พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นพระราชโอรสองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาอ่วม
ซึ่งเจ้าจอมมารดาอ่วมนั้นเป็นลูกของเจ้าสัวยิ้ม พิศลยบุตรหรือ พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ซึ่งเป็นชาวจีน ทำให้ตัวพระองค์บางครั้งก็ถูกล้อว่า "วันจันทร์ ปีจอ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก" ซึ่งมาจาก พระองค์ประสูติในปีจอ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ลูกพระจุล หลานพระจอม ตัวเป็นเจ้า ตาเป็นเจ๊ก นั่นเอง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 12 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาอ่วม ประสูติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 ซึ่งเป็นปีจอ และพระองค์ก็มีเชื้อสายจีนสืบมาจากเจ้าจอมมารดาอ่สม ทำให้บางครั้งพระองค์ก็ถูกล้อว่า วันจันทร์ ปีจอ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก
ในช่วงต้นพระชนม์ชีพพระองค์ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจาก พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ก่อนจะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะจัดพระราชพิธีโสกันต์ให้กับพระองค์ในปี พ.ศ.2428 หลังจากทำพิธีโสกันต์เสร็จ ก็ได้ผนวชเป็นสามเณรประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์ราชวรมหาวิหาร เป็นระยะเวลา 15 วันก็ลาสิกขาบทออกมาเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตามที่พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งมา โดยเป็นพระเจ้าลูกยาเธอรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
พระเจ้าลูกยาเธอรุ่นแรกที่รัชกาลที่ 5 ท่านส่งไปเรียนยังเมืองนอกนั้นมีด้วยกัน 4 คน ได้แก่
*พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
ซึ่งเจ้าจอมมารดาอ่วมนั้นเป็นลูกของเจ้าสัวยิ้ม พิศลยบุตรหรือ พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ซึ่งเป็นชาวจีน ทำให้ตัวพระองค์บางครั้งก็ถูกล้อว่า "วันจันทร์ ปีจอ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก" ซึ่งมาจาก พระองค์ประสูติในปีจอ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ลูกพระจุล หลานพระจอม ตัวเป็นเจ้า ตาเป็นเจ๊ก นั่นเอง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 12 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาอ่วม ประสูติเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 ซึ่งเป็นปีจอ และพระองค์ก็มีเชื้อสายจีนสืบมาจากเจ้าจอมมารดาอ่สม ทำให้บางครั้งพระองค์ก็ถูกล้อว่า วันจันทร์ ปีจอ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก
ในช่วงต้นพระชนม์ชีพพระองค์ได้รับการศึกษาเบื้องต้นจาก พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ก่อนจะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะจัดพระราชพิธีโสกันต์ให้กับพระองค์ในปี พ.ศ.2428 หลังจากทำพิธีโสกันต์เสร็จ ก็ได้ผนวชเป็นสามเณรประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์ราชวรมหาวิหาร เป็นระยะเวลา 15 วันก็ลาสิกขาบทออกมาเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตามที่พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งมา โดยเป็นพระเจ้าลูกยาเธอรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ
พระเจ้าลูกยาเธอรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ |
*พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์
*พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์
*พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม
*พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช
โดยพระองค์ได้ไปศึกษาในระดับมัธยมที่ Rockvill School หลังจากศึกษาระดับมัธยมจบ พระองค์ก็ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดสาขาบูรพคดีศึกษา สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อ พ.ศ. 2437 และกลับยังสยามในปีเดียวกัน โดยหลังจากที่พระองค์กลับมายังสยาม ก็ช่วยพระราชบิดาของพระองค์หลายอย่าง เริ่มรับราชการและดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แถมยังเป็นองคมนตรีด้วย นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระตุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็โปรดเกล้าฯ ทรงพระนามกรม ขึ้นเป็น กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ และยังสร้างวังพระราชทานใหกับพระองค์ วังนี้จึงเป็นสิทธิ์ขาดของพระองค์และราชสกุลกิติยากร ซึ่งโดยทั่วไปขนานนามว่า วังปากคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งการพระราชทานที่ดินและพระตำหนักริมน้ำนี้ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของพระองค์ เพราะวังแห่งนี้เป็นวังที่ตั้งอยู่ติดริมน้ำเจ้าพระยา เช่นเดียวกับวังที่พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี หนึ่งในพระมเหสีของพระจุลจอมเกล้าอีกด้วย
พระตำหนักใหญ่ในวังคลองผดุงกรุงเกษมหรือวังเทเวศน์ในปัจจุบัน |
ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เลื่อนยศของพระองค์จาก กรมหมื่นจันทบุรีนฤนาถ ขึ้นเป็นกรมหลวงและกรมพระ ตามลำดับ ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า พระเจ้าพี่ยาเธอฯทรงรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติด้วยพระปรีชาสามารถ ได้ทรงจัดราชการในกระทรวงพระคลังให้เจริญมาโดยลำดับ เมื่อได้รับพระบรมราโชบายไปประการใดก็ทรงราชการนั้นๆให้สำเร็จไปด้วยพระราชประสงค์
ต่อมาในสมัยของรัชกาลที่ 7 ก็ทรงตั้งเป็นอภิรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังทรงเป็นนายกกรรมการพิจารณาวางระเบียบข้าราชการพลเรือน และนายกกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ก.ร.พ.) ด้วย ซึ่งในส่วนของคณะรัฐมนตรี ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งขึ้นนั้น พระองค์ทรงคัดเลือกจากพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในราชการสำคัญๆมาแล้วทั้งสิ้น โดยสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจ และการคลัง และทรงเป็นเอกอัครบัณฑิตทางด้านภาษาศาสตร์ นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ได้แปลงเรื่องจันทกุมารชาดก จาก ภาษาบาลี เป็นไทย จนทรงได้รับพระราชทานพัดเปรียญ 5 ประโยคจาก รัชกาลที่ 7 ทั้งที่ทรงเป็นฆราวาสก็ตาม ซึ่งพระองค์ได้เป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ยังทรงพระนิพนธ์ ปทานุกรม บาลี-ไทย-อังกฤษ-สันสกฤต โดยอาศัยพจนานุกรมบาลีของอาร์.ซี. ชิลเดอรส์ (R.C.Childers) ที่ สมาคมบาลีปกรณ์ดำเนินการจัดพิมพ์มาก่อนหน้านี้แล้วเป็นหลัก โดยแปลออกไป 4 ภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต แต่ต้นฉบับที่ทรงจัดทำไม่เรียบร้อยดีทุกส่วน ทำให้ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี ตรวจชำระต้นฉบับที่พระองค์ทรงร่างขึ้นแล้วโปรดให้มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ปทานุกรมดังกล่าวเพื่อเผยแผ่ นับแต่นั้น ปทานุกรมเล่มนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระองค์เป็นต้นราชสกุลกิติยากร พระองค์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร ผู้เป็นพระราชธิดาของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระโอรสและธิดารวมกับ 12 องค์ได้แก่
1. หม่อมเจ้าเกียรติกำจร กิติยากร
2. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
3. หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ( พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ )
4. หม่อมเจ้าหญิงกมลปราโมทย์ (กิติยากร) เทวกุล
5. หม่อมเจ้ามาโนทย์มานพ กิติยากร
6. หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
7. หม่อมเจ้าหญิงพิบูลย์เบญจางค์ (กิติยากร) วรวรรณ
8. หม่อมเจ้าหญิงกัลยางค์สมบัติ (กิติยากร) โสณกุล
9. หม่อมเจ้าหญิงจิตรบรรจง (กิติยากร) ลดาวัลย์
10. หม่อมเจ้าหญิงทรงอัปษร (กิติยากร) รพีพัฒน์
11. หม่อมเจ้าหญิงสรัทจันทร์ กิติยากร
12. หม่อมเจ้าพุฒ กิติยากร
นอกจากนี้ยังมีพระราชบุตรจากหม่อมคนอื่นอีก 11 องค์ ทำให้พระองค์มีพระโอรสและธิดารวมกันทั้งหมด 23 องค์
ในปีพ.ศ. 2473 พระองค์เริ่มมีอาการประชวรที่พระศอ จึงเสด้จไปประทับการรักษาที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนแรกที่ทำการรักษาพระอาการเหมือนจะดีขึ้น แต่หลังจากนั้นอาการก็ทรุดลงจนพระองค์สิ้นพระชนม์ไปในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 สิริอายุ 58 พรรษา
