ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ยุทธนาวีแม่น้ำยาลู่เป็นการต่อสู้ทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในสงคราม และจากยุทธนาวีนี้มันยังแสดงอีกว่า แม้จีนจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่าและมากกว่า แต่ว่าถ้าขาดประสิทธิภาพ แผนการและปัญหาคอรัปชั่นต่างๆ มันก็สามารถฉุดความยิ่งใหญ่ที่ทำมาไปยังความพ่ายแพ้ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ส่วนการยุทธนาวีนี้จะเป็นเช่นไร ทุกๆคนต้องติดตามอ่านได้จากเนื้อหาด้านล่างนะครับ
ก่อนที่จะเล่าถึงยุทธนาวีแม่น้ำยาลู ก็คงจะต้องเล่าถึงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 เสียก่อน ซึ่งการยุทธนาวีนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ซึ่งเหตุแห่งสงครามนั้นเริ่มมาจากที่ญี่ปุ่นรู้ว่า จีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิงนั้นอ่อนแอและไร้ศักยภาพดังที่เห็นจาก สงครามฝิ่นและสงครามจีน-ฝรั่งเศส ดังนั้นญี่ปุ่นที่พึ่งปฏิรูปประเทศมาหมาดๆ จึงมีความต้องการที่จะยึดคาบสมุทรเกาหลี จากจีนที่กำลังอ่อนแอ เพราะเหตุว่าเกาหลีเป็นชายแดนที่อยู่ใกล้ญี่ปุ่นมากที่สุด หากชาติอื่นยึดไปอาจเป็นอันตรายต่อญี่ปุ่นได้ ซึ่งแผนการยึดเกาหลีนั้น ไม่ใช่ครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ญี่ปุ่นยังเคยพยายามบุกเข้ายึดเกาหลีในสมัยของโทะโยะโทมิ ฮิเดโยชิ เมื่อ 300 ปีก่อนสงครามจีน-ญี่ปุ่นเริ่ม แต่ทว่าญี่ปุ่นก็ไม่สามารถยึดเกาหลีได้
เอาละกลับมาเข้าเรื่อง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 อุบัติขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1894 และหลังจากการประกาศสงคราม จีนก็เป็นฝ่ายเสียเปรียบและพ่ายแพ้ในยุทธการต่างๆ ไปจนถึงต้องถอนทัพและอิทธิพลของจีนทั้งหมดออกจากเกาหลีหลังจากญี่ปุ่นมีชัยเหนือการต่อสู้ที่เปียงยาง ในวันที่ 15 กันยายน 1894 และหลังจากการต่อสู้ ณ แผ่นดินเปียงยางเพียง 1 วัน การรบกันทางทะเลหรือที่เรารู้จักกันว่ายุทธนาวีแม่น้ำยาลู่ก็เกิดขึ้น
ยุทธนาวีแม่น้ำยาลู่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ.1894 เป็นการต่อสุ้ทางทะเลระหว่างกองเรือราชนาวีญี่ปุ่น และกองเรื่อเป่ยหยางกองเรื่อที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของจีน ณ ปากแม่น้ำยาลู่และทะเลเหลือง(บางครั้งก็เรียกยุทธนาวีทะเลเหลือง)โดยในตอนแรกนั้นกองเรือจีนนั้นมีจำนวนและอาวุธที่ทันสมัยกว่าญี่ปุ่นเล็กน้อย และผู้คนไม่ว่าใครก็ต่างคิดว่าจีนจะเป็นฝ่ายชนะ แต่ทว่าเมื่อยุทธนาวีเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 12.00น. กองเรือจีนภายใต่การนำของ ติง จู ฉ่างใช้รูปกระบวนเรือขนานกัน แต่ก็ต้องประสบปัญหาเมื่อเรือลาดตระเวนของญี่ปุ่นใช้ฝีจักรที่เหนือกว่าวิ่งไล่กองเรือของจีนที่อยู่ข้างหน้าใกล้เข้าไปเรื่อยๆ แล้วก็แล่นไปทางด้านกราบซ้ายของกองเรือจีน ซึ่งทำให้กองเรือขนาดเล็กของจีนคั่นอยู่ตรงกลางระหว่างกองเรือลาดตระเวนหน้าของญี่ปุ่นที่กำลังไล่มาทางด้านกราบซ้าย กับกองเรือใหญ่ของจีนที่อยู่ทางกราบขวาสุด กลายเป็นว่า เรือประจัญบานของจีนจะยิงก็ยิงไม่ได้ เพราะมีเรือพวกเดียวกันบังทางปืนอยู่ ติง จู ฉ่างจึงจัดกระบวนเรือใหม่แต่ทว่าเรือของญี่ปุ่นั้นเร็วกว่า เมื่อจัดกระบวนเรือเสร็จก็ปรากฎว่าเรือเล็กของจีนก็บังกันเองอีก
แม้ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นแต่จีนก้ไม่ได้เปลี่ยนกระบวนเรือ ยังใช้กระบวนขนานกันเหมือนเดิม แม้ว่าเหล่าที่ปรึกษาจากต่างประเทศและติง จู ฉ่าง จะแจ้งให้เรือธงติงหยวน แต่นายธงติงหยวนก็ไม่เผยแพร่คำสั่งออกไป
ในเวลาไม่นานหลังจากนั้น กองเรือจีนได้รับเปิดฉากยิงก่อน โดยยิงปืนใหญ่ในระยะ 6000 หลา แต่ทว่าเมื่อเริ่มยิงก็เกิดปัญหาเข้าทันที เพราะปืนหลักไม่สามารถยิงเป้าหมายที่อยู่ทางหัวเรือได้ การยิงเป้าหมายทางหัวเรือจะทำให้สะพานเดินเรือส่วนที่ยื่นออกมาทั้งสองข้างกราบเรือเป็นอันตรายได้ ดังนั้นการยิงจากเรือติงหยวน ชุดแรกก็ทำให้สะพานเดินเรือส่วนที่ว่าของเรือติงหยวนพังพินาศ นายพลเรือ ติงจูฉ่าง ได้รับบาดเจ็บเพราะกระสุนนัดแรกของเรือตนเอง พร้อมกับนายทหารอีกจำนวนหนึ่งที่ประจำสถานีรบอยู่ตรงนั้น นอกจากนี้ป้อมปืนบางป้อมของเรือรบยังถูกใช้เป็นที่เก็บของ เกราะของเรือถูกขโมยไปขาย นายทหารที่ควรประจำตำแหน่งกลับไม่ยอมเข้าประจำตำแหน่ง ภายในเรือสับสนวุ่นวายอลหม่านจากปัญหาการคอรัปชั่นของตนเอง เปิดทางให้ฝ่ายญี่ปุ่นกระหน่ำโจมตีใส่กองเรือจีน
กองเรือญี่ปุ่นภายใต้การนำของ อิโต ซุเกะยุกิ ทำการโจมตีใส่กองเรือญี่ปุ่นอย่างหนักหน่วง ในขณะที่กองเรือจีนแทบจะทำอะไรกองเรือญี่ปุ่นไม่ได้เลย ในที่สุดเมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา ผบ.ติง จู ฉ่าง
ได้สั่งถอยทัพ กองเรือเป่ยหยางที่ยังเหลืออยู่พยายามแล่นเรือกลับไปยังพอร์ต อาเธอร์ ทางญี่ปุ่นเองแม้จะไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่ก็กลัวเรือตอร์ปิโดของจีนบวกกับกระสุนเริ่มหมดพอดีจึงไม่ได้ทำการล่าเรือจีนต่อ จึงถอยทัพกลับ
