค์กับพวกอังกฤษแย่ลง นอกจากนี้ยังเกิดความวุ่นวายภายในทำให้ในที่สุดกบฎซีปอยก็ถูกปราบ พระองค์ถูกคุมตัวได้โดยพวกอังกฤษที่สุสานจักรพรรดิหุมายุนสถานที่ที่พระองค์ทำการซ่อนตัว ไม่กี่วันถัดมาหลังจากการปราบกบฎสำเร็จ พวกอังกฤษได้ทำการสังหารเหล่าพระราชวงส์ที่เป็นชายเกือบทั้งหมด พร้อมด้วยตั้งขอหากับองค์จักรพรรดิ 4 ประการด้วยกันได้แก่
1. ช่วยเหลือและสนับสนุนฝ่ายกบฎ
2. สนับสนุนให้ประชาชนต่อต้านอังกฤษ
3. พยายามเรียกร้องเอกราช
4. มีส่วนรู้เห็นกับการสังหารชาวคริสเตียน
ภาพถ่ายของลูกชายของบาฮาดูร์ ชาร์ที่ 2 ก่อนจะถูกสังหารโดยอังกฤษ |
ภาพถ่ายอดีตจักรพรรดิบาฮาดูร์ ชาร์ที่ 2 ขณะถูกอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง |
สุสานของพระองค์ที่ย่างกุ้ง ประเทศพม่า |
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0962566742 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
Bahadur Shah Zafar(2561). จากhttps://en.wikipedia.org
ดูละคร “รากนครา” และ “เพลิงพระนาง” จะเห็นชะตากรรมที่น่าสังเวชของกษัตริย์พม่า-อินเดีย(2560). จาก http://www.siammanussati.com
จาก http://www.satit.up.ac.th
ราชสุสาน "จักรพรรดิองค์สุดท้าย" แห่งราชวงศ์โมกุล. จากhttps://board.postjung.com
กระทู้พันทิปเรื่อง ประวัติบาฮาดูร ชาห์ ที่ 2 กษัตริย์โมกุลพระองค์สุดท้าย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น