พระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 เดิมมือชื่อว่า รามาโว เป็นพระมเหสีของพระเจ้าราดามาที่ 1 แต่ว่าชีวิตคู่ของพระองค์นั่นก็ไม่ได้ราบลื่นเท่าไหร่นัก พระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ.1828 หลังเหตุการ์ณวุ่นวายหลังจากการสวรรคตของพระเจ้าราดามา พระองค์สามารถครองราชย์ได้ถึง 33 ปี แต่ว่ากลับเป็นสมัยที่โหดร้ายของชาวมาดากัสการ์
ความวุ่นวายก่อนขึ้นครองราชย์
พระเจ้าราดามาที่ 1 สวรรคตโดยไร้รัชทายาท (ถึงแม้จะใช้คำว่าไร้รัชทายาทแต่ว่าพระเจ้าราดามาที่ 1 ก็มีพระราชโอรสและธิดากับพระมเหสีรองราซาลิโม โดยพระราชโอรสเจ้าชายอิตซีมานเดรียมโบโวกา และพระราชธิดาเจ้าหญิงราเคตากา ราซานาคินิมันจากา โดนลอบปลงพระชนม์โดย สมเด็จพระพันปีหลวงรามโบลามาโซอันโดร พระอัยยิกาของพระองค์ในปี ค.ศ. 1824 เพื่อไม่ให้สายชนเผ่าซากาลาวาของทั้งสองพระองค์นั้นขึ้นครองราชบัลลังก์) ผู้ที่มีสิทธิ์ในราชบัลลังค์ ณ ตอนนั้นก็มีเจ้าชายรากาโตเบแต่ข้าราชบริพารนั้นต่างลังเลที่จะประกาศข่าวการสวรรคตของกษัตริย์เป็นเวลานานหลายวัน เนื่องจากพวกเขากลัวการตอบโต้จากศัตรูของกษัตริย์ ที่มีสิทธิสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าราดามาที่ 1 อีกเช่นกัน แต่ว่าข้าราชบริพารคนหนึ่งซึ่งเป็นนายทหารระดับสูง นามว่า อันเดรียมัมบา ได้ทราบความจริง และร่วมวางแผนกับข้าราชการที่ทรงอำนาจคนอื่นๆ ได้แก่ อันเดรียมิฮาจา, ไรนิโจฮารี และราวาโลท์ซาลามา ในการวางแผนสนับสนุนให้สมเด็จพระราชินีรามาโวขึ้นครองบัลลังก์แทนเจ้าชายรากาโตเบและพระพันปีหลวงที่กำลังมีอำนาจในราชบัลลังก์
พระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 |
ขึ้นครองราชย์
หลังจากเหตุการ์ณวุ่นวายในราชบัลลังก์ พระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 1 ก็ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขสตรีองค์แรกแห่งราชวงศ์เมรีนา พระองค์เป็นคนอนุรักษ์นิยม เหตุการ์ณต่างๆ ที่พระเจ้าราดามาปฏิรูปไปพระองค์ได้เลิกการปฏิรูปนั้นแล้วกลับไปเป็นดั่งเดิม โดยในช่วงต้นของรัชกาล พระองค์ยกเลิกสนธิสัญญาทางการค้าที่พระเจ้าราดามาที่ 1 ทำกับอังกฤษ จากนั้นทรงวางข้อจำกัดแก่การเผยแพร่ศาสนาของสมาคมมิชชันนารีลอนดอนให้มากขึ้น จนถึงการห้ามชาวมาลากาซีนับถือศาสนาคริสต์ ทำให้บรรดาชาวมิชชันนารีอังกฤษกลับไปยังแผ่นดินแม่ ทำให้ภายในเวลา 1 ปี ชาวต่างชาติที่อยู่ในมาดากัสการ์แทบไม่เหลืออยู่เลย
พระราชินีรานาวาโลนาที่ 1 กับพระราชโอรสเจ้าชายราโกโต |