. หลังจากจบสงครามกองเรือเป่ยหยางสูญเสียเรือรบไปกว่า 5 ลำ และเสียหายอีกกว่า 3 ลำ และเสียทหารไปอีกกว่า 850 นาย ส่วนทางญี่ปุ่นเอง มีเรือเสียหายหนัก 4 ลำ และมีทหารเสียชีวิตแค่ 90 นาย นับเป็นชัยชนะเหนือกองเรือเป่ยหยางของญี่ปุ่นในการยุทธนาวีนี้
หลังจากจบยุทธนาวีกองเรือจีนที่ไปซ่อมแซมเรือที่พอร์ต อาเธอร์ได้สักพัก ก็ได้รีบเดินทางออกจากพอร์ต อาเธอร์ไปยังเว่ยไห่เว่ย เนื่องจากกลัวการบุกโจมตีของญี่ปุ่นโดยไม่ตั้งตัว ส่วนติง จู ฉ่างผู้บัญชาการเรือรบตกเป็นแพะรับบาปที่ทำให้จีนพ่ายแพ้ โดยทางการจีนได้ทำการลดยศและเกียรติของเขาเป็นการลงโทษ
จากการรบการในครั้งนี้ทำให้รู้ว่าแม้กองเรือญี่ปุ่นจะมีจำนวนเรือและทหารน้อยกว่า แต่ก็สามารถมีชัยเหนือกองเรือเป่ยหยางกองเรือที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลกในขณะนั้นได้ โดยการวางกลยุทธ์และความสามัคคี ต่างจากกองเรือของจีนที่มีปัญหาคอรัปชั่น ทำให้ศักยภาพของกองเรือจีนที่ยิ่งใหญ่แทบจะหายไปในบัดดล ซึ่งผลของสงครามนี้ได้ทำให้เห็นถึงปัญหาคอรัปชั้นของทางการจีน และการที่ราชวงศ์ชิงไม่สามารถควบคุมประเทศให้เจริญและทันสมัยได้ ส่งผลระยะยาวทำให้ราชวงศ์ชิงล่มสลายในอีกไม่กี่ปีต่อมา
ก่อนที่จะเล่าถึงยุทธนาวีแม่น้ำยาลู ก็คงจะต้องเล่าถึงสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 เสียก่อน ซึ่งการยุทธนาวีนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ซึ่งเหตุแห่งสงครามนั้นเริ่มมาจากที่ญี่ปุ่นรู้ว่า จีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ชิงนั้นอ่อนแอและไร้ศักยภาพดังที่เห็นจาก สงครามฝิ่นและสงครามจีน-ฝรั่งเศส ดังนั้นญี่ปุ่นที่พึ่งปฏิรูปประเทศมาหมาดๆ จึงมีความต้องการที่จะยึดคาบสมุทรเกาหลี จากจีนที่กำลังอ่อนแอ เพราะเหตุว่าเกาหลีเป็นชายแดนที่อยู่ใกล้ญี่ปุ่นมากที่สุด หากชาติอื่นยึดไปอาจเป็นอันตรายต่อญี่ปุ่นได้ ซึ่งแผนการยึดเกาหลีนั้น ไม่ใช่ครั้งนี้เป็นครั้งแรก แต่ญี่ปุ่นยังเคยพยายามบุกเข้ายึดเกาหลีในสมัยของโทะโยะโทมิ ฮิเดโยชิ เมื่อ 300 ปีก่อนสงครามจีน-ญี่ปุ่นเริ่ม แต่ทว่าญี่ปุ่นก็ไม่สามารถยึดเกาหลีได้
การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่นในสมัยโทะโยะโทมิ ฮิเดโยชิ |
การต่อสู้ที่เปียงยาง ชัยชนะของฝ่ายญี่ปุ่น |
ผู้บัญชาการกองเรือเป่ยหยาง ติง จู ฉ่าง |
แม้ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นแต่จีนก้ไม่ได้เปลี่ยนกระบวนเรือ ยังใช้กระบวนขนานกันเหมือนเดิม แม้ว่าเหล่าที่ปรึกษาจากต่างประเทศและติง จู ฉ่าง จะแจ้งให้เรือธงติงหยวน แต่นายธงติงหยวนก็ไม่เผยแพร่คำสั่งออกไป
