ในช่วงเวลาของสมัยพระเจ้าราเดามาที่ 2 เป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมที่กำลังมีความรุนแรงอยู่ ซึ่งในสมัยของมารดาของพระองค์ราชินีรานาวาโลนาที่ 1 เป็นผู้ปกครอง ได้ใช้นโยบายปิดประเทศและกีดกันชาวต่างชาติ ซึ่งพระองค์เห็นว่าไม่ทำให้ชาติพัฒนาได้ เมื่อเข้าสู่สมัยของพระองค์ พระองค์จึงทำการปฏิรูปประเทศ เปิดประเทศและทำสนธิสัญญากับพวกยุโรป ซึ่งเหมือนว่าราชอาณาจักรเมรีนากำลังจะพัฒนาประเทศ แต่ทว่ามันกลับเป็นปัญหาภายในจากการที่กษัตริย์ให้สิทธิกับพวกยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศสมากเกินไป ทำให้ในช่วงท้ายของการปกครองพระองค์ จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในรัฐสภาระหว่างฝ่ายกษัตริย์กับนายกรัฐมนตรี
พระชนม์ชีพช่วงต้น
พระเจ้าราดามาที่ 2 มีชื่อเดิมว่าเจ้าชายราโกโต พระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1829 เป็นพระราชโอรสของพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 แห่งมาดากัสการ์ ส่วนพระราชบิดาถือว่าคือพระเจ้าราดามาที่ 1 ที่เป็นพระราชสวามีของพระนางรานาวาโลนาที่ 1 แต่ว่าพระองค์ประสูติหลังจากที่พระเจ้าราดามาที่ 1 สวรรคตไปแล้วกว่า 9 เดือน ซึ่งทำให้มีข้อถกเถียงกันว่าใครกันแน่คือพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งในช่วงหลังจากที่พระเจ้าราดามาที่ 1 สวรรคตไป พระนางมีชู้รักอยู่คนหนึ่งนามว่าอันเดรียนมิฮาจา ซึ่งเป็นคนสำคัญของกองทัพคนหนึ่งคือพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งก็ยังไม่สามารถทราบแน่ชัดได้เลยว่าใครกันแน่คือพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งอันเดรียนมิฮาจาก็ได้โดนประหารชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน จากการที่พวกอนุรักษ์นิยมได้กล่าวใส่ร้ายป้ายสีเกี่ยวกับให้ราชินีทราบ และราชินี้ก็ทรงหลงเชื่อจึงสั่งประหารชีวิตของอันเดรียนมิฮาจาในที่สุด
รัชสมัยของรานาวาโลนาที่ 1
ถึงแม้นโยบายตัดขาดจากโลกภายนอกและกีดกันชาวต่างชาติของรานาวาโลนาที่ 1 จะมีผลบังคับอยู่ แต่นางก็อนุญาติให้ชาวฝรั่งเศสสองคน Jean Laborde และ Joseph - Francois Lambert มาเป็นที่ปรึกษาและสอนหนังสือให้กับเจ้าชายราโกโต ทำให้บุคคลทั้งสองมีอิทธิพลต่อราชสำนักมากด้วย
ด้วยการศึกษาจาอาจารย์ที่มาจากต่างประเทศทำให้เจ้าชายราโกโตมีความคิดหัวก้าวหน้าและทันสมัยขึ้น และทั้งสองคนที่กล่าวมาก็ยังให้คำแนะนำกับพระนางรานาวาโลนาด้วย ไม่่ว่าจะเป็นทางการเมือง เศรฐกิจหรือการปกครองอีกด้วย
ซึ่งในสมัยของมารดาพระองค์นั้นพระองค์คอยช่วยเหลือและหามปรามมารดาของพระองค์ให้หยุดยังความโหดร้าย และช่วยเหลือคนที่นับถือคริสต์ให้รอดจากการประหารชีวิตของพระนางอีกด้วย
ความพยายามรัฐประหารอำนาจพระนางรานาวาโลนาที่ 1
