13/5/61

พ่อขุนมังราย ปฐมกษัตริย์และผู้สร้างอาณาจักรล้านนา

          อาณาจักรล้านนานั้นได้ถูกสถาปนาขึ้นจาก พ่อขุนมังรายผู้ที่เป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งหิรัญนครเงินยาง ได้โปรดที่จะสร้างอาณาจักรใหม่โดยรวมแว่นแคว้นต่างๆ ที่อยู่ตรงบริเวณทางเหนือของประเทศไทยในตอนนี้เข้าด้วยกัน จึงย้ายเมืองหลวงไปที่เชียงราย และทำการรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันในที่สุดก็สามารถก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมาได้ อาณาจักรนนี้มีชื่อว่าล้านนา ซึ่งพ่อขุนมังรายก็ปกครองเมืองนี้ตราบจนสวรรคต




          พ่อขุนมังรายเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าลาวเมงกับนางเทพคำขยายแห่งอาณาจักรหิรัญนครเงินยาง  ซึ่งพระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ซึ่งมันตรงกับพ.ศ.1781 ในวัยเด็กของพระองค์นั้นพระราชบิดาของพระองค์ได้ให้เจ้าชายมังราย เรียนรู้ทุกอย่างที่เห็นว่าจะทำให้เขาเป็นคนเข้มแข็งไม่ว่าจะเป็นยุทธวิธีการรบ การปกครอง การต่อสู้จากตนเอง อาจาร์ยหรือฤๅษีต่างๆ  ซึ่งที่สำนักของเทพอิสิฤาษีเจ้าชายมังรายก็ได้พบกับเจ้าชายงำเมือง(ต่อมาขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นพะเยา)และเจ้าชายราม(พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) ซึ่งเมื่อทั้งสามคนเรียนจบเห็นว่าจะต้องแยกจากกันทั้งสามจึงดื่มน้ำร่วมสาบานเป็นเพื่อนกันตลอดไป หากใครไม่ซื่อคิดคดขอให้ตายในสามวันอย่าให้ทันในสามเดือนอย่าให้เคลื่อนในสามปี เมื่อกลับมาสู่อาณาจักรของตนพระเจ้าลาวเม็งได้แต่งตั้งองค์เป็นอุปราช และขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อพระชนม์มายุ 21 พรรษาในปี พ.ศ.1802

อนุสาวรีย์สามกษัตริย์
ขึ้นครองราชย์
          พ่อขุนมังรายขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยางหลังจากพระราชบิดาสวรรคต โดยพระองค์เป็นกษัตริยืองค์ที่ 25 ของอาณาจักร หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานบรรดาเมืองเล็ก เมืองน้อยที่อยู่ทางใต้ของอาณาจักรต่างพยายามตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อหิรัญนคร พ่อขุนมังรายจึงได้เห็นโอกาศที่จะรวมแว่นแคว้นที่กระจัดกระจายไปให้รวมกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อสร้างอาณาจักรใหม่ พระองค์จึงโปรดให้แต่งพระราชสาส์นไปถึงบรรดาหัวเมืองต่างๆ ให้มาอ่อนน้อมในพระบรมโพธิสมภารของพระองค์เสียแต่โดยดี มิฉะนั้นพระองค์จะทรงยกทัพไปปราบปราม แต่ว่าผลที่ได้กลับไม่เป็นไปตามที่คาด ทุกเมืองที่ส่งราชสาสน์ไปกลับต่อต้านพระองค์ ซึ่งแน่นอนว่าลงเอยด้วยการทำสงคราม หัวเมืองฝ่ายเหนือยอมสวามิภักดิ์ต่อพ่อขุนมังรายในที่สุด จากนั้นพระองค์ก็จะแผ่อิทธิพลของพระองค์ไปยังหัวเมืองฝ่ายใต้ จึงโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นแล้วเปลี่ยนให้เชียงรายเป็นราชธานี เพื่อให้สะดวกต่อการแผ่อิทธิพล