เรือติงหยวนของจีน |
ภาพวาดการรบกันในยุทธนาวีแม่น้ำยาลู่ |
ได้สั่งถอยทัพ กองเรือเป่ยหยางที่ยังเหลืออยู่พยายามแล่นเรือกลับไปยังพอร์ต อาเธอร์ ทางญี่ปุ่นเองแม้จะไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่ก็กลัวเรือตอร์ปิโดของจีนบวกกับกระสุนเริ่มหมดพอดีจึงไม่ได้ทำการล่าเรือจีนต่อ จึงถอยทัพกลับ
ภาพวาดเหตุการณ์ในยุทธนาวี |
. หลังจากจบสงครามกองเรือเป่ยหยางสูญเสียเรือรบไปกว่า 5 ลำ และเสียหายอีกกว่า 3 ลำ และเสียทหารไปอีกกว่า 850 นาย ส่วนทางญี่ปุ่นเอง มีเรือเสียหายหนัก 4 ลำ และมีทหารเสียชีวิตแค่ 90 นาย นับเป็นชัยชนะเหนือกองเรือเป่ยหยางของญี่ปุ่นในการยุทธนาวีนี้
หลังจากจบยุทธนาวีกองเรือจีนที่ไปซ่อมแซมเรือที่พอร์ต อาเธอร์ได้สักพัก ก็ได้รีบเดินทางออกจากพอร์ต อาเธอร์ไปยังเว่ยไห่เว่ย เนื่องจากกลัวการบุกโจมตีของญี่ปุ่นโดยไม่ตั้งตัว ส่วนติง จู ฉ่างผู้บัญชาการเรือรบตกเป็นแพะรับบาปที่ทำให้จีนพ่ายแพ้ โดยทางการจีนได้ทำการลดยศและเกียรติของเขาเป็นการลงโทษ
จากการรบการในครั้งนี้ทำให้รู้ว่าแม้กองเรือญี่ปุ่นจะมีจำนวนเรือและทหารน้อยกว่า แต่ก็สามารถมีชัยเหนือกองเรือเป่ยหยางกองเรือที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลกในขณะนั้นได้ โดยการวางกลยุทธ์และความสามัคคี ต่างจากกองเรือของจีนที่มีปัญหาคอรัปชั่น ทำให้ศักยภาพของกองเรือจีนที่ยิ่งใหญ่แทบจะหายไปในบัดดล ซึ่งผลของสงครามนี้ได้ทำให้เห็นถึงปัญหาคอรัปชั้นของทางการจีน และการที่ราชวงศ์ชิงไม่สามารถควบคุมประเทศให้เจริญและทันสมัยได้ ส่งผลระยะยาวทำให้ราชวงศ์ชิงล่มสลายในอีกไม่กี่ปีต่อมา
ถ้าผิดพลาดประการใด ผู้ทำก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และสามารถช่วยเสริมความถูกต้องได้ในคอมเม้นต์นะครับ
ถ้าชอบบทความของเราอย่าลืมคอมเม้น กดติตตามหรือกดแชร์บทความของเรานะครับ
สนับสนุนผู้ทำบทความได้้ที่ TrueMoney Wallet 0962566742 (ขอขอบพระคุณมากครับ)
อ้างอิง
Battle of the Yalu River (1894)(2561). จากhttps://en.wikipedia.org
Naval Battle of the Yalu River, 17 September 1894. จากhttp://www.historyofwar.org
ยุทธนาวีที่แม่น้ำยาลู(2557). จากhttps://www.bloggang.com
กระทู้ Pantip เรื่อง เล่าเรื่อง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรก 1894-95{แตกประเด็นจาก K5427995} ของ hummel
สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง(2561). จาก https://th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น