ในสมัยของพระนางรานาวาโลนานั้นเป็นสมัยที่ สิ่งของและสัญญาต่างๆ จากพวกยุโรปถูกกีดกัน Joseph - Francois Lambert เล็งเห็นประโยชน์และสิทธิที่จะได้จากมาดากัสการ์จากเจ้าชายราโกโต จึงแอบทำสัญญากันแบบลับๆ และสนับสนุนให้พระองค์ขึ้นครองราชย์ ในปี ค.ศ.1857 มีการวางแผนที่จะล้มพระราชอำนาจของพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 ซึ่งพวกฝรั่งเศสเห็นว่าการที่พระนางยังมีอำนาจทำให้การค้าระหว่างฝรั่งเศสและมาดากัสการ์ถูกกีดกัน และเสรีภาพของพวกเขาก็น้อยลงด้วยและเพื่อการหยุดยั้งการปกครองที่โหดร้ายของเธอด้วย ซึ่งมีการวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมที่จะยึดราชบัลลังก์ของเธออย่างดิบดี ซึ่งเจ้าชายราโกโตนั้นก็เข้าร่วมกับแผนการนี้ด้วย แต่ว่าในวันที่จะลงมือนั้นเหตุการณ์ที่จะทำการรัฐประหารต้องพังพินาศเพราะราชินีรานาวาโลนาทรงรับรู้แผนการทั้งหมด และขับไล่ช่วต่างชาติทั้งหมดออกจากประเทศเป็นการถาวร ซึ่งคาดการณ์กันว่าเจ้าชายราโกโตนั่นแหละที่เป็นคนบอกให้มารดาของตนทราบทำให้การรัฐประหารในครั้งนี้ล้มเหลว เพราะหลังจากเหตุการณ์นี้เจ้าชายราโกโตที่มีส่วนร่วมกับแผนนี้ด้วยไม่ได้รับโทษอันใดเลย
เหตุการ์ณความวุ่นวายก่อนขึ้นครองราชย์
เมื่อพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 สวรรคตลง ในปี ค.ศ.1861 เกิดความขัดแย้งเรื่องผู้ที่จะขึ้นครองราชย์คนถัดไปขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ความวุ่นวายนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายนั่นคือฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายหัวก้าวหน้า ซึ่งฝ่ายอนุรักษฺนิยมได้สนับสนุนให้ Ramboasdlama ส่วนฝ่ายหัวก้าวหน้าที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ไรนิโวนินาฮิทรินิโอนี ได้ทำการสนับสนุนเจ้าชายราโกโต ซึ่งบทสรุปของความวุ่นวายในครั้งนี้ก็คือเจ้าชายราโกโตได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชมารดา ส่วน Ramboasdlama ได้ถูกเนรเทศไปอยุ่ที่เมืองชนบททางตอนเหนือของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งจากการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ทำให้อำนาจของเหล่านักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมค่อยๆน้อยลง และถูกแทนที่ด้วยฝ่ายหัวก้าวหน้าแทน
ขึ้นครองราชย์
เจ้าชายราโกโตขึ้นครองราชย์หลังจากความวุ่นวาย โดยขึ้นเป็นพระเจ้าราดามาที่ 2 ในปีค.ศ.1861 ขณะมีพระชนม์พรรษา 32 พรรษา โดยเมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วก็มีพระราชดำริที่จะเปิดประเทศอีกครั้งและปฏิรูปประเทศแห่งนี้ให้เจริญกว่าแต่ก่อน จึงมีการเปิดประเทศขึ้นทำสนธิสัญญาทางการค้ากับทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสอีกครั้ง มีการตั้งกงสุลกันที่เมืองอันตานานารีโวขึ้น และมีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์อีกครั้งแบบเดียวกับที่เคยเกอดขึ้นในสมัยของพระเจ้าราดามาที่ 1 แต่เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่ว่าในสมัยของพระเจ้าราดามาที่ 1 อิทธิพลและการค้าส่วนหลักเป็นของอังกฤษแต่ในสมัยของพระองค์อิทธิพลของฝรั่งเศสจะมีมามากกว่าอังกฤษ คงเพราะอิทธิพลของฝรั่งเศสในมาดากัสการ์นั้นเพิ่มขึ้นจากการสอนวิชาความรู้ให้กับกษัตริย์ในวัยเยาว์นั่นเอง
