ค้นหาบล็อกนี้

24/5/61

เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารองค์แรกแห่งอาณาจักรสยาม

          สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้วยการที่เป็นเจ้าฟ้าที่เป็นผู้ชายพระองค์แรกทำให้หลังจากที่สยามเริ่มปฏิรูปประเทศ ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ก็ได้แต่งตั้งพระองค์ให้เป็นมกุฏราชกุมารแห่งอาณาจักรสยาม แทนการขึ้นเป้นวังหน้าที่เห็นว่าเป็นรูปแบบการปกครองแบบเก่า โดยพระองค์ดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารตราบจนสวรรคตอย่างกระทันหันเสียก่อนที่จะสามารถขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.๒๔๓๘



           สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 21 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ประสูติแด่ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โดยประสูตเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2421 โดยเมื่อแรกเริ่มนั้นชื่อของพระองค์พระราชบิดาาได้แต่งตั้งเอาไว้ว่า มหาอุณหิศ แต่ทว่าเมื่อเขียนชื่อของพระองค์เป็นภาษาอังกฤษกลับสามารถอ่านได้ว่า อุณหิศ หรือ อันหิศ ทำให้ร.5 ได้เปลี่ยนชื่อของพระองค์เสียใหม่ว่ามหาวชิรุณหิศ ตั้งแต่บัดนั้นมา (มหาวชิรุณหิศ แปลว่า มงกุฏเพชรใหญ่)


       พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ากับพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า โดยพระองค์มีพระองค์มีพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระมารดาอีก 6 พระองค์ แต่ทว่าแต่ละพระองค์กลับสวรรคตไปก่อนขณะที่มีพระชนม์มายุยังน้อยอยู่เลย แม้แต่พระองค์ก็สวรรคตอย่างกระทันหันขณะมีพระชนม์มายุประมาณ 16 พรรษา โดยในบรรดาพี่น้องของพระองค์ ที่มีพระขนม์มายุยืนยาวที่สุดก็คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทีสิ้นพระชนม์ไปในขณะมีพระชนม์มายุ 53 ปี ในปี พ.ศ. 2481 เท่านั่นเอง

จากซ้าย เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช และสมเด็จพระปิยมาวดี
      ในปี พ.ศ.2428 หลังจากที่กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ผู้ที่เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าในขณะนั้นได้ทิวงคตลง มีการจัดพระเมรุที่ท้องสนามหลวงแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าก็ไม่ได้แต่งตั้งใครไว้ให้เป็นกรมพระราชบวรสถานมงคลคนต่อไป โดยพระองค์ได้มีพระราชดำริว่า สถานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคลนั้นไม่เหมาะกับการปกครองในยุคนี้ และพระราชอิสริยยศ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช" ซึ่งเรียกว่า "สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า" ที่ได้ตั้งขึ้นไว้ตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 แห่งอยุธยา เป็นตำแหน่งที่สอดคล้องตามแบบอย่างการสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในนานาอารยประเทศในตอนนั้น ทำให้ในเวลาต่อมาไม่นานจึงมีการตั้งพระราชพิธีมหาพิไชยมงคลลงสรงสนานเฉลิมพระปรมาภิไธยสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2429 โดยปรากฏนามในจารึกสุพรรณบัฏว่า

"สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ อดิศวรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยวรางกูร บรมมกุฎนเรนทรสูริย์ขัตติยสันตติวงษ อุกฤษฐพงษวโรภโตสุชาต ธัญญลักษณวิลาศวิบุลยสวัสดิ์ ศิริวัฒนวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร"



     ซึ่งจากการแต่งตั้งพระองค์ให้เป็นสยามมกุฏราชกุมารคนแรกของอาณาจักรสยามแล้ว ยังถือเป็นการสิ้นสุดพระอิสริยยศและตำแหน่งของวังหน้า ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาให้จบลงตั้งแต่ตอนนั้น ซึ่งการสถาปนาพระองค์ให้เป็นมกุฏราชกุมารในครั้งนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักรก็ยังได้ส่งโทรเลขมาอำนวยพรสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารอีกด้วย

สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย
       หลังจากที่รัชกาลที่ 5 ได้แต่งตั้งพระองค์ให้เป็นสยามมกุฏราชกุมารแล้ว เมื่อพระองคมีพระชนม์มายุ 13 พรรษา พระราชบิดาก็โปรดให้จัดตั้งพระราชพิธีโสกันต์ขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ โดยโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นอธิบดีดำเนินการสร้างเขาไกรลาศบริเวณสนามหญ้าหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชพิธีโสกันต์จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-25 มกราคม พ.ศ. 2433 จากนั้นพระองค์ก็ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2434 โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ผนวชแล้วประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จนกระทั่งถึงวันที่ 22 มกราคม พระองค์จึงลาผนวช

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
ในพระราชพิธีโสกันต์
      นอกจากนี้ในปี พ.ศ.2434 พระองค์พร้อมด้วยพระราชบิดาก็ได้ออกรับพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย และพระองค์ก็ยังเสด็จออกรับแขกเมืองและรับฎีกาของราษฎรแทนพระองค์ รวมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จเป็นผู้แทนพระองค์ในงานต่าง ๆ อยู่เสมอ
และยังแต่งตั้งยศทางทหารให้กับพระองคืที่ยศ ผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหาร แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้มีตำแหน่งผู้ว่าการแทนผู้บังคับบัญชาการทั่วไปในกรมทหารจนกว่าพระองค์จะว่าการได้ด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งพระองค์มีพระชนมายุได้ 16 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรทหารโดยให้ดำรงพระยศที่นายร้อยโท

เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว
ออกต้อนรับพร้อมถ่ายรูปคู่กับซาร์นิโคลัสที่ 2
           เมื่อพระองค์เจริญพระชันษาขึ้นเข้าสู่วัยผหนุ่ม พระองค์มีพระมีพระโฉมงดงามเป็นสง่า และทรงด้วยพระสติปัญญารอบรู้ แต่ก็มีความผาดโผนและซุซนตามวัยของพระองค์ จนถูกชาววังไปเปรียบเปรยกับพระอนุชาต่างมารดาอย่าง เจ้าฟ้าวชิราวุธผู้วึ่งมีทีท่าและกริยาสุภาพเรียบร้อย ว่าเปรียบเสมือน พระอาทิตย์กับพระจันทร์  นอกจากนี้พระองค์ก็ได้มีความผูกพันอันลึกซึ่งกับเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี ผู้เป็นพระเชษฐภคินีต่างพระราชมารดา โดยพระองค์ได้แสดงความรู้สึกในพระทัยออกมาเป็นสักวาที่ทรงนิพนธ์ขึ้น โดยมีพระราชชนกประทับอยู่ด้วย ซึ่งเจ้านายและชาววังแอบจำต่อกันมา ความว่า
                       ได้ยลพักตร์ลักขณาสุดาพี่                จะหาไหนไม่มีเสมอสอง 
                   เสงี่ยมงามทรามสงวนนวลละออง        ไฉนน้องไร้คู่อยู่เอกา
                  ถ้าอยู่ได้ก็จะอยู่เป็นคู่ชื่น                       สำราญรื่นร่วมจิตขนิษฐา
                  จะบนบวงสรวงเทพเทวา                      ขอให้สมปรารถนาครานี้เอย

นอกจากนี้พระองค์ก็ยังทรงแต่งโคลงเอาไว้ตั้งหลายบท อาทิ โคลงว่าด้วยรักซึ่งพระองค์ทรงแต่งขึ้นเพื่อถวายพระบรมชนกนาถสำหรับลงหนังสือวชิรญาณ ตามความข้างล่างนี้

                                          รักใครจะรักแม้น    ชนกนารถ
                                     รักบอยากจะคลาด    สักน้อย
                                    รักใดจะมิอาจ            เทียมเท่า ท่านนา
                              รักยิ่งมิอาจคล้อย            นิราศแคล้วสักวันฯ

นอกจากพระองค์จะแต่งกลอนแล้วพระองค์ก็ยังจดบันทึกประจำวันด้วย โดยพระองค์เริ่มบันทึกโดยตัวพระองค์เองตอนมีพระชนม์มายุประมาณ 9-10 พรรษา แถมยังเคยแต่งนิทานเป็นภาษาอังกฤษเพื่อไปลงหนังสือ Little Folks ของประเทศสิงคโปร์และทรงได้รับรางวัลด้วยนะ 

            สมุดจดบันทึกรายวันเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ในชื่อ "จดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ" โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานเป็นที่ระลึกในงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า


      หลังจากที่สยามผ่านพ้น วิกฤตการ์ณ ร.ศ.112 พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้มีพระบรมราโชวาสสั่งสอนพระองค์ในวโรกาสที่พระองค์มีพระชนม์มายุเท่าพระองค์มนตอนที่ขึ้นครองราชย์โดยมีความว่า

“ส่วนตัวพ่อเองยังเป็นเด็กอายุเพียงเท่านี้ ไม่มีความสามารถรอบรู้ในราชการอันใดที่จะทำตามหน้าที่ แม้แต่เพียงที่ทูลกระหม่อมทรงประพฤติมาแล้วได้ ยังซ้ำเจ็บเกือบจะถึงแก่ความตาย อันไม่มีผู้ใดสักคนเดียวซึ่งเชื่อว่าจะรอด ยังซ้ำถูกอันตรายอันใหญ่คือทูลกระหม่อมเสด็จสวรรคตในเวลานั้น เปรียบเหมือนคนที่ศีรษะขาดแล้ว จับเอาแต่ร่างกายขึ้นตั้งไว้ในที่สมมติกษัตริย์ เหลือที่จะพรรณนาถึงความทุกข์อันต้องเป็นกำพร้าในอายุเพียงเท่านั้น และความหนักของมงกุฎอันเหลือที่คอจะทานไว้ได้ ทั้งมีศัตรูซึ่งมุงหมายอยู่โดยเปิดเผยรอบข้างทั้งภายในภายนอก หมายเอาทั้งในกรุงเองและต่างประเทศ ทั้งโรคภัยในกายเบียดเบียนแสนสาหัส”

          โดยพระบรมราโชวาศนี้นอกเสียจากสั่งสอนเหมือนดังเช่นบิดากับบุตรแล้ว ยังมีพระราชปารภถึงความทุกข์ยากในช่วงต้นรัชกาลของพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์อีกด้วย ทำให้เห็นถึงสภาพบ้านเมืองสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีและเล่าถึงความวุ่นวายทางการเมืองและเหตุการณ์ต่างๆในช่วงต้นของราชการให้พระองค์ฟังเป็นแนวคิดให้ปฏิบัติตามอีกด้วย

   แต่ทว่าไม่นานก่อนพระราชบิดาของพระองค์ก็กำลังที่จะยกพระราชวังวินด์เซอร์ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยต้นรัชกาลแล้วกำลังใกล้เสร็จให้กับพระองค์ แต่พระองค์กลับล้มป่วยอย่างกระทันหันด้วยโรคไข้รากสากน้อย จนทำให้พระองค์ได้เสด็จสวรรคตในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2438 ขณะมีพระชนม์มายุราว 16 พรรษา นำมาสู่ความเศร้าสลดในพระราชวัง และชาวสยามได้สูญเสียผู้ที่จะได้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งสยามคนต่อไปโดยไม่มีวันที่จะหวนกลับมา หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ประดิษฐานพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และให้ราชการไว้ทุกข์ 1 เดือน และแต่งตั้งเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเป็นมกุฏราชกุมารคนถัดไป



พระโกศบรรจุพระศพ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฏราชกุมาร
พระเมรุมณฑป ที่วัดบวรสถานสุทธาวาส สถานที่พระราชทานเพลิงพระบรมศพ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร 
อ้างอิง
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร(2561). จากhttps://th.wikipedia.org
4 ม.ค. 2437 สิ้น! "สยามมกุฎราชกุมาร" พระองค์แรกแห่งสยาม(2561). จากhttp://www.komchadluek.net
สืบสานตำนานสยาม!! ครบรอบ ๑๓๙ ปี วันคล้ายวันประสูติ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ" สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกของสยาม!!(2560). จากhttp://www.tnews.co.th
"สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร "เจ้าของวังวินด์เซอร์ที่แท้จริง!! อนุสรณ์สถานเมื่อครั้นลูกยังอยู่ มองไปไกลๆก็พอให้คลายความคิดถึง...(2560). http://www.tnews.co.th
ความทุกข์ของรัชกาลที่ ๕ เมื่อต้นรัชกาล จากhttps://www.silpa-mag.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น