พญาคำฟูคือกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งอาณาจักรล้านนา ปกครองต่อจากพระราชบิดาพญาแสนภู กาัตริย์องค์ที่ 3 ครองราชย์ในช่วง พ.ศ.1877-พ.ศ.1879 ซึ่งเป็นช่วงสมัยที่สั้นมากแต่พระองค์ก็วางรากฐานอาณาจักรล้านนาให้แข็งแกร่งสืบต่อมาตามกษัตริยแห่งล้านนาสององค์ก่อน
พญาคำฟูเป็นพระราชโอรสของพญาแสนภูกษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 3 ซึงพระองค์น่าตะประสุติราวปี พ.ศ.1832 หลังจากที่พญาแสนภูสวรรคต พระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เป็นกษัตริย์แห่งล้านนครองค์ที่ 4 นามว่าพญาคำฟู
รัชสมัย
พระราชประวัติช่วงก่อนขึ้นครองราชย์ของพระองค์แทบไม่ค่อยมีบันทึกเอาไว้เลย รู้แต่เพียงว่าพระองค์ในตอนนั้นชื่อว่าท้าวคำฟู ได้ถูกแต่งตั้งยศให้เป็นอุปราชจากพญาแสนภูผู้เป็นกษัตริย์และพระราชบิดาและสั่งให้ไปปกครองเมืองเชียงใหม่เท่านั้น
หลังจากทีพระองค์ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1877 แล้วพระองค์ก็เริ่มวางรากฐานของอาณาจักรแล้วแผ่อิทธิพลของล้านนาไปทั่วทุกสารทิศ แบบเดียวกับทีกษัตริย์องค์ก่อนๆ ได้ทำไว้แล้วนั่นเอง
พระองค์มีพระราชดำริที่จะยึดพะเยามาเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา พระญาคำฟูจึงทรงชักชวนพระญากาวแห่งเมืองน่านให้ช่วยยกทัพตีเมืองพะเยา แต่เมื่อพระญาคำฟูเข้าเมืองพะเยาและตีเมืองสำเร็จ จึงเอาทรัพย์สินในเมืองทั้งไปทั้งหมด ทำให้พระญากาวน่านที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งใดๆ เลยจึงยกทัพมาตีพระญาคำฟู พระญาคำฟูเสียทีก็เลยยกทัพกลับเชียงแสน กองทัพพระญากาวเมืองน่านติดตามไป และสามารถตีเมืองฝางได้ แต่จากนั้นไม่นานพระญาคำฟูก็ยกทัพใหญ่มา ทำให้พญากาวถอยล่นกลับเมืองน่านเป็นอันยุติสงครามครั้งนี้ ซึ่งหลังจากการที่ล้านนายึดพะเยาได้แล้วก้พยายามเข้าไปยึดต่อถึงเมืองแพร่แต่ก้ทำไม่สำเร็จ
เศรษฐีงัวหงส์และการสวรรคตของพระองค์
เศรษฐีงัวหงส์คือใครกัน เศรษฐีงัวหงส์คือเพื่อนสนิทของพญาคำฟูนั่นเอง สนิทแค่ไหนนั้นก็ถึงกับดื่มน้ำร่วมสาบานกันเลย ซึ่งคำสาบานนั้นกล่าวว่าทั้งคู่จะไม่คิดร้ายต่อกัน หากผู้ใดผู้หนึ่งคิดร้ายขอให้มีอันเป็นไปถึงชีวิต เศรษฐีงัวหงส์นั้นเป็นคนที่มีหน้าไม่ค่อยจะดี(ขี้เหล่เลยน่าจะพูดถูกกว่า) แต่น้ำใจงดงามทั้งยังมีภรรยาสาวสวยชื่อ นางเรือนแก้ว ซึ่งทุกครั้งเมื่อพระญาคำฟูเสด็จถึงบ้านเศรษฐีนางเรือนแก้วก็ต้อนรับขับสู้ด้วยความสนิทสนม เอาน้ำมาล้างพระบาทให้ ทำให้เมื่อวันเวลาผ่านมาผ่านไปจากความสนิทชิดใกล้ กับกลายเป็นความรัก เพราะนางเรือนแก้วก็เป็นคนสวยไม่ใช่น้อย ทั้งสองก็มีความพึงพอใจต่อกันทำให้ทั้งพระญาคำฟูและนางเรือนแก้วจึงลักลอบสมัครสังวาสกัน ด้วยเหตุที่พระองค์เสียสัตย์สาบานต่อมหามิตรเช้นนี้ ทำให้เกิดภัยร้ายแก่พระองค์หลายครั้งและในที่สุด พระญาคำฟูลงไปสรงน้ำดำเศียรเกล้าที่แม่น้ำคำก็มีเงือกผีพรายน้ำใหญ่ตัวหนึ่ง(จระเข้) ออกมาจากเงื้อมผาตรงเข้าขบกัดเอาร่างพระญาคำฟูหายลงไปในน้ำผ่านไปถึง 7 วันร่างนั้นจึงลอยขึ้นมา สวรรคตเมื่อพระชนม์ 47 พรรษาในปีพ.