แต่ว่าจากการปฏิรูปประเทศที่รวดเร็วนั้นทำให้ทางฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นกังวล จากการเข้ามาอย่างมากมายของชาติตะวันตกและการแผ่อิทธิพลของพวกเขาด้วย ในขณะเดียวกันในรัฐสภาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงจากการที่พระเจ้าราดามาที่ 2 เปิดการค้าขายแบบเสรี ที่ทำให้ภาษีจากการค้าขายจากพวกยุโรปลดน้อยลงซึ่งส่งผลต่อรายได้ที่ประเทศจะมีด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาจากการครอบครองที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่พวกฝรั่งเศสพยายามครอบครองเป็นของตัวเองและกษัตริย์ไม่สามารถทำอะไรได้และยังเข้าหากับพวกฝรั่งเศสอีกทำให้เกิดความตึงเครียดกันระหว่างสองขั้วอำนาจอย่าง นายกรัฐมนตรีกับพระมหากษัตริย์
ลอบปลงพระชนม์
เกิดความตึงเครียดครั้งใหญ่ระหว่างนายกรัฐมนตรีไรนิโวนินาฮิทรินิโอนี กับพระเจ้าราดามาที่ 2 ผู้เป็นกษัตริย์ในรัฐสภาตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.1862 และแย่ลงเรื่อยมา จนกระทั่งกษัตริย์ได้ถอดสมาชิกสภาบางส่วนออกไปและแทนที่ด้วยคนจากต่างประเทศ ซึ่งชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงนี้ก็คือการไม่เข้าใจกันเกี่ยวกับนโยบายต่างทั้งด้านเศรฐกิจ การปกครอง การทูตและการค้าขายระหว่างนายกและกษัตริย์และการอยากขึ้นมามีอำนาจเต็มรูปแบบที่มีมากกว่าอำนาจของกษัตริย์ของนายกรัฐมนตรีและเหล่าสมาชิกสภาและขุนนาง และกาัตริย์ยังนิยมชมชอบและไว้วางใจกับพวกฝรั่งเศสมากจนเกินไป ซึ่งจากเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้เหตุการณ์มันบานปลายไปสู่เหตุการณ์รัฐประหารอันนองเลือดในที่สุด
ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1863 พระเจ้าราดามาที่ 2 ได้มีเจตนารมณ์ที่จะหยุดยั้งเรื่องนี้ประกาศไปยังที่สาธารณะ แต่ถูกนายกรัฐมนตรีขัดขวาง และในวันถัดมาน้องชายของไรนิโวนินาฮิทรินิโอนี ผู้เป็นหัวหน้ากองทหารสูงสุดแห่งมาดากัสการ์ไรนิไลอาริโวนี ได้นำกองทหารของตนเข้าปิดล้อมพระราชวังของพระเจ้าราดามาที่ 2 ที่กรุงอันตานานารีโว ก่อนจะบุกเข้าไปยังพระราชวังและจับกุมตัวพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหมดส่วนพระเจ้าราดามาที่ 2 ก็ถูกปลงพระชนม์โดยใช้ผ้าไหมรัดที่คอจนสวรรคต ซึ่งการสังหารด้วยวิธีนี้ทำตามความเชื่อเก่าแก่ที่ว่าถ้าเลือดของกษัตริย์ตกลงถึงพื้นจะเป็นลางไม่ดี จึงใช้วิธีสังหารที่ไม่ทำให้เลือดตกไปยังพื้น