การยึดหริภุญชัย

           หัวเมืองฝ่ายใต้ที่สำคัญและเห็นผลประโยชน์ในการยึดมาที่สุดที่พ่อขุนมังรายเห็นก็คือหริภุญชัย ซึ่งเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์แต่ปัญหาในการยึดเมืองนี้นั้นย่างมาก เพราะเมืองนี้มีทหารที่มากและมีกษัตริยืที่ปกครองอยู่เข้มแข็งยากที่จะตีเมืองให้แตก จึงออกอุบายให้ข้าราชการคนหนึ่งที่มีนามว่า อ้ายฟ้า ไปเป็นไส้ศึกของเมืองหริภุญชัยโดยทำทีเนรเทศอ้ายฟ้าออกจากเมือง อ้ายฟ้าจึงเข้ารับราชการกับนครหริภุญชัยที่มีกษัตริย์ในตอนนั้นพญาญี่บา อ้ายฟ้าได้ยุยงให้สถาบันกษัตริย์และประชาชนในนครหริภัญชัยนั้นแตกแยกกัน จนในที่สุดพ่อขุนมังรายก็ได้ยกทัพเข้ามายึดหริภุญชัยได้สำเร็จ ส่วนพญาญี่บาหนีไปได้พอมาถึงดอยกลางป่าก็เสียใจหลั่งน้ำตาร้องไห้ที่เมืองของตนโดนยึดไป สถานที่น้ำตาตกนี้จึงมีชื่อว่า “ดอยบาไห้” มาจนทุกวันนี้ ซึ่งในขณะเดียวกันพ่อขุนมังรายก็ยึดหริภุญชัยได้อย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 1824

         หลังจากที่พระองค์สามารถพิชิตเมืองหริภุญชัยได้และเตรียมที่จะสถาปนาอาณาจักรใหม่ พญาญี่บาอดีตเจ้าเมืองหริภุญชัยได้ไปขอความช่วยเหลือกับนครลำปางที่มีพญาเบิกเป็นเจ้าเมืองให้ทำสงครามกับมังราย ซึ่งทั้งสองก็เตรียมกำลังพลหมายจะยึดเมืองกันทั้งคู่ จนเวลาร่วงเลยไป 14 ปี พระญาเบิกทรงช้างชื่อ ปานแสนพล ยกทัพไปหมายจะตีเมืองลำพูน พ่อขุนมังรายจึงได้ส่ง ขุนคราม ออกไปรบโดยให้ทรงช้างชื่อแก้วไชยมงคลออกรับศึก ทั้งสองได้ทำยุทธหัตถีกัน พญาเบิกโดยหอกฟันจนบาาดเจ็บจึงพยายามถอยทัพ แต่ว่าทัพของขุนครามก็ตามไปในที่สุดทัของพญาเบิกก็พ่ายแพ้อย่างหมดสภาพ พญาเบิกถูกจับไปสำเร็จโทษ ส่วนพญาญี่บาหนีไปยังเมืองพระพิษณุโลก หลังจากจบศึกครั้งนี้พ่อขุนมังรายก็ได้เมืองลำปางมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้สถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นมาที่เมืองเชียงใหม่และสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นมาเป็นราชธานีแทนเชียงรายในปีพ.ศ. 1839
       ภายหลังสถาปนาอาณาจักรล้านนาได้แล้ว พระองค์ก็ได้สถาปนาราชวงศ์ใหม่จากราชวงศ์เดิม นั้นก็คือราชวงศ์มังรายซึ่งเป็นราชวงส์แรกแห่งอาณาจักรล้านนา และเป็นจุดสิ้นสุดของอาณาจักรหิรัญนครเงินยางด้วยเช่นกัน

การตีหงสาและพุกาม
        ก่อนที่พระองค์จะยึดเมืองลำปาง พ่อขุนมังรายได้ทำยกทัพไปตีเมืองหงสาวดี พระเจ้ากรุงหงสาวดีสุทธโสมเกรงพระบารมีจึงแต่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายขอเป็นพระราชไมตรีและยอมยกพระราชธิดาพระนางปายโคให้เป็นบาทบริจาริกาแก่พระองค์ หลังจากได้เครื่องบรรณาการจากหงสาวดีได้พระองค์ก็ทรงยกทัพบุกไปยังพุกามต่อม ซึ่งพระเจ้าอังวะทรงทราบข่าวจึงได้ให้เสนาอำมาตย์ นำเครื่องราชบรรณาการมาถวายขอเป็นพระราชไมตรี พระเจ้าอังวะได้ทรงส่งช่างต่างๆมาให้ เช่น ช่างทองคำ ช่างทองเหลือง ช่างทองแดง ช่างเหล็กและอื่นๆ พระญามังรายจึงทรงยกทัพกลับทรงโปรดให้ช่างทองไปอยู่เมืองเชียงตุง ช่างฆ้องไปอยู่ที่เมืองเชียงแสน ช่างทองเหลือง ช่างเหล็กไปอยู่ที่เมืองเวียงกุมกามซึ่งทำให้ศิลปกรรมบางส่วนของล้านนาเหมือนกับอังวะ อีกทั้งยังทรงได้บำรุงพระพุทธศาสนาโดยได้รับอิทธิพลตามแบบอย่างของอังวะ