ศ.1879 หลังจากครองราชย์นานเพียงแค่ 2 ปีกว่าๆ ซึ่งเรื่องนี้มีบันทึกจากในพงศาวดารโยนก(แช่ม บุนนาค)และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่หลายๆที่ หลังจากนั้นเหล่าเสนาอำมาตย์จึงเชิญพระศพกลับเมืองเชียงแสน แล้วจึงทูลเชิญเสด็จท้าวผายูมาจัดการพระบรมศพถวายพระเพลิงพระญาคำฟู แล้วอัญเชิญพระอัฐิและพระอังคารของพระองค์บรรจุลงในผอบทองคำชั้นหนึ่ง ผอบเงินชั้นหนึ่ง ผอบทองแดงอีกชั้นหนึ่งไปยังนครเชียงใหม่ แล้วก่อพระสถูปเจดีย์องค์เล็กบรรจุไว้ ณ ริมตลาดลีเชียง แล้วโปรดให้สร้างพระวิหารขึ้นหลังหนึ่งขึ้นจากนั้นก็ตั้งชื่อว่าวัดลีเชียง(ปัจจุบันคือวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร) ต่อมาได้ขุดค้นพบ พระโกฏิที่บรรจุพระอัฐิของพระองค์เมื่อ พ.ศ.2468 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ครูบาศรีวิชัยบูรณะวัดพระสิงห์ นอกจากนี้ในตำนานที่มีการบันทึกเอาไว้ได้บอกกล่าวเอาไว้อีกว่านางเรือนแก้วมีความเสียใจมากจึงผูกคอตาย ส่วนเศรษฐีงัวหงส์ก็เสียใจต่อเหตุการณ์จึงถือศีลภาวนาตลอดชีวิต
หลังจากที่ครูบาศรีวิชัยได้นำอัฐิออกมา ท่านก็นำไปเก็บที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเก่า แต่ภายหลังโกศพระบรมอัฐิหายไปอย่างไร้ร่องรอย และไม่มีผู้ใดออกมารับผิดชอบ ตลอดจนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่เจอของอัฐิของพระองค์อีกเลย
อ้างอิง
พญาคำฟู(2561).https://th.wikipedia.org
พระญาคำฟู ยุคการวางฐานอำนาจของอาณาจักรล้านนา(2555). http://historicallanna01.blogspot.com
เพจ Facebook ราชอาณาจักรล้านนา
พญาคำฟูเป็นพระราชโอรสของพญาแสนภูกษัตริย์ล้านนาองค์ที่ 3 ซึงพระองค์น่าตะประสุติราวปี พ.ศ.1832 หลังจากที่พญาแสนภูสวรรคต พระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา เป็นกษัตริย์แห่งล้านนครองค์ที่ 4 นามว่าพญาคำฟู
รัชสมัย
พระราชประวัติช่วงก่อนขึ้นครองราชย์ของพระองค์แทบไม่ค่อยมีบันทึกเอาไว้เลย รู้แต่เพียงว่าพระองค์ในตอนนั้นชื่อว่าท้าวคำฟู ได้ถูกแต่งตั้งยศให้เป็นอุปราชจากพญาแสนภูผู้เป็นกษัตริย์และพระราชบิดาและสั่งให้ไปปกครองเมืองเชียงใหม่เท่านั้น
พระบรมราชานุสาวรีย์พญาแสนภู |
พระองค์มีพระราชดำริที่จะยึดพะเยามาเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา พระญาคำฟูจึงทรงชักชวนพระญากาวแห่งเมืองน่านให้ช่วยยกทัพตีเมืองพะเยา แต่เมื่อพระญาคำฟูเข้าเมืองพะเยาและตีเมืองสำเร็จ จึงเอาทรัพย์สินในเมืองทั้งไปทั้งหมด ทำให้พระญากาวน่านที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งใดๆ เลยจึงยกทัพมาตีพระญาคำฟู พระญาคำฟูเสียทีก็เลยยกทัพกลับเชียงแสน กองทัพพระญากาวเมืองน่านติดตามไป และสามารถตีเมืองฝางได้ แต่จากนั้นไม่นานพระญาคำฟูก็ยกทัพใหญ่มา ทำให้พญากาวถอยล่นกลับเมืองน่านเป็นอันยุติสงครามครั้งนี้ ซึ่งหลังจากการที่ล้านนายึดพะเยาได้แล้วก้พยายามเข้าไปยึดต่อถึงเมืองแพร่แต่ก้ทำไม่สำเร็จ