เหตุการณ์รัฐประหารในครั้งนี้จบลงในวันที่ 12 ในเดือนเดียวกัน เหล่าขุนนางได้เชิญราชินีราดาโบผุ้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าราดามาที่ 2 ขึ้นครองราชย์ต่อโดยมีเงื่อนไขที่จะต้องแต่งงานกับนายกรัฐมนตรีและกระจายอำนาจของตนมาสู่นายกรัฐมนตรีและคนอื่นๆในรัฐสภา พระราชินีตอบตกลง และขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถราซอเฮอรินาแห่งมาดากัสการ์แต่อำนาจทั้งหมดไปตกอยู่กับนายกรัฐมนตรีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พระเจ้าราดามาที่ 1 สวรรคตในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1863 หลังจากครองราชย์ได้เพียงแต่ประมาณ 2 ปี ขณะมีพระชนม์มายุประมาณ 34 พรรษา หลังจากการสวรรคตก็มีข่าวลือว่าพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่แต่อยู่ในชนบทแห่งหนึ่งห่างจากเมืองหลวงแต่ข่าวลือก็คือข่าวลือ ไม่มีหลักฐานมายืนยันว่าเป็นความเป็นจริง นอกจากนี้การสวรรคตของพระองค์ก็ทำให้เกิดความไม่เสถียรในอำนาจเพราะอำนาจทั้งหมดไปตกกับนายกรัฐมนตรีและไรนิไลอาริโวนีที่แต่งงานกับพระราชินีแห่งมาดากัสการ์ทั้ง 3 พระองคที่ครองราชย์ต่อจากพระองค์ อำนาจของสถาบันกษัตริย์ถูกริดรอนลงและปัญหาภายในอาณาจักร ก็ทำให้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มาดากัสการ์ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
Radama II(2561). จากhttps://en.wikipedia.org
พระเจ้าราดามาที่ 2 แห่งมาดากัสการ์(2559). จากhttps://th.wikipedia.org
เพจ Facebook Book Café Original
Radama II: Opening to the West(2557). จากhttps://searchinginhistory.blogspot.com
พระชนม์ชีพช่วงต้น
พระเจ้าราดามาที่ 2 มีชื่อเดิมว่าเจ้าชายราโกโต พระราชสมภพเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ.1829 เป็นพระราชโอรสของพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 แห่งมาดากัสการ์ ส่วนพระราชบิดาถือว่าคือพระเจ้าราดามาที่ 1 ที่เป็นพระราชสวามีของพระนางรานาวาโลนาที่ 1 แต่ว่าพระองค์ประสูติหลังจากที่พระเจ้าราดามาที่ 1 สวรรคตไปแล้วกว่า 9 เดือน ซึ่งทำให้มีข้อถกเถียงกันว่าใครกันแน่คือพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งในช่วงหลังจากที่พระเจ้าราดามาที่ 1 สวรรคตไป พระนางมีชู้รักอยู่คนหนึ่งนามว่าอันเดรียนมิฮาจา ซึ่งเป็นคนสำคัญของกองทัพคนหนึ่งคือพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งก็ยังไม่สามารถทราบแน่ชัดได้เลยว่าใครกันแน่คือพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งอันเดรียนมิฮาจาก็ได้โดนประหารชีวิตหลังจากนั้นไม่นาน จากการที่พวกอนุรักษ์นิยมได้กล่าวใส่ร้ายป้ายสีเกี่ยวกับให้ราชินีทราบ และราชินี้ก็ทรงหลงเชื่อจึงสั่งประหารชีวิตของอันเดรียนมิฮาจาในที่สุด
รัชสมัยของรานาวาโลนาที่ 1