อ้างอิง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
รำลึกถึงพระเกียรติคุณ!! ๒๗ พฤษภาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ" เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรกของสยาม !!(2560). จากhttp://www.tnews.co.th
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. จากhttp://wiki.kpi.ac.th
พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ สิ้นพระชนม์(2556). จากhttps://guru.sanook.com
เพจ Facebook หนังสือ "๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า"
ต่อมาในสมัยของรัชกาลที่ 7 ก็ทรงตั้งเป็นอภิรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังทรงเป็นนายกกรรมการพิจารณาวางระเบียบข้าราชการพลเรือน และนายกกรรมการรักษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ก.ร.พ.) ด้วย ซึ่งในส่วนของคณะรัฐมนตรี ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งขึ้นนั้น พระองค์ทรงคัดเลือกจากพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ที่เคยปฏิบัติหน้าที่ในราชการสำคัญๆมาแล้วทั้งสิ้น โดยสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจ และการคลัง และทรงเป็นเอกอัครบัณฑิตทางด้านภาษาศาสตร์ นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ก็ได้แปลงเรื่องจันทกุมารชาดก จาก ภาษาบาลี เป็นไทย จนทรงได้รับพระราชทานพัดเปรียญ 5 ประโยคจาก รัชกาลที่ 7 ทั้งที่ทรงเป็นฆราวาสก็ตาม ซึ่งพระองค์ได้เป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ยังทรงพระนิพนธ์ ปทานุกรม บาลี-ไทย-อังกฤษ-สันสกฤต โดยอาศัยพจนานุกรมบาลีของอาร์.ซี. ชิลเดอรส์ (R.C.Childers) ที่ สมาคมบาลีปกรณ์ดำเนินการจัดพิมพ์มาก่อนหน้านี้แล้วเป็นหลัก โดยแปลออกไป 4 ภาษาได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต แต่ต้นฉบับที่ทรงจัดทำไม่เรียบร้อยดีทุกส่วน ทำให้ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ร่วมกับ ศาสตราจารย์ ม.ล.จิรายุ นพวงศ์ องคมนตรี ตรวจชำระต้นฉบับที่พระองค์ทรงร่างขึ้นแล้วโปรดให้มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย จัดพิมพ์ปทานุกรมดังกล่าวเพื่อเผยแผ่ นับแต่นั้น ปทานุกรมเล่มนี้จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระองค์เป็นต้นราชสกุลกิติยากร พระองค์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร ผู้เป็นพระราชธิดาของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระโอรสและธิดารวมกับ 12 องค์ได้แก่
1. หม่อมเจ้าเกียรติกำจร กิติยากร
2. หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร
3. หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ( พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านักขัตรมงคล กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ )
4. หม่อมเจ้าหญิงกมลปราโมทย์ (กิติยากร) เทวกุล
5. หม่อมเจ้ามาโนทย์มานพ กิติยากร
6. หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร
7. หม่อมเจ้าหญิงพิบูลย์เบญจางค์ (กิติยากร) วรวรรณ
8. หม่อมเจ้าหญิงกัลยางค์สมบัติ (กิติยากร) โสณกุล
9. หม่อมเจ้าหญิงจิตรบรรจง (กิติยากร) ลดาวัลย์
10. หม่อมเจ้าหญิงทรงอัปษร (กิติยากร) รพีพัฒน์
11. หม่อมเจ้าหญิงสรัทจันทร์ กิติยากร
12. หม่อมเจ้าพุฒ กิติยากร
นอกจากนี้ยังมีพระราชบุตรจากหม่อมคนอื่นอีก 11 องค์ ทำให้พระองค์มีพระโอรสและธิดารวมกันทั้งหมด 23 องค์
ตราประจำราชสกุลกิติยากร |
ภาพหมู่ของราชสกุลกิติยากร |
อ้างอิง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
รำลึกถึงพระเกียรติคุณ!! ๒๗ พฤษภาคม วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ" เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์พระองค์แรกของสยาม !!(2560). จากhttp://www.tnews.co.th
สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. จากhttp://wiki.kpi.ac.th
พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ สิ้นพระชนม์(2556). จากhttps://guru.sanook.com
เพจ Facebook หนังสือ "๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น