เศรษฐีงัวหงส์และการสวรรคตของพระองค์
เศรษฐีงัวหงส์คือใครกัน เศรษฐีงัวหงส์คือเพื่อนสนิทของพญาคำฟูนั่นเอง สนิทแค่ไหนนั้นก็ถึงกับดื่มน้ำร่วมสาบานกันเลย ซึ่งคำสาบานนั้นกล่าวว่าทั้งคู่จะไม่คิดร้ายต่อกัน หากผู้ใดผู้หนึ่งคิดร้ายขอให้มีอันเป็นไปถึงชีวิต เศรษฐีงัวหงส์นั้นเป็นคนที่มีหน้าไม่ค่อยจะดี(ขี้เหล่เลยน่าจะพูดถูกกว่า) แต่น้ำใจงดงามทั้งยังมีภรรยาสาวสวยชื่อ นางเรือนแก้ว ซึ่งทุกครั้งเมื่อพระญาคำฟูเสด็จถึงบ้านเศรษฐีนางเรือนแก้วก็ต้อนรับขับสู้ด้วยความสนิทสนม เอาน้ำมาล้างพระบาทให้ ทำให้เมื่อวันเวลาผ่านมาผ่านไปจากความสนิทชิดใกล้ กับกลายเป็นความรัก เพราะนางเรือนแก้วก็เป็นคนสวยไม่ใช่น้อย ทั้งสองก็มีความพึงพอใจต่อกันทำให้ทั้งพระญาคำฟูและนางเรือนแก้วจึงลักลอบสมัครสังวาสกัน ด้วยเหตุที่พระองค์เสียสัตย์สาบานต่อมหามิตรเช้นนี้ ทำให้เกิดภัยร้ายแก่พระองค์หลายครั้งและในที่สุด พระญาคำฟูลงไปสรงน้ำดำเศียรเกล้าที่แม่น้ำคำก็มีเงือกผีพรายน้ำใหญ่ตัวหนึ่ง(จระเข้) ออกมาจากเงื้อมผาตรงเข้าขบกัดเอาร่างพระญาคำฟูหายลงไปในน้ำผ่านไปถึง 7 วันร่างนั้นจึงลอยขึ้นมา สวรรคตเมื่อพระชนม์ 47 พรรษาในปีพ.ศ.1879 หลังจากครองราชย์นานเพียงแค่ 2 ปีกว่าๆ ซึ่งเรื่องนี้มีบันทึกจากในพงศาวดารโยนก(แช่ม บุนนาค)และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่หลายๆที่ หลังจากนั้นเหล่าเสนาอำมาตย์จึงเชิญพระศพกลับเมืองเชียงแสน แล้วจึงทูลเชิญเสด็จท้าวผายูมาจัดการพระบรมศพถวายพระเพลิงพระญาคำฟู แล้วอัญเชิญพระอัฐิและพระอังคารของพระองค์บรรจุลงในผอบทองคำชั้นหนึ่ง ผอบเงินชั้นหนึ่ง ผอบทองแดงอีกชั้นหนึ่งไปยังนครเชียงใหม่ แล้วก่อพระสถูปเจดีย์องค์เล็กบรรจุไว้ ณ ริมตลาดลีเชียง แล้วโปรดให้สร้างพระวิหารขึ้นหลังหนึ่งขึ้นจากนั้นก็ตั้งชื่อว่าวัดลีเชียง(ปัจจุบันคือวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร) ต่อมาได้ขุดค้นพบ พระโกฏิที่บรรจุพระอัฐิของพระองค์เมื่อ พ.ศ.2468 ซึ่งอยู่ในช่วงที่ครูบาศรีวิชัยบูรณะวัดพระสิงห์ นอกจากนี้ในตำนานที่มีการบันทึกเอาไว้ได้บอกกล่าวเอาไว้อีกว่านางเรือนแก้วมีความเสียใจมากจึงผูกคอตาย ส่วนเศรษฐีงัวหงส์ก็เสียใจต่อเหตุการณ์จึงถือศีลภาวนาตลอดชีวิต
กู่บรรรจุพระบรมอัฐิพญาคำฟู ที่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ |
ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่หลังเก่าที่เก็บอัฐิของพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย |
อ้างอิง
พญาคำฟู(2561).https://th.wikipedia.org
พระญาคำฟู ยุคการวางฐานอำนาจของอาณาจักรล้านนา(2555). http://historicallanna01.blogspot.com
เพจ Facebook ราชอาณาจักรล้านนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น