ถึงแม้นโยบายตัดขาดจากโลกภายนอกและกีดกันชาวต่างชาติของรานาวาโลนาที่ 1 จะมีผลบังคับอยู่ แต่นางก็อนุญาติให้ชาวฝรั่งเศสสองคน Jean Laborde และ Joseph - Francois Lambert มาเป็นที่ปรึกษาและสอนหนังสือให้กับเจ้าชายราโกโต ทำให้บุคคลทั้งสองมีอิทธิพลต่อราชสำนักมากด้วย
Joseph - Francois Lambert ผู้ที่มีอิทธิพลมากในสมัยของพระเจ้าราดามาที่ 2 |
ซึ่งในสมัยของมารดาพระองค์นั้นพระองค์คอยช่วยเหลือและหามปรามมารดาของพระองค์ให้หยุดยังความโหดร้าย และช่วยเหลือคนที่นับถือคริสต์ให้รอดจากการประหารชีวิตของพระนางอีกด้วย
ความพยายามรัฐประหารอำนาจพระนางรานาวาโลนาที่ 1
ในสมัยของพระนางรานาวาโลนานั้นเป็นสมัยที่ สิ่งของและสัญญาต่างๆ จากพวกยุโรปถูกกีดกัน Joseph - Francois Lambert เล็งเห็นประโยชน์และสิทธิที่จะได้จากมาดากัสการ์จากเจ้าชายราโกโต จึงแอบทำสัญญากันแบบลับๆ และสนับสนุนให้พระองค์ขึ้นครองราชย์ ในปี ค.ศ.1857 มีการวางแผนที่จะล้มพระราชอำนาจของพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 ซึ่งพวกฝรั่งเศสเห็นว่าการที่พระนางยังมีอำนาจทำให้การค้าระหว่างฝรั่งเศสและมาดากัสการ์ถูกกีดกัน และเสรีภาพของพวกเขาก็น้อยลงด้วยและเพื่อการหยุดยั้งการปกครองที่โหดร้ายของเธอด้วย ซึ่งมีการวางแผนเพื่อเตรียมพร้อมที่จะยึดราชบัลลังก์ของเธออย่างดิบดี ซึ่งเจ้าชายราโกโตนั้นก็เข้าร่วมกับแผนการนี้ด้วย แต่ว่าในวันที่จะลงมือนั้นเหตุการณ์ที่จะทำการรัฐประหารต้องพังพินาศเพราะราชินีรานาวาโลนาทรงรับรู้แผนการทั้งหมด และขับไล่ช่วต่างชาติทั้งหมดออกจากประเทศเป็นการถาวร ซึ่งคาดการณ์กันว่าเจ้าชายราโกโตนั่นแหละที่เป็นคนบอกให้มารดาของตนทราบทำให้การรัฐประหารในครั้งนี้ล้มเหลว เพราะหลังจากเหตุการณ์นี้เจ้าชายราโกโตที่มีส่วนร่วมกับแผนนี้ด้วยไม่ได้รับโทษอันใดเลย
เหตุการ์ณความวุ่นวายก่อนขึ้นครองราชย์
เมื่อพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 สวรรคตลง ในปี ค.ศ.1861 เกิดความขัดแย้งเรื่องผู้ที่จะขึ้นครองราชย์คนถัดไปขึ้น ซึ่งเหตุการณ์ความวุ่นวายนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายนั่นคือฝ่ายอนุรักษ์นิยมและฝ่ายหัวก้าวหน้า ซึ่งฝ่ายอนุรักษฺนิยมได้สนับสนุนให้ Ramboasdlama ส่วนฝ่ายหัวก้าวหน้าที่นำโดยนายกรัฐมนตรี ไรนิโวนินาฮิทรินิโอนี ได้ทำการสนับสนุนเจ้าชายราโกโต ซึ่งบทสรุปของความวุ่นวายในครั้งนี้ก็คือเจ้าชายราโกโตได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชมารดา ส่วน Ramboasdlama ได้ถูกเนรเทศไปอยุ่ที่เมืองชนบททางตอนเหนือของเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งจากการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ทำให้อำนาจของเหล่านักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมค่อยๆน้อยลง และถูกแทนที่ด้วยฝ่ายหัวก้าวหน้าแทน
ขึ้นครองราชย์