การปกครอง
       ตลอดระยะเวลาการปกคองของพ่อขุนมังราย พระองค์จะใช้มังรายศาสตร์ปกครองอาณาจักรเรื่อยมา ซึ่งมังรายศาสตร์นั้นก็คือกฎหมายของล้านนาที่พัฒนามาจากขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนาในท้องถิ่น ซึ่่งกฎหมายมังรายศาสตร์ในสมัยของพระองค์นั้นมีเพียงไม่มากประมาณ 22 มาตราแต่หลังจากสมัยของพระองค์มาตรากฎหมายก็เพิ่มขึ้นอีก 10 เท่า ซึ่งที่ตรากฎหมายขึ้นมาเพิ่มเพื่อควบคุมประชากรที่มากขึ้นนั่นเอง มังรายศาสตร์ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดหลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงฉบับเดียว คือ ที่พบ ณ วัดเสาไห้ ซึ่งคัดลอกเอาไว้เมื่อ พ.ศ. 2342 และต่อมาราชบัณฑิตยสถานสามารถแปลเป็นภาษาปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2514


สวรรคต
           พระองค์ปกครองอาณาจักรโดยใช้มังรายศาสตร์มาตลอกระยะเวลา 15 ปี พระองค์ก็สวรรคตในปีพ.ศ.1854 ขณะพระชนม์มายุ 73 พรรษา โดยการสวรรคตของพระองค์ได้ถูกบันทึกไว้ว่า พระองค์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรตลาดเพื่อดูภูมิประเทศเพื่อขยายอาณาเขตเพิ่ม ตอนนั้นเป็นตอนกลางวันแสกๆ อากาศปอดโปร่ง แต่ว่าจู่ๆ ฝนก็ตั้งเค้าแล้วฝนก็ตกลงมาจากนั้นก็มีอสนีบาตตกลงมาใส่พ่อขุนมังรายอย่างจังพระองค์สวรรคต ณ ตลาดนั้นในทันที เจ้าขุนครามพระราชโอรสจึงได้จัดพิธีปลงพระศพแล้วสร้างสถูปบรรจุอัฐิของพระบิดาไว้ที่ตลาดกลางเมือง และปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่สถูปนั้น ทั้งยังสร้างรั้วล้อมบริเวณดังกล่าวไว้ด้วย
        ในปัจจุบันมีศาลที่คาดการ์ณว่าเป็นตำแหน่งเดียวกับที่พระองค์สวรรคต แต่ศาลแห่งนั้นกับเป็นที่ดินของเอกชน ทำให้ไม่สะดวกต่อการไปสักการะ แถมยังมีการย้ายพื้นที่ศาลไปอีกด้วย แต่ก็มีการสร้างศาลใหม่เพื่อให้ประชาชนไปศักการะแทนศาลเก่าที่ไม่สะดวกต่อการเข้าไปไหว้สักการะหรือเยี่ยมชนแทน

ศาลพ่อขุนมังรายเก่าซึ่งอยู่บนที่ดินเอกชน


ศาลพ่อขุนมังรายจำลองที่ถูกสร้างขึ้นใหม่


อ้างอิง
พญามังราย(2561). https://th.wikipedia.org
อาณาจักรล้านนา(2561). https://th.wikipedia.org
พระญามังรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา(2554) http://historicallanna01.blogspot.com
ประวัติพญามังราย/พ่อขุนเม็งรายมหาราช จาก เชียงรายโฟกัส ดอทคอม.. http://www.chiangraifocus.com




2 ความคิดเห็น:

  1. พญามังรายครับไม่ใช่พ่อขุน อย่าใช้ปนกันครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ เีด่ญวจะพยายามแก้ไขเป็นข้อมูลที่ถูกต้องครับ

      ลบ