ราชินีรานาวาโลนา ได้ฟื้นฟูการค้าทาสขึ้นมาอีกครั้งหลังจากยกเลิกไปในรัชกาลก่อน และฟื้นฟูปกครองแบบโบราณที่เรียกว่า ระบบฟานอมโปอานา หรือระบบแรงงานเกณฑ์นั่นเอง เป็นการบังคับใช้แรงงานเพื่อแทนการจ่ายภาษีในรูปแบบเงินหรือสินค้า ใครที่คิดหลบหนีจากการ์ณเกณฑ์และถูกจับตัวได้จะต้องถูกประหารชีวิต และเมื่อถูกนำตัวมาใช้แรงงานก่อสร้างก็จะต้องทำงานต่อไปด้วยร้องเพลงไปด้วยอย่างรื่นเริง เพื่อให้พระราชินีทรงเห็นว่ามาทำงานกันอย่างเต็มใจและยอมรับในชะตากรรมของตนอย่างยินดี นอกจากจะถูกเกณฑ์แรงงานโดยไม่จ่ายเงินเดือนแล้ว ชาวมาดากัสการ์ทุกคนก็ต้องจ่ายภาษีด้วย โดยการจ่ายภาษีนี้ จะขึ้นอยู่กับฐานะของตัวเอง ใครมีมากก็จ่ายมาก ใครมีก็จ่ายน้อย ไม่เว้นแม้กระทั่งทาสก็ต้องจ่ายภาษีเหมือนกันด้วย
พระองค์สามารถรักษาประเพณีการปกครองได้ด้วยการสนับสนุนจากเหล่าคณะที่ปรึกษาที่ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มคนชนชั้นขุนนาง เสนาบดี หรือ รัฐมนตรี ซึ่งส่วนมากนั้นเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในราชสำนักจะไม่มีขุนนางหรือรัฐมนตรีที่เป็นพวกหัวสมัยใหม่ แต่ว่าฝ่ายอนุรักษ์นิยมพยายามลดทอนอำนาจของแนวคิดหัวก้าวหน้าของเหล่าขุนนางที่นำโดย อันเดรียมิฮาจา ซึ่งมีอิทธิพลเหนือสมเด็จพระราชินีนาถ แต่แล้วในเดือนกันยายน ค.ศ. 1830 ฝ่ายอนุรักษ์นิยมพยายามโน้มน้าวจนสมเด็จพระราชินีนาถหลงเชื่อในข้อกล่าวหาต่ออันเดรียมิฮาจา พระนางลงพระปรมาภิไธยในคำสั่งประหารชีวิตอันเดรียมิฮาจาในข้อหากระทำการใช้เวทย์มนตร์คาถาและข้อหากบฏ เขาถูกจับกุมตัวที่พำนักในทันทีและถูกสังหาร และนอกจากเขาแล้วข้าราชการหัวสมัยใหม่ก็โดนประหารไปไม่น้อยเลยทีเดียว
กิตติศัพท์ความโหดร้าย
การประหารชาวคริสเตียน
ด้วยพระองค์และเหล่าข้าราชการเป็นพวกอนุรักษ์นิยม และพวกเขาห็นว่าการเข้ามาของศาสนาคริสต์ทำลายความเชื่อดั้งเดิมของชาวมาลากาซี จึงประกาศไล่มิชชันนารีอังกฤษทั้งหมดออกจากประเทศ และควบคุมการพิมพ์ไบเบิ้ลและสั่งห้ามพิมพ์ไบเบิ้ลในที่สุด และประกาศอย่างเป็นทางการว่าใครก็ตามที่นับถือศาสนาคริสต์หรือมีของต่างๆที่เกี่ยวของกับพวกคริสทั้งหมดจะต้องโดนประหาร ซึ่งในขณะนั้นชาวมาลากาซีส่วนมากเริ่มนับถือคริสต์ศาสนาแล้ว จึงทำให้เกิดจลาจลขึ้นแต่ว่าทั้งหมดนั้นก็โดนประหาร โดยเฉพาะผู้นำศาสนาพวกเขาจะถูกห้อยอยู่บนเชือกเหนือหน้าผาพระราชวังที่สูงกว่า 150 ฟุต โดยก่อนที่จะประหาร จะทรงถามว่าจะนับถือศาสนาคริสต์หรือพระเจ้าของราชินี เหล่าผู้นำตอบว่า "พระเยซู" เชือกจึงถูกตัดขาด บางคนสวดกลอนศาสนาก่อนที่ร่างจะลงไปกระแทกกับก้อนหินที่อยู่เบื้องล่าง ซึ่งการประหารชาวคริสต์นั้น จะถูจับตรึงเหมือนไก่และโยนจากยอดเนินเขาหลายๆครั้งจนกว่าจะตาย หรือไม่ก็ราดด้วยเลือดและให้ฝูงสุนัขป่ารุมกินทั้งเป็น บ้างถูกอาวุธที่เป็นโลหะแบนๆเสียบทะลุเข้าไปในกระดูกสันหลังหลายๆแผ่นจนกว่าจะตาย บางคนอาจถูกตีตายก่อนที่จะตัดหัวเสียบประจาน บางถูกจับลงเป็นในน้ำที่ต้มเดือด บางคนถูกจับนอนแล้วให้หินกลิ้งลงมาทับ แต่ว่าวิธีประหารที่พระนางรานาวาโลนาทรงโปรดปรานที่สุดคือ การให้ดื่มยาพิษ หรือไม่ก็ขายให้เป็นทาส ชาวมาลากาซีซึ่เป็นคริสต์ต่างจดจำรัชสมัยนี้และเรียกมันว่า "ny tany maizina" (ช่วงเวลาที่ดินแดนมืดมิด)
การประหารผู้ที่ทำให้พระองค์ไม่พอใจหรือเป็นภัยต่อราชบัลลังก์
การประหารชาวคริสต์ในสมัยของพระองค์ |
นอกจากพระองค์จะประหารพวกชาวคริสเตียนแล้ว พระองคืยังประหารผู้คนมากมายที่ประสงค์ร้ายและเป็นภัยต่อราชบัลลังก์ของพระองค์ด้วย เช่น ในปี 1832 มื่อพระราชินีทรงยกกองทัพไปรบกับชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะ และทรงสามารถครอบครองดินแดนเหล่านั้นได้แล้ว พระนางก็มีพระบรมราชเสาวนีย์ให้นำผู้ชายทุกคนมากักไว้ที่สถานที่แห่งหนึ่งเพื่อให้ถวายความเคารพต่อพระนาง ทหารได้นำตัวผู้ชายทั้งหมดจำนวนราว 25,000 คน มาชุมนุมเบียดเสียดกันที่ลานกว้างโดยที่ทั้งหมดต้องวางอาวุธลงและมีทหารแวดล้อมเป็นวงกลมอยู่ หลังจากที่ชายทั้งหมดคุกเข่าลงเพื่อถวายคำนับ เหล่าบรรดาทหารที่แวดล้อมอยู่ก็ใช้ปืนยิงกราดเข้าไปจนเสียชีวิตทั้งหมด ส่วนภรรยาและลูกๆ ของพวกเขาก็ถูกนำไปขายเป็นทาส 5 ปี แต่ว่าก็มีข่าวอาชญากรรมมากมายทั่วทั้งเมือง พระราชินีรานาโลนาจึงทรงให้ออกประกาศว่า พระนางจะไว้ชีวิตประชาชนทุกคนที่ยอมรับว่าได้ก่ออาชญากรรมหรือกระทำสิ่งใดที่ผิดกฎหมาย ใครที่ยังคิดจะมีชีวิตหากยังไม่เปิดเผยในความชั่วของตัวเองออก หากจับได้ภายหลังจะต้องถูกประหารชีวิตสถานเดียว หลังจากที่ทางการออกประกาศได้ไม่นาน ประชาชนราวๆ 1,500 คนก็แสดงตัวว่าเคยได้ก่อกรรมทำผิดอย่างไรบ้าง ส่วนอีก 96 คน นั้นถูกจับเนื่องจากมีผู้แจ้งเบาะแสให้กับทางการ แต่ทว่าพระราชินีไม่ได้ทรงรักษาคำพูด เนื่องจากพระนางทรงสั่งให้ประหารชีวิตทุกคนอย่างสยดสยอง บ้างก็ถูกเผาทั้งเป็น บ้างก็ถูกจับนอนให้ก้อนหินกลิ้งลงมาทับจนตาย บ้างก็ถูกจับใส่หลุมแล้วราดด้วยน้ำร้อนที่เดือดพล่านจนเต็มหลุม แต่ส่วนใหญ่แล้วจะถูกตัดหัว ให้ดื่มยาพิษ ถูกตัดแขนตัดขาทีละชิ้นจนกว่าจะตาย แต่ที่น่าสยดสยองที่สุดก็คือพวกนักโทษที่ถูกเย็บติดกับเสื่อแล้วม้วนไว้ให้เน่าตายอยู่ในนั้นทีละน้อยส่วนพวกที่มาสารภาพแล้วและกลับหลบหนีในโทษประหาร เมื่อถูกจับได้ก็จะถูกใส่ห่วงเหล็กอันหนักอึ้งไว้ที่คอและข้อมือทั้งสองข้างโดยผูกติดกันไว้เป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน เมื่อใครในกลุ่มตายไป คนที่เหลือก็จะต้องตัดหัวตัดมือคนที่ตายก่อนออกไปเพื่อมิให้ต้องลากซากศพเน่าๆ ไปไหนๆ ด้วย แต่ผลก็คือคนที่เหลือในกลุ่มก็ต้องลากห่วงเหล็กของคนที่ตาย เป็นการเพิ่มน้ำหนักมากขึ้นไปอีก ในที่สุดพวกเขาก็ต้องตายเพราะหมดแรงและขาดอาหาร
นอกจากนี้การไตร่สวนความผิดของชาวมาดากาซีในสมัยของพระองค์ ผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือผู้ที่กระทำความผิดจะต้องดื่มยาพิษ หากรอดก็จะถือว่าไม่มีความผิดและจะถูกปล่อยตัว(ใครจะรอดวะ!!) ซึ่งก็มีผู้คนไม่น้อยเลยที่ต้องเสียชีวิตไปโดยการไตร่สวนแบบนี้
ความพยายามรัฐประหาร
จากบันทึกของอีดา ไฟเฟอร์ ได้บันทึกไว้หลังจากที่พระราชินีได้ขับไล่ชาวอังกฤษและเปิดนโยบายโดเดี่ยวไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาวต่างชาติ ซึ่งหลังจากอิทธิพลของอังกฤษได้หายไป ฝรั่งเศสซึ่งตอนนั้นได้เกาะเล็ก เกาะน้อยของมาดากัสการ์ไว้ พยายามแผ่อิทธิพลมายังเกาะใหญ่ โดยฝรั่งเศสได้พยายามสนับสนุนให้เจ้าชายราโกโต ขึ้นครองราชย์ต่อ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโจเซฟ-ฟรังซัว แลมเบิร์ต ชายชาวฝรั่งเศสที่ประจำการในมาดากัสการ์ และถึงแม้แลมเบิร์ตจะเคยช่วยพระราชินีให้ซื้อพวกปืนใหญ่ ปืนคาบศิลาและพัฒนากองทัพ แต่ว่าแลมเบิร์ตสนับสนุนเจ้าชายมากกว่า และยังได้หาทางช่วยให้ชาวฝรั่งเศสในประเทศเขาได้เดินทางมาในราชสำนักของพระนางในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1857 และพวกฝรั่งเศสเหล่านั้นได้วางแผนการลับกับลาบอร์ดและผู้นำท้องถิ่นเพื่อโค่นราชบัลลังก์ของพระนางและอัญเชิญเจ้าชายราโกโตครองราชย์ต่อ ซี่งทำให้นักท่องเที่ยวรอบโลก อีดา ไฟเฟอร์ได้เข้าร่วมแผนการอย่างไม่เจตนา แต่แผนการนี้รั่วไหล เพระาเจ้าชายราโกโตทรงส่งสัญญาณเตือนพระราชมารดาถึงแผนการ และที่ต้องทรงร่วมมือด้วยก็เพราะทรงใช้อุบายซ้อนดักจับผู้สมรู้ร่วมคิดและทรยศพระราชมารดา หลังจากเหตุการณ์นั้นชาวต่างชาติหลายคนถูกขับไล่ออกจากประเทศ และบางคนต้องหลบอยู่ในเคหสถาน ส่วนชาวมาลากาซีที่ร่วมแผนการทั้งหมดต้องถูกประหารอย่างทารุณ
สวรรคต
การปกครองอันโหดร้ายของพระองค์ ตลอดระยะเวลา 33 ปี ได้สิ้นสุดลงใน วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1861 รวมพระชนม์มายุ 82 พรรษา ซึ่งหลังจากที่พระองค์สวรรคตได้มีการฟื้นฟูศาสนาคริสต์ภายในอาณาจักร ทำสนธิสัญญาทางการค้ากับชาติตะวันตก และเลิกค้าทาสอย่างสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามรัชสมัยต่อๆมา มาดากัสการ์ต้องประสบกับภัยอาณานิคมอย่างหนัก และสถาบันกษัตริย์ที่อ่อนแอลงและยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลขุนนาง พร้อมกันนั้นก็ยังอีกขาดแรงสนับสนุนจากชาติมหาอำนาจที่จะสามารถเข้ามาคานอำนาจชาติที่คุกคามประเทศได้ ทำให้การเป็นอาณานิคมของมาดากัสการ์ใกล้เข้ามาทุกทีนั่นเอง
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org
http://cerelaccarfe.blogspot.com
เพจ ประวัติศาสตร์ สถาบันกษัตริย์
นอกจากนี้การไตร่สวนความผิดของชาวมาดากาซีในสมัยของพระองค์ ผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือผู้ที่กระทำความผิดจะต้องดื่มยาพิษ หากรอดก็จะถือว่าไม่มีความผิดและจะถูกปล่อยตัว(ใครจะรอดวะ!!) ซึ่งก็มีผู้คนไม่น้อยเลยที่ต้องเสียชีวิตไปโดยการไตร่สวนแบบนี้
ความพยายามรัฐประหาร
อีดา ไฟเฟอร์ ผู้ที่บันทึกเหตุการ์ณทั้งหมด ของมาดากัสการ์ในสมัยนั้น |
จากบันทึกของอีดา ไฟเฟอร์ ได้บันทึกไว้หลังจากที่พระราชินีได้ขับไล่ชาวอังกฤษและเปิดนโยบายโดเดี่ยวไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาวต่างชาติ ซึ่งหลังจากอิทธิพลของอังกฤษได้หายไป ฝรั่งเศสซึ่งตอนนั้นได้เกาะเล็ก เกาะน้อยของมาดากัสการ์ไว้ พยายามแผ่อิทธิพลมายังเกาะใหญ่ โดยฝรั่งเศสได้พยายามสนับสนุนให้เจ้าชายราโกโต ขึ้นครองราชย์ต่อ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโจเซฟ-ฟรังซัว แลมเบิร์ต ชายชาวฝรั่งเศสที่ประจำการในมาดากัสการ์ และถึงแม้แลมเบิร์ตจะเคยช่วยพระราชินีให้ซื้อพวกปืนใหญ่ ปืนคาบศิลาและพัฒนากองทัพ แต่ว่าแลมเบิร์ตสนับสนุนเจ้าชายมากกว่า และยังได้หาทางช่วยให้ชาวฝรั่งเศสในประเทศเขาได้เดินทางมาในราชสำนักของพระนางในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1857 และพวกฝรั่งเศสเหล่านั้นได้วางแผนการลับกับลาบอร์ดและผู้นำท้องถิ่นเพื่อโค่นราชบัลลังก์ของพระนางและอัญเชิญเจ้าชายราโกโตครองราชย์ต่อ ซี่งทำให้นักท่องเที่ยวรอบโลก อีดา ไฟเฟอร์ได้เข้าร่วมแผนการอย่างไม่เจตนา แต่แผนการนี้รั่วไหล เพระาเจ้าชายราโกโตทรงส่งสัญญาณเตือนพระราชมารดาถึงแผนการ และที่ต้องทรงร่วมมือด้วยก็เพราะทรงใช้อุบายซ้อนดักจับผู้สมรู้ร่วมคิดและทรยศพระราชมารดา หลังจากเหตุการณ์นั้นชาวต่างชาติหลายคนถูกขับไล่ออกจากประเทศ และบางคนต้องหลบอยู่ในเคหสถาน ส่วนชาวมาลากาซีที่ร่วมแผนการทั้งหมดต้องถูกประหารอย่างทารุณ
สวรรคต
การปกครองอันโหดร้ายของพระองค์ ตลอดระยะเวลา 33 ปี ได้สิ้นสุดลงใน วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ.1861 รวมพระชนม์มายุ 82 พรรษา ซึ่งหลังจากที่พระองค์สวรรคตได้มีการฟื้นฟูศาสนาคริสต์ภายในอาณาจักร ทำสนธิสัญญาทางการค้ากับชาติตะวันตก และเลิกค้าทาสอย่างสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามรัชสมัยต่อๆมา มาดากัสการ์ต้องประสบกับภัยอาณานิคมอย่างหนัก และสถาบันกษัตริย์ที่อ่อนแอลงและยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลขุนนาง พร้อมกันนั้นก็ยังอีกขาดแรงสนับสนุนจากชาติมหาอำนาจที่จะสามารถเข้ามาคานอำนาจชาติที่คุกคามประเทศได้ ทำให้การเป็นอาณานิคมของมาดากัสการ์ใกล้เข้ามาทุกทีนั่นเอง
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org
http://cerelaccarfe.blogspot.com
เพจ ประวัติศาสตร์ สถาบันกษัตริย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น