พิธีราชาภิเษกของพระเจ้าราดามาที่ 2 |
แต่ว่าจากการปฏิรูปประเทศที่รวดเร็วนั้นทำให้ทางฝ่ายอนุรักษ์นิยมเป็นกังวล จากการเข้ามาอย่างมากมายของชาติตะวันตกและการแผ่อิทธิพลของพวกเขาด้วย ในขณะเดียวกันในรัฐสภาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงจากการที่พระเจ้าราดามาที่ 2 เปิดการค้าขายแบบเสรี ที่ทำให้ภาษีจากการค้าขายจากพวกยุโรปลดน้อยลงซึ่งส่งผลต่อรายได้ที่ประเทศจะมีด้วย นอกจากนี้ยังมีปัญหาจากการครอบครองที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่พวกฝรั่งเศสพยายามครอบครองเป็นของตัวเองและกษัตริย์ไม่สามารถทำอะไรได้และยังเข้าหากับพวกฝรั่งเศสอีกทำให้เกิดความตึงเครียดกันระหว่างสองขั้วอำนาจอย่าง นายกรัฐมนตรีกับพระมหากษัตริย์
ลอบปลงพระชนม์
เกิดความตึงเครียดครั้งใหญ่ระหว่างนายกรัฐมนตรีไรนิโวนินาฮิทรินิโอนี กับพระเจ้าราดามาที่ 2 ผู้เป็นกษัตริย์ในรัฐสภาตั้งแต่ปลายปี ค.ศ.1862 และแย่ลงเรื่อยมา จนกระทั่งกษัตริย์ได้ถอดสมาชิกสภาบางส่วนออกไปและแทนที่ด้วยคนจากต่างประเทศ ซึ่งชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงนี้ก็คือการไม่เข้าใจกันเกี่ยวกับนโยบายต่างทั้งด้านเศรฐกิจ การปกครอง การทูตและการค้าขายระหว่างนายกและกษัตริย์และการอยากขึ้นมามีอำนาจเต็มรูปแบบที่มีมากกว่าอำนาจของกษัตริย์ของนายกรัฐมนตรีและเหล่าสมาชิกสภาและขุนนาง และกาัตริย์ยังนิยมชมชอบและไว้วางใจกับพวกฝรั่งเศสมากจนเกินไป ซึ่งจากเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้เหตุการณ์มันบานปลายไปสู่เหตุการณ์รัฐประหารอันนองเลือดในที่สุด
ไรนิโวนินาฮิทรินิโอนี นายกรัฐมนตรีมาดากัสการ์ในขณะนั้น |
พระเจ้าราดามาที่ 1 สวรรคตในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1863 หลังจากครองราชย์ได้เพียงแต่ประมาณ 2 ปี ขณะมีพระชนม์มายุประมาณ 34 พรรษา หลังจากการสวรรคตก็มีข่าวลือว่าพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่แต่อยู่ในชนบทแห่งหนึ่งห่างจากเมืองหลวงแต่ข่าวลือก็คือข่าวลือ ไม่มีหลักฐานมายืนยันว่าเป็นความเป็นจริง นอกจากนี้การสวรรคตของพระองค์ก็ทำให้เกิดความไม่เสถียรในอำนาจเพราะอำนาจทั้งหมดไปตกกับนายกรัฐมนตรีและไรนิไลอาริโวนีที่แต่งงานกับพระราชินีแห่งมาดากัสการ์ทั้ง 3 พระองคที่ครองราชย์ต่อจากพระองค์ อำนาจของสถาบันกษัตริย์ถูกริดรอนลงและปัญหาภายในอาณาจักร ก็ทำให้เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มาดากัสการ์ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน
อ้างอิง
Radama II(2561). จากhttps://en.wikipedia.org
พระเจ้าราดามาที่ 2 แห่งมาดากัสการ์(2559). จากhttps://th.wikipedia.org
เพจ Facebook Book Café Original
Radama II: Opening to the West(2557). จากhttps://searchinginhistory.